นายกฯ โปรยยาหอม 'มิตซุย' ให้ลงทุนในไทย

นายกฯ หารือบริษัท Mitsui ย้ำโอกาสการลงทุนในไทย พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพร่วมกัน และการผลักดันให้ไทยเป็นฐานผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

23 พ.ค.2567 - เวลา 14.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงโตเกียว ซึ่งเร็วกว่ากรุงเทพฯ 2 ชั่วโมง) ณ ห้อง Sky Room ชั้น 24 โรงแรม The Peninsula Tokyo นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบหารือกับผู้บริหารบริษัท Mitsui & Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทการค้า การบริหารธุรกิจและการพัฒนาโครงการระดับโลก ติดอันดับ 1 ใน 5 ของญี่ปุ่น ดำเนินธุรกิจหลักในด้านพลังงาน ทรัพยากรแร่และโลหะ เหล็ก เป็นต้น มีสำนักงาน 125 แห่งใน 61 ประเทศทั่วโลก รวมถึงในไทย สิงคโปร์ (ROH) มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และเมียนมา

ในโอกาสนี้ บริษัทได้รายงานความคืบหน้าการศึกษาโอกาสการลงทุนของบริษัท ภายหลังพบนายกฯ ในงาน Roadshow to Japan เมื่อเดือนธันวาคม 2566 เกี่ยวกับความตั้งใจของบริษัทในสาขาชีวภาพและพลังงานสะอาด ตลอดจนความคืบหน้าของโครงการใหม่ที่จะทำร่วมกับบริษัทไทย รวมถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนต่อไปในอนาคต

โดยนายกฯ ย้ำว่าพลังงานสะอาดมีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน ทั้งยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาลอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำรายละเอียดปรับปรุงแผนพลังงานแห่งชาติให้สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้พลังงานของโลก อำนวยความสะดวกให้บริษัทฯ ที่สนใจลงทุนในไทย และรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมีความคืบหน้าเพิ่มเติมภายในปีนี้ โดยรัฐบาลจะเร่งทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) โดยเร็วที่สุด และสนับสนุนให้บริษัทเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ทั้งในเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์การเกษตรในการทำน้ำมันเพื่อการประกอบอาหาร และพลังงานเชื้อเพลิง

นอกเหนือจากนี้ ในการเจรจายังมีการหารือถึงความร่วมมือในด้านอื่นๆ เช่น การสำรวจและผลิตพลังงาน อุตสาหกรรมการให้บริการสาธารณสุข และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยปัจจุบันบริษัทฯ ความร่วมมือกับภาคเอกชนของไทย และร่วมดำเนินการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการใช้ประเทศไทยเป็นฐานผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ซึ่งมุ่งหวังว่าจะตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจของบริษัทฯ และส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นหนึ่งใน Soft Power หลักของประเทศไทยอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จิรายุ' ตีปี๊บนายน้อยสุดขยันประชุม ครม.วันนี้ส่วนพรุ่งนี้ลงภูเก็ตอีกแล้ว

นายกฯอิ๊งค์ลุยงานต่อ เช้านี้ประชุม ครม. ก่อนลงพื้นที่ภูเก็ตเช้าพรุ่งนี้ ติดตามนโยบายท่องเที่ยว-กระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมเดินหน้าผลักดันซอฟต์พาวเวอร์

'จุลพงษ์' เตือนสรรพากรอย่าพึ่งรีบตีความตั๋วP/Nลองย้อนดูอดีต รมช.การคลังที่ติดคุกก่อน

เตือนอธิบดีกรมสรรพากร ตีความตั๋วP/N นายกฯ เลี่ยงภาษีหรือไม่ อย่าให้ซ้ำรอยอดีต รมช.การคลัง 'เบญจา หลุยเจริญ' อดีตรองอธิบดีสรรพากรที่ต้องเข้าคุก ชี้เป้า 2 ปมผิดปกติ เป็นการฝากหุ้นเพื่อเลี่ยงภาษี

ภูมิปัญญาโบราณล้านนา อาวุธลับของ Soft Power เปรียบเทียบ เมืองเชียงใหม่ กับ เมืองเกียวโต

Soft Power หรือ “อำนาจละมุน” คือความสามารถในการดึงดูดและโน้นน้าวผู้คนโดยไม่ต้องใช้อำนาจหรือกำลังในการบังคับ แต่มีพลังเหลือล้นด้วยการใช้วัฒนธรรม ค่านิยม ซึ่งถือได้ว่า Soft Power เป็นเครื่องมือสร้างอิทธิพล ตามแนวคิด Joseph Nye นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ได้นำเสนอไว้ เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรม ค่านิยม ทำให้ภาพของ “เชียงใหม่” ปรากฏขึ้นมาในความคิด  เชียงใหม่มีวัฒนธรรมที่งดงาม มีการสืบสานประเพณีที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นอย่างมิเคยเลือนหาย วัฒนธรรมทางด้านศิลปะล้านนา ประเพณี วัดวาอาราม สถานที่ทางวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็น อำนาจละมุน ทั้งสิ้น และยังคงทรงพลังอยู่เสมอมา  เชียงใหม่จึงเป็นเมืองที่มีศักยภาพ ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธรรมชาติที่งดงาม มีวิถีชีวิตที่มีความเรียบง่ายกับความลึกซึ้งได้อย่างลงตัว

นายกฯอิ๊งค์ เสียงแข็ง! '7 งูเห่า' ไม่มีผลต่อรองเก้าอี้ คุยทักษิณแล้ว ยังไม่ปรับ ครม.

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังที่ประชุมสภามีมติไว้วางใจอย่างท่วมท้น ว่า ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจ ก็ดีใจ ตอนแรกก็ไม่แน่ใจว่าพิธีการเป็นอย่างไร เพราะเป็นครั้งแรกที่เข้าไป พอประธานสภาพูดจบเสียบบัตรปุ๊บเลขขึ้นเลย