17 ก.ย.2567 - เมื่อเวลา 11.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าในที่ประชุมครม. เห็นตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 และขออนุมัติงบประมาณรายจ่าย งบประจำปี 2567 งบกลางจำนวน 3,045 ล้านบาท โดยขอให้กระทรวงมหาดไทยช่วยเร่งรัดขั้นตอนและกระบวนการตรวจสอบให้เหมาะสมกับสถานการณ์และลดขั้นตอนเอกสารที่ต้องยื่น เพื่อให้การช่วยเหลือต่างๆเข้าถึงประชาชนโดยรวดเร็ว และในที่ประชุมตนได้สั่งการให้ทุกส่วนราชการเร่งพิจารณามาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเพิ่มเติมจากกรณีปกติที่ดำเนินการอยู่แล้ว หากมีเรื่องใดมีความจำเป็นต้องเสนอที่ประชุมครม.ก็เร่งให้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว รวมถึงระบบการแจ้งเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องของงบประมาณช่วยเหลือน้ำท่วม 3 พันล้านบาท ที่ประชุมครม.มีการอนุมัติแล้วหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า อนุมัติเรียบร้อยแล้วตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมา ซึ่งจะพยายามเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมให้ได้มากที่สุด ซึ่งในที่ประชุมครม.ก็ได้มีการกำชับ เรื่องเอกสารต่างๆที่จะทำให้เสียเวลา ก็พยายามให้หน่วยงานต่างๆร่วมมือกันให้ชาวบ้านได้รับเงินรวดเร็วขึ้น
เมื่อถามว่าขั้นตอนการเยียวยานั้นล่าช้าทำให้เงินเยียวยาไปถึงประชาชนช้า จะทำอย่างไรที่จะเร่งกรอบเวลาการสำรวจความเสียหาย ให้ไปถึงมือประชาชนโดยเร็ว นายกฯกล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมาตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม(ศปช.) และในวันที่ 18 ก.ย.จะมีการประชุมกันนัดแรก ฉะนั้นขั้นตอนต่างๆที่จำเป็นต่อประชาชนต้องมีการเร่งรัดแน่นอน ซึ่งในวันที่ 18 ก.ย.จะมีรายละเอียดออกมาจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศปช.
ถามต่อว่าจะมีการหารือกับประเทศต้นทางแม่โขงคือประเทศจีนหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศได้มีการพูดคุยแล้วกับประเทศต่างๆ เช่น เมียนมา ที่ได้หาทางออกร่วมกัน ซึ่งประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงต้องมีการพูดคุยกันและหาทางออกร่วมกัน ซึ่งเราเป็นประธานกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง ต้องมีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง เพราะเป็นปัญหาที่ประเทศเราประสบมาอย่างยาวนาน เราต้องดูกันในเชิงลึกด้วย อันนี้มีแผนในใจอยู่แล้ว ว่าอยากจะทำเรื่องนี้ให้จริงจัง เพราะเป็นความเดือดร้อนของประชาชนมายาวนาน และอีกอย่างการจัดการปัญหาของน้ำ น้ำมาหลายทิศทาง จึงต้องมีแผนภาพใหญ่ด้วย ไม่ละเลยเรื่องนี้แน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่าเราจะเริ่มคิกออฟพูดคุยเรื่องความร่วมมือกันได้เมื่อไหร่ นายกฯ กล่าวว่า เราเป็นประธานกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขงอยู่แล้ว และตามไทม์ไลน์ อยู่ในกระบวนการอยู่แล้วและสามารถพูดคุยกันเลยได้ทันที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.เอ้ ชี้เชียงรายน้ำลด ปัญหาไม่ลด วิกฤตยังคงอยู่ ชง 3 สิ่งสำคัญ ‘กู้ภัย-ฟื้นฟู’
ดร.เอ้ ชี้เชียงรายน้ำลด ปัญหาไม่ลด วิกฤตยังคงอยู่ เชื่อมั่นคนไทยต้องไม่ทิ้งกัน แต่ถ้ายังทิ้งปัญหาไว้ น่าเห็นใจชาวบ้าน
น้ำทะเลหนุน! กรมชลฯ เฝ้าระวังระดับน้ำ 7 พื้นที่เสี่ยงลุ่มเจ้าพระยา
กรมชลประทาน คาดการณ์ระดับน้ำลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง 3 วันล่วงหน้า (13-15 ต.ค. 67)
'ศปช.' เตือนภาคใต้ 9 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงสูงมาก เฝ้าระวังใกล้ชิด
ศปช.ปรับลดระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมเตือนภาคใต้ 9 จังหวัดเสี่ยงสูงเฝ้าระวังฝนตกหนักในช่วงนี้ใกล้ชิด ยันยังไม่ถอนกำลังฟื้นฟูเชียงราย
ท่วมซ้ำซาก ฝนถล่มครึ่งชม. ถนนหลวงชุมชนบางเสร่จมบาดาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเขตพื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ได้เกิดฝนฟ้าคะนองตกลงมาอย่างหนัก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชุมชนตำบลบางเสร่ หลังฝนกระหน่ำลงมาเพียง 30 นาที ส่งผลให้ช่วงบนถนนสุขุมวิท
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ! “ไชยชนก” นำคณะล่องเรือแม่น้ำน้อยช่วยเหลือชาวบ้านกลุ่มผู้เปราะบาง ให้กำลังใจ ชาวผักไห่ จ.อยุธยา
12 ตุลาคม 2567 เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค อาทิ นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภา คนที่
โฆษกรัฐบาล แจงดรามาแม่น้ำ 4 สาย ไหลลงแม่น้ำโขง
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เสี