หน่วยงานความมั่นคง ประสานชุมชน-ชาวบ้าน-โรงเรียน ช่วยดูแลระงับเหตุริมทางรถไฟสายใต้

หน่วยงานความมั่นคง ประสานความร่วมมือชุมชน-ชาวบ้าน-โรงเรียน ช่วยดูแลระงับเหตุริมทางรถไฟสายใต้ ระบุ การยกเลิกตำรวจรถไฟไม่มีนัยสำคัญต่อการก่อเหตุ เนื่องจากภารกิจเป็นคนละส่วนกัน

21 ก.ย.2567 - พล.ท.ธัชพล เปี่ยมวุฒิ ผอ.ศปป.5 กอ.รมน. พร้อมคณะนายทหาร เดินทางตรวจเยี่ยม การปฎิบัติการของร้อยอส.รถไฟ ที่สถานีรถไฟจังหวัดยะลาโดยมีนายหมวดโท ณรงค์ นุทผล ผู้บังคับกองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ได้บรรยายถึงการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยขบวนรถไฟของหน่วยต่อสื่อมวลชนว่า ปัจจุบัน กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยขบวนรถไฟจำนวน 18 ขบวนต่อวัน เป็นระยะทาง 270 กิโลเมตร ตั้งแต่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ไปจนถึงอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

โดยมีการจัดวางกำลัง แบ่งเป็น 3 หมวดในการปฏิบัติ ได้แก่ หมวดปฏิบัติการที่ 1 อยู่ที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ รับผิดชอบรถไฟ 10 ขบวนต่อวัน ทั้งเที่ยวไปและกลับ ประกอบด้วย ขบวนรถเร็วกรุงเทพฯ - สุไหงโก-ลก ขบวนรถพิเศษรับส่งสินค้า กรุงเทพฯ - สุไหงโก-ลก ขบวนรถท้องถิ่น พัทลุง - สุไหงโก-ลก ขบวนรถด่วนพิเศษกรุงเทพฯ - สุไหงโก-ลก ขบวนรถเร็ว กรุงเทพฯ - ยะลา ขณะที่ หมวดปฏิบัติการที่ 2 ยะลา ตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟยะลา รับผิดชอบ ขบวนรถไฟ 6 ขบวน ทั้งเที่ยวไปกลับ ประกอบด้วย ขบวนท้องถิ่น ยะลา - สุไหงโก-ลก ขบวนท้องถิ่น นครศรีธรรมราช-ยะลา และขบวนท้องถิ่น นครศรีธรรมราช - สุไหงโก-ลก หมวดปฏิบัติการที่ 3 สุไหงโก-ลก อยู่ที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก รับผิดชอบขบวนรถไฟ 2 ขบวนต่อวันทั้งเที่ยวไปและกลับ ได้แก่ ขบวนท้องถิ่น สุราษฎร์ธานี - สุไหงโก-ลก ซึ่งแต่ละหน่วยจะจัดกำลังขึ้นรักษาความปลอดภัยขบวนรถ ขบวนละสิบนาย ซึ่งในปัจจุบัน เส้นทางที่หน่วยดูแล มีจุดที่เกิดเหตุซ้ำซากอยู่ 20 จุด ทั้งการก่อเหตุวางระเบิด และซุ่มยิงคนขับขบวนรถไฟ ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินในการวางแนวทางป้องกันและแก้ไข

นายประชานิวัฒน์ บัวศรี หัวหน้างาน ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดชายแดนภาคใต้ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ได้มีการจัดกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ในโอกาสต่าง ๆ โดยเฉพาะตามชุมชนมัสยิด ตลอดจนโรงเรียนต่างบริเวณริมทางรถไฟ เพื่อสร้างสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ สร้างการมีส่วนร่วมให้ชุมชนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตรวจตราจุดเสี่ยงต่าง ๆ เมื่อพบพิรุธ จะได้สามารถช่วยแจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันและระงับเหตุได้ อาทิ โครงการพานักเรียนตลอดแนวทางรถไฟ ในจังหวัดต่างๆ ไปทัศนศึกษา การจัดกิจกรรมของมัสยิด หรือล่าสุดที่กำลังจะดำเนินการ ได้แต่โครงการจัดที่ 2 ข้างทางรถไฟ ให้เป็นพื้นที่ปลูกหญ้าเลี้ยงวัวสำหรับชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านร่วมเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ได้ พร้อมทั้งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ป้องกันเหตุด้วย เช่น การของบประมาณสนับสนุนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิดในพื้นที่จุดเสี่ยง รวมถึงมีโครงการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ แต่ด้วยอายุการใช้งานของขบวนรถไฟซึ่งเก่าแล้ว ทำให้อาจไม่สามารถรองรับเทคโนโลยีบางอย่างได้

ทั้งนี้ พ.อ.อนุชา โนนคู่ขดโขง รองเลขาธิการ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวเสริมด้วยว่า ในกรณีที่มีข่าวสารในพื้นที่ว่าอาจมีมูลเหตุการก่อความไม่สงบขึ้น จะมีการยกระดับการรักษาความปลอดภัยในจุดเสี่ยงต่าง ๆ ขึ้น เช่น วางกำลังรักษาความปลอดภัยจำนวนมากยิ่งขึ้นเพื่อเฝ้าระวังเหตุ เป็นต้น

จากข้อมูลของกองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 ได้สรุปพื้นที่เพ่งเล็ง พื้นที่เสี่ยง พื้นที่ล่อแหลม และพื้นที่เคยเกิดเหตุซ้ำ ในแต่ละจังหวัด ดังนี้ จังหวัดนราธิวาส พบที่อำเภอระแงะ มากสุด 5 ครั้ง เป็นเหตุลอบซุ่มยิง 3 ครั้งวางระเบิด 2 ครั้ง ส่วนอำเภอเจาะไอร้อง พบ 3 ครั้ง เป็นเหตุวิสามัญคนร้าย 1 ครั้ง และลอบซุ่มยิง 2 ครั้ง ขณะที่อำเภอรือเสาะ เกิด 6 ครั้งประกอบด้วย เหตุลอบซุ่มยิง 3 ครั้ง ระหว่างระเบิด 3 ครั้ง ด้านจังหวัดยะลา พบเฉพาะที่อำเภอรามัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเหตุลอบซุ่มยิง 2 ครั้งและวางระเบิด 2 ครั้ง ส่วนจังหวัดปัตตานี พบที่อำเภอโคกโพธิ์ 2 ครั้ง โดยเป็นเหตุลอบวางระเบิดทั้ง 2 ครั้ง ทั้งนี้ภารกิจของหน่วยฯ นอกจากเฝ้าระวังเหตุ ยังมีภารกิจด้านอื่น เช่น การเฝ้าตรวจตราสกัดกั้นยาเสพติด ซึ่งมีสถิติ เคยจับได้ อาทิ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 จับกุมยาบ้าได้ 200,000 เม็ด บนขบวนรถกรุงเทพฯ - ยะลา นอกจากนี้ยังมีการเฝ้าระวังกรณีการเดินทางเข้าประเทศโดยผิดกฎหมาย หรือพำนักเกินเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ทุกหน่วยงานที่บูรณาการการทำงานร่วมกัน ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันว่าการยกเลิกตำรวจรถไฟ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในทางสถิติ ไม่ได้มีนัยหรือความสำคัญ ต่อเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นต่อขบวนรถไฟ เนื่องจากภารกิจของตำรวจรถไฟ ส่วนใหญ่อยู่ในขบวนรถ ขณะที่เหตุระเบิด มักเกิดกับการลอบวางระเบิดที่รางรถไฟ หรือการซุ่มยิงจากข้างทางมากกว่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เปิ้ล-นาคร'ปักหลักปัตตานี 'แชมป์-แบงค์'แชมป์โลก'ลงยะลา-ตากใบ นักกีฬาเจ็ตสกีผนึกกำลัง

นักกีฬาเจ็ตสกีทั่วประเทศผนึกกำลังกันอีกครั้ง สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสถานการณ์ล่าสุด ทีมนักกีฬาเจ็ตสกีจิตอาสา ของสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ แบ่ง 2 ทีมปฏิบัติการ ทีมพี่เปิ้ล-นาคร น้องออก้า พี่ปู พี่อาร์ม เจ็ตสกี 6 ลำ ลงพื้นที่พร้อมท่านผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ อ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี ส่วน ทีม “แชมป์” กษิดิศ “แบงค์แชมป์โลก” และพัทธดนย์ วัฒนศิลป์ เข้าช่วยเหลือที่ยะลาและพร้อมลำเลียงข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำ ยารักษาโรค ให้พี่น้องชาวตากใบ

ขึ้นป้าย ต่อสายตรง 'ผู้การทหารพรานที่ 49' แจ้งเหตุชายแดนใต้

หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 49 ทำการติดตั้งป้ายไวนิล สายตรงผู้การทหารพรานที่ 49 ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน " ร่วมกันสอดส่องดูแลชายเเดนใต้

ขอแค่พระคืน! 'บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์' ทำสร้อยทอง 5 บาท หล่นหายตอนช่วยน้ำท่วมภาคใต้

เพจเฟซบุ๊ก บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ โพสต์ข้อความว่า "สวัสดีครับเพื่อนๆครับ ผมมีเรื่องรบกวนพี่ๆเพื่อนๆ ครับ คือเมื่อวานนี้ ช่วงเวลาประมาณเวลาห้าทุ่ม​ ผมได้ทำภารกิจ ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนออกจากพื้นที่จนภารกิจเสร็จเรียบร้อย

จนท. เร่งหาหลักฐาน ไล่กล้องวงจรปิด หาเบาะแสเหตุระเบิดแคมป์ก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม

ความคืบหน้าคนร้ายระเบิดแคมป์คนงานก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม อ.เทพา จ.สงขลา คนงานบาดเจ็บ 3 ราย ทรัพย์สินเสียหาย และมีการวางระเบิดอีก 2 ลูกเพื่อดักสังหารเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้นักเรียนที่กำลังเข้าค่ายกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี