'วันนอร์' ให้ตรวจวงจรปิด หาข้อเท็จจริงกรณีใส่ชุดขาวขรก.แอบอ้างหาประโยชน์

9 ต.ค.2567 - นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง กรณีที่มีบุคคลสวมใส่ชุดปกติขาว อ้างยศนาวาตรี และถ่ายรูปบริเวณป้ายสำนักประธานสภาผู้แทนราษฎร นำไปแอบอ้างหาประโยชน์ว่า ตนเดินทางมาประชุม สมัชชารัฐสภาอาเซียนจึงยังไม่ได้รับรายงาน  แต่หลังกลับไปคงต้องตรวจสอบว่ามีการแอบอ้างอย่างไร ซึ่งโดยปกติจะมีกล้องวงจรปิดอยู่แล้ว คงจะรู้ว่าเกิดขึ้นตอนไหนและจะต้องไปตรวจสอบในรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่ารัฐสภาไม่เหมือนกับทำเนียบรัฐบาลหรือหน่วยราชการอื่น เพราะสภาเป็นที่ของประชาชน  ที่สามารถมาเยี่ยมชมและพบประธานสภาได้ เนื่องจากประธาน รองประธานและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้แทนของปวงชน จึงต้องเปิดให้บุคคลภายนอก เข้ามาพบเพื่อยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ หรือเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  จึงมีประชาชนมาพบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการเป็นจำนวนมาก  ดังนั้น เราต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

“ เรื่องของการแอบอ้าง ผมก็ไม่ทราบว่าจะไปแอบอ้างเรื่องอะไร  เนื่องจากสภาไม่ได้มีผลประโยชน์ แต่ก็ไม่ ควรที่จะวางใจมาก ซึ่งก็มีกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับบุคคลหนึ่งใส่ชุดขาวมาที่สภา และอ้างกับตำรวจว่าลองสวมใส่ชุดขาวราชการดูซึ่งทราบว่าบุคคลดังกล่าวถูกจับมาหลายครั้งแล้ว  ซึ่งอาจจะเป็นกรณีนี้ และเมื่อดูจากภาพ เดินอยู่หน้าห้องประธาน หรือหน้าบัลลังก์ก็เข้าไม่ได้อยู่แล้ว คงเป็นกรณีที่ตอนเดินเข้ามาที่เดินเข้ามาในสภา ซึ่งสภาคนเยอะและมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน ก็ไม่ทราบว่าเป็นข้าราชการจากที่ไหนก็ข้าราชการมาชี้แจง และกรณีนี้สภาตามมาพอสมควรแล้วจนมาจับได้ที่สภา ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจะ มาด้วยความไม่สุจริตหรือสติไม่ดี เพราะยากที่จะมีคนใส่ชุดขาวมาทำเช่นนี้”ประธานรัฐสภา กล่าว

ประธานรัฐสภากล่าวว่า  หลังจากนี้จะไปดูว่ามีสิ่งใดที่จะต้องกลับไปแก้ไข ในมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัย  แต่การจะไปเข้มงวดการเข้าออกมากจนเกินไปก็จะกระทบกับประชาชนที่จะมาหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่บางครั้งที่บางชั้นโดยปกติก็ไม่ได้อนุญาตให้ประชาชนเข้าไปแล้วเข้าไปยกเว้นมีการมีการขอมาเป็นกรณีพิเศษและมีและมีบัตรให้สามารถผ่านได้

ส่วนจะถึงขั้นยกระดับการรักษาความปลอดภัยหรือไม่นั้นประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่ายังไม่ถึงขั้นนั้น แต่ก็ต้องไปปรึกษาหารือกันเรื่องการดูเรื่องการดูแลสถานที่และความปลอดภัยนั้นมอบหมายให้นายนายพิเชษฐ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งไปดูแล ก็ต้องไปพูดคุยกัน เพื่อออกมาตรการ แต่กระชับแต่จะเข้มงวดเหมือนสถานที่สถานก็มียากส่วนราชการอื่นก็คงยาก เพราะรัฐสภา เป็นสถานที่ที่อยากให้ประชาชนแสดงการแสดงความคิดเห็น และการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการแม้กระทั่งประธานสภาตนก็ไม่ขัดข้องหากแจ้งล่วงหน้าที่จะพบ

/////  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' เผยประชุมร่วมรัฐสภา 20 ธ.ค.นี้ ถกวาระร่างกฎหมาย ป.ป.ช.

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมวิปสามฝ่าย ว่า จะมีการประชุมร่วมรัฐสภา ในวันที่ 20 ธันวาคม เวลา 09.30 น. โดยจะมี 3 วาระ คือ วาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)

‘เดียร์’ ซัด ‘พิธา’ บอกนายกฯไม่ตอบกระทู้สภา ทั้งที่ตรงวันแถลงผลงานรัฐบาล

ฝ่ายค้านกลับพยายามจะทำให้สังคมเข้าใจผิด ว่าท่านนายกไม่ยอมมาตอบกระทู้ในสภา โดยที่พรรคของท่านก็ทราบกำหนดการของท่านนายกมาตั้งแต่แรก

ถามอิ๊งค์ยัง! บรู๊ค บอก นายกฯพร้อมแจงฝ่ายค้านซักฟอก MOU 44  

“ดนุพร” ขีดเส้นฝ่ายค้าน ขอข้อมูลเชิงลึก อภิปรายปม  'เอ็มโอยู 44' การประชุมลับ ย้ำ นายกฯ –ครม.พร้อมชี้แจงผ่านถ่ายทอดสด ไม่ว่าจะซักฟอกแบบใด ’รัฐบาล‘ ก็ไม่กังวล

'เพื่อไทย' เดินหน้าเต็มสูบ 'นิรโทษกรรม' งัดข้อประชามติชั้นเดียว

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' จ่อเข็น 'กม.นิรโทษฯ' ถกพร้อมร่างอื่น พ่วงเดินหน้า 'กม.ประชามติ' แนะ 'ประธานสภาฯ-วิป' เร่งหารือแนวทาง 'แก้ รธน.' เหตุ อาจเสียเวลาเปล่า

ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป