‘มารีน่า อบราโมวิช’ ศิลปินเพอร์ฟอร์แมนซ์ระดับโลก เตรียมบรรยายที่ BAB2022

มารีน่า อบราโมวิช    ศิลปินเพอร์ฟอร์แมนซ์ชาวเซอร์เบียที่ร้อนแรงที่สุดแห่งยุค มีผลงานโดดเด่นจำนวนมาก ผลงานของเธอจัดแสดงมาทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เพื่อร่วมจัดแสดงใน”บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022  เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ซึ่งมูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งใหญ่กับกรุงเทพมหานคร และพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิด CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข  

วิดีโอการแสดงสด Dragon Heads ใช้เวลาแสดง 1 ชม.

ในบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 มีการนำผลงานวิดีโอศิลปะการแสดง 9  ชิ้นของมารีน่า อบราโมวิช ที่คัดสรรมาโดยเฉพาะสำหรับธีมโกลาหลและสงบสุข   รวมถึงสองผลงานที่ได้มาสร้างสรรค์ที่อยุธยาและภูเก็ตก่อนหน้านี้  งานโกลาหลของศิลปินระดับโลกผู้นี้ ประกอบด้วย AAA-AAA, Sea Punishing, 8 Lessons on Emptiness, The Scream, and Dragon Head ส่วนเรื่องราวสงบสุขนำผลงาน City of Angels, Boat Emptying, Stream Entering 2, The Kitchen และ The Current ซึ่งทุกชิ้นงานของเธอที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้เข้าชมและคนรักศิลปะทั้งไทยและต่างประเทศ

เป็นโอกาสห้ามพลาดที่จะเรียนรู้และสัมผัสผลงานเพอร์ฟอร์แมนซ์อาร์ตระดับสากล ซึ่งศิลปินตีความบริบทและสังคมของพื้นที่ที่ได้ไปทำการแสดง เลือกใช้เทคนิคสื่อวิดีโอเป็นตัวกลางในการสร้างการรับรู้ผ่านกระบวนการทางร่างกาย เสียงดนตรี อุปกรณ์ต่างๆ ชวนผู้ชมได้ดำดิ่งเข้าไปในก้นบึ้งของจิตใจ เพื่อให้ผู้ชมได้รู้สึกเข้าถึงได้ง่าย และมีส่วนร่วมในการครุ่นคิด วิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ชมผลงานรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับศิลปินมากขึ้น  

แน่นอนว่า เส้นทางชีวิตและการทำงานของศิลปินหญิงผู้นี้เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น การเดินทาง โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ผลงานในแต่รอบการแสดง หรือผลงานในแบบวิดีโออาร์ต  ล้วนแล้วแต่ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างพิถีพิถันของมารีน่าทั้งสิ้น นอกจากชมผลงานศิลปะของศิลปินในบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ แล้ว

นับเป็นโอกาสห้ามพลาดผู้ชมจะได้ร่วมสำรวจตัวตนและรู้จักศิลปะการแสดงสดอันยาวนานของ มารีน่า อบราโมวิช ในวัย 76 ปี ในแง่มุมต่างๆมากขึ้น ในการบรรยายพิเศษภายใต้หัวข้อ “History of Long Durational Work and MAI”  ในวันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2566 เวลา 18.00 - 20.15 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผลงานของมารีน่าจัดแสดงในBAB2022 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการ และผู้อำนวยการศิลป์บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ กล่าวว่า สำหรับการบรรยายพิเศษ History of Long Durational Work and MAI ของมารีน่าในครั้งนี้ จะเป็นการเล่าเรื่องราวของการแสดงสดที่ผ่านมาตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี ในฐานะศิลปินการแสดงสด ซึ่งผลงานของเธอในแต่ละชิ้นมีลักษณะที่พิเศษและใช้เวลาในการทำการแสดงหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน รวมเป็นวิธีการสอนลูกศิษย์ที่ได้สมัครเข้ามาเรียนในสถาบัน มารีนา อบราโมวิช  (MAI)  ในเรื่องของการผึกวินัย จิตใจ ร่างกาย จนเกิดเป็นสมาธิมีความอดทนที่แข็งแกร่ง เพื่อใช้ในการสร้างผลงานการแสดงสด 

“ ผมคิดว่าการบรรยายของเธอจะสามารถสื่อกับผู้ที่ได้เข้าร่วมได้เป็นอย่างดี เพราะศิลปินพูดเสมอว่า มีความสนใจและได้รับแรงบันดาลใจในเรื่องปรัชญาทางฝั่งเอเชีย ทั้งฮินดู พุทธศาสนา หรือวิญญาณนิยมของประเทศออสเตรเลียและทิเบตด้วย นอกจากนี้ การร่วมงานกับมารีน่ามาตั้งแต่บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ สองครั้งก่อนในปี 2561 และปี 2563

ทุกครั้งที่มีผลงานของศิลปินผู้นี้ ผู้คนจะตื่นตัวและให้ความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินไทยด้านเพอร์ฟอร์แมนซ์อาร์ต  ช่วยกระตุ้นวงการศิลปกรรมตลอดห่วงโซ่ของศิลปะ ทั้งการจัดเทศกาล หรือการจัดแสดงในแกลเลอรี่ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางมาจากผู้คนทั่วโลกมาชมผลงานที่กรุงเทพฯ   อีกทั้งยังได้การยอมรับและการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ที่จะทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งด้านศิลปะร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น” อภินันท์ กล่าว 

มารีน่า อบราโมวิช

ก่อนงานบรรยายครั้งสำคัญจะเกิดขึ้น มารีน่า อบราโมวิช ศิลปินระดับโลกที่เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว  กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 50 ปี บนเส้นทางศิลปินด้านการแสดงสด ทำการแสดงด้วยหัวใจ แม้ว่าในโลกจะมีการสื่อสารหลายภาษา ต้องมีการแปลเพื่อให้เข้าใจ แต่ศิลปะการแสดงสดสามารถสื่อสาร โดยไม่ต้องใช้ภาษาก็สามารถเข้าใจได้ ตนเดินทางมาร่วมงานที่ประเทศไทยครั้งแรกในปี 1982 ตัดสินใจเดินทางมาทำการแสดงสด โดยใช้คนในชุมชนร่วมการแสดงสด ได้สัมผัสวัฒนธรรมไทย ต่อมามีโอกาสร่วมทำงานกับทางบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ อย่างต่อเนื่อง

สำหรับงานบรรยายพิเศษครั้งนี้ ศิลปินระบุไม่เพียงแค่การพูดถึงเรื่องราวของผลงาน แต่ยังมีเรื่องของระยะเวลาที่ใช้ในการทำการแสดงสด ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เวลาสั้นๆ แต่การเป็นการใช้เวลาที่ยาวนานที่ผ่านมา ทุกคนสามารถร่วมฟังบรรยายได้ แม้ไม่มีพื้นฐานด้านศิลปะการแสดงสดก็สามารถเข้ารับฟังและได้ประโยชน์ เข้าใจถึงศิลปะการแสดงสด การสร้างผลงานที่มีพลังและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม 

การเป็นศิลปินของมารีน่า  ไม่เพียงแค่การสร้างผลงาน แต่มีบทบาทสำคัญทำงานศิลป์ขับเคลื่อนสังคมและโลก ส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆ โดยเฉพาะในภาวะสงครามและสังคมที่เต็มไปด้วยการกดขี่ไม่ใช่เรื่องง่าย มารีน่าใช้เสียงที่แข็งแรงสื่อสารผ่านการแสดงสด

นอกจากนี้ ศิลปินยกตัวอย่างการแสดงสดปีที่ผ่านมา ก่อนจะมีเหตุการณ์สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ในพื้นที่อนุสรณ์สถานชาวยิว กรุงเบอร์ลิน เป็นผลงานที่มีลักษณะเป็นผลึกครัสตัลจัดเรียงให้ตรงกับศีรษะ ท้อง  ติดไว้บนกำแพงขนาดยาว คล้ายกับงานที่จัดแสดงในบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ปี 2018 ชื่อว่า Standing Structures for Human Use ที่ใช้ร่างกายในการสื่อสารรับรู้ผ่านความเงียบสงบ ทำให้ผู้ที่ได้สัมผัสกับงานระลึกถึงผู้ที่เคยจากไป  ซึ่งผู้นำในยุโรปและเยอรมันต่างยอมรับนี่คือการเรียกความทรงจำให้กลับคืนมา 

มารีน่า อบราโมวิช เผยเรื่องราวเส้นทางสู่ศิลปินระดับโลก

“ ดังนั้นการที่ศิลปินเป็นเสียงที่แข็งในสถานการณ์สงครามที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ คุณจะสามารถทำอะไรได้บ้าง และจะวิธีการทำอย่างไรในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง งานศิลปะที่ดี มาจากจิตวิญญาณ” มารีน่า กล่าว 

นอกจากการสร้างผลงานแล้ว อีกส่วนสำคัญในเส้นทางการเป็นศิลปินของมารีน่า คือ การสร้างศิลปินรุ่มใหม่ในการทำการแสดงสดอย่างยอดเยี่ยม โดยการฝึกศิลปินในสถาบัน มารีนา อบราโมวิช  (MAI) จะต้องผ่านกระบวนการที่เข้มงวด การสำรวจจิตใจ และจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้ง เพราะการแสดงสดต้องสื่อสารไปถึงผู้คนและใช้เวลานานเป็นเรื่องที่ยากและท้าท้ายอย่างมาก

อภินันท์ โปษยานนท์ มารีน่า อบราโมวิช พร้อมพันธมิตรด้านศิลปะ

นี่เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของศิลปิน มารีน่า อบราโมวิช เพราะเรื่องราวระหว่างเส้นทางการเป็นศิลปินการแสดงสดของเธอเต็มไปด้วยสีสัน การพบเจอผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรม การเผชิญในบริบทของพื้นที่ในแต่ละประเทศ หรือแม้กระทั่งบทบาทการเป็นครูผู้สอนของศิลปินหญิงผู้นี้  ยังมีเรื่องราวความน่าสนใจที่ทุกคนจะได้รับฟังพร้อมกันใน “History of Long Durational Work and MAI” ในวันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2566 เวลา18.00 - 20.15 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถซื้อบัตร สามารถสำรองที่นั่งได้mk’ https://www.ticketmelon.com/bangkokartbiennale/worksofartandmai ราคาบัตร 3,000 / 2,000 / 800 / 300 บาท หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง  Facebook และ Instagram : Bkkartbiennale  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชีวิตนี้ชะตาลิขิต'บันทึก 7 รอบนักษัตร'สุเมธ ตันติเวชกุล'

ครั้งแรกของการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  รวบรวมไว้ในหนังสือ “ชีวิตนี้ชะตาลิขิต ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ”

ผลงาน 15 ศิลปินอาเซียนในเวนิส เบียนนาเล่

ศิลปินอาเซียนจะได้เข้าร่วมในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส  เบียนนาเล่ หรือ International Art Exhibition La Biennale di Venizia ครั้งที่ 60 แสดงศักยภาพผ่านนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร และจะมีการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่องใหม่

'Young Designer' พัฒนาดินเผาบ้านเชียง

เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ร่วมออกแบบและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ มาผลิตของที่ระลึกโดยไม่ลืมอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชน เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุนชนบ้านเชียงให้ทันสมัยและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีสไตล์

กทม. Big Trees และ ไทยเบฟ ร่วมสร้างความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟู “ต้นจามจุรี” ณ “สวนเบญจกิติ” ปอดแห่งใหม่ใจกลางกรุง

หลังจากที่ได้มีการฟื้นฟูต้นจามจุรี ซึ่งเป็นต้นไม้ดั้งเดิมภายในใจกลางสวนสาธารณะใจกลางเมืองสวนเบญจกิติ เมื่อกลางปี 2566 ที่ผ่านมานั้น ทำให้ต้นจามจุรีที่มีปัญหาเรื่องความสุขภาพ

ไทยเบฟปรับทัพผู้บริหาร เสริมแกร่งองค์กรสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “กลุ่มบริษัทไทยเบฟ”) ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงตามมติของคณะกรรมการบริษั