สิ้น! นักการเมืองชื่อดัง 'ขงเบ้งเมืองเพชร'

18 ก.พ.2566 - นายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แจ้งว่านายยุทธ อังกินันทน์ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี หลายสมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) จังหวัดเพชรบุรี 7 สมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ผู้เป็นบิดาได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบด้วยโรคชราที่บ้าน “อังกินันทน์” ถ.ราชดำเนิน ต.คลองกระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อเวลา 20.05 น.วันที่ 17 ก.พ. 2566 สิริอายุได้ 87 ปี

สำหรับประวัตินายยุทธ อังกินันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2479 ที่บ้านริมแม่น้ำเพชรบุรี ตรอกต้นจันทน์ ถ.พานิชเจริญ ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตร นายผาด อังกินันทน์ อดีตทนายความ, อดีตนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี, อดีต ส.ส.เพชรบุรี กับ นางบุญยวด อังกินันทน์มีพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน 1 คน คือ นายปิยะ(แป๋ง) อังกินันทน์ อดีต ส.ส.เพชรบุรี 6 สมัย, อดีตสมาชิกและประธานสภาจังหวัด(ส.จ.) เพชรบุรี, อดีตสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเพชรบุรี

นายยุทธเริ่มเข้าเรียนที่ โรงเรียนโพธาราม (บุญเลี่ยมวิทยา), ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนวัดมหาธาตุ (ปัจจุบันคือโรงเรียนสุวรรณรังสฤษฏ์วิทยาลัย) และเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนประดิษฐ์วิทยา(โรงเรียนอรุณประดิษฐ), ชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนเพชรบุรี “วัดคงคาราม” อ.เมือง จ.เพชรบุรี (ปัจจุบันคือโรงเรียนพรหมานุสรณ์ฯ) และย้ายไปเรียนต่อชั้น ม.6 ที่ โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ พอเรียนชั้น ม.7 ได้ระยะหนึ่งก็ย้ายไปเรียนต่อที่ โรงเรียนอำนวยศิลป์ เป็นนักเรียนรุ่นแรก กระทั่งในปี 2555 นายยุทธได้สำเร็จการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์(ภาคพิเศษ) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

บนเส้นทางการเมือง นายยุทธ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ขงเบ้งเมืองเพชร” เพราะเป็นผู้มีความคิดลึกซึ้งในการวางยุทธศาสตร์ต่อสู้ในสนามเลือกตั้ง ไม่ว่าสนามท้องถิ่นหรือระดับชาติ แหลมคมไม่เคยพลาด และได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่ไม่เคยสอบตก

ในปี 2510 ก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเพชรบุรี ต้นปี 2511 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เทศมนตรีเมืองเพชรบุรี และหลังจากนายผาด อังกินันทน์ ผู้เป็นบิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีในสมัยนั้นถึงแก่กรรม นายยุทธก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี แทนบิดาเต็มตัวและผูกขาดตำแหน่งนี้ต่อเนื่องหลายสมัย

ต่อมาในปี 2526 นายยุทธได้รับเลือกเป็น ส.ส.เพชรบุรี ในสังกัด พรรคชาติไทย 4 สมัย และสังกัด พรรคชาติพัฒนา 3 สมัย ต่อเนื่องยาวนานรวม 7 สมัย โดยไม่เคยสอบตก

ขณะเดียวกันนายยุทธยังได้รับการแต่งตั้งเป็น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “รัฐมนตรีช่วยว่าการ” ถึง 2 กระทรวง ครั้งแรกเป็น รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมัย พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่สองเป็น รมช.กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สมัย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการอีกหลายคณะ

ต่อมานายยุทธได้ลาออกจาก ส.ส. ถอยกลับมาลงสนามเทศบาลเมืองเพชรบุรีอีกครั้งเมื่อปี 2542 และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรีเรื่อยมาจนถึงแก่กรรม

เบื้องต้นครอบครัวกำหนดรดน้ำศพในวันอาทิตย์ที่ 19 ก.พ. 2566 ณ วัดพระพุทธไสยาสน์(วัดพระนอน) อ.เมือง จ.เพชรบุรี ตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘นิพิฏฐ์’ เล่าทานข้าว ‘ชวน’ เปรยสมัยนี้คนกล้าพูด เพื่อความถูกต้องมีไม่กี่คน

นิพิฏฐ์เล่าแวะไปทานข้าวมื้อเที่ยงกับท่านชวน หลีกภัย ที่บ้านของท่าน ที่จ.ตรัง เพื่อรายงานเรื่องบางเรื่องให้ท่านทราบ

แฉ!ใกล้เลือกตั้งท้องถิ่น นักการเมืองฉวยใช้งบภาษี ปชช. แฝงสร้างคะแนนนิยม

นับถอยหลังเลือกตั้งท้องถิ่น นักการเมืองที่ทำการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อปกป้องธุรกิจที่มีอยู่

ห่วงรีบร้อน 'MOU 44' เค้นคอนักการเมือง อย่าเห็นแก่ได้ทุรยศแผ่นดิน

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าทุรยศแผ่นดิน

'หมอวรงค์' เปิดใจ! ทำไมต้องมี 'พรรคไทยภักดี'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี คำถามที่หลายคนต้องการคำตอบ เพื่อความชัดเจนว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี ตั้งใจอ่านให้จบนะครับ

‘ป่าสร้างคน...คนสร้างป่า’ ที่บ้านถ้ำเสือ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี “ป่าชุมชนที่ขจัดความจน...และฝายมีชีวิต สร้างเศรษฐกิจชุมชน”

ข้อมูลจากกรมป่าไม้ระบุว่า ปัจจุบันมีป่าชุมชนทั่วประเทศที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 จำนวน 12,801 หมู่บ้าน จำนวนป่า 11,191 แห่ง รวมเนื้อที่ 6,228,726 ไร่

พอช.-หน่วยงานภาคีร่วมสนับสนุนป่าชุมชนบ้านถ้ำเสือ จ.เพชรบุรี สร้างพื้นที่ต้นแบบการจัดการป่า-สร้างรายได้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เพชรบุรี / พอช.และหน่วยงานภาคี เช่น ‘วช.-วปอ.-สสส.-กรมป่าไม้ และจ.เพชรบุรี’ ร่วมสนับสนุนการบริหารจัดการป่าชุมชน ‘บ้านถ้ำเสือ’ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี