'จตุพร' แนะ 'ทักษิณ' อย่าทำตัวเป็นภาระลูกสาว ประหลาดใจโกหกกี่ครั้งคนก็เชื่อ!

จตุพร ทักษิณ
8 เม.ย.2566 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ประเทศไทยต้องมาก่อน ตอน "แจ่มแจ้ง" ตอนหนึ่งว่าถ้าวันหนึ่งอุ๊งอิ๊ง ได้เป็นนายกฯ จะจัดการความสัมพันธ์การกลับบ้านอย่างไร เพราะอารมณ์ความรู้สึกของลูกจะย้อนแย้งกับการเป็นผู้นำฝ่ายบริหารอย่างยิ่งในการตัดใจหรือพิจารณาให้พ่อกลับบ้านภายในปีนี้

"ดังนั้น ทักษิณจึงไม่ควรเป็นภาระกับลูกสาว โดยต้องกลับในวันนี้ พรุ่งนี้ หรือก่อนวันที่ 14 พ.ค. นี้ หรือก่อนวันที่ลูกจะเป็นนายกฯ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเมืองกับอุ๊งอิ๊ง"

นายจตุพร กล่าวว่าเรื่องทักษิณกลับบ้าน ผมเชื่อเป็นเรื่องโกหก เพราะหลังเลือกตั้ง 14 พ.ค. เมื่อเพื่อไทยชนะก็จะเปลี่ยนแปลงอีก โดยอ้างเหตุผลความจำเป็นต่างๆ ซึ่งประเทศนี้ก็แปลก ทักษิณพูดอะไรก็เชื่อ เมื่อโกหกก็ฟัง และโกหกกี่ครั้งก็ไม่ว่าอะไร ทั้งที่การโกหกจะมีแค่ครั้งเดียวที่ทำได้ แต่ทักษิณทำกี่ครั้งคนก็ยังเชื่อ แล้วปล่อยให้ทำซ้ำๆ

นายจตุพร กล่าวว่า ถ้าเอาบ้านเมืองเป็นที่ตั้งแล้ว ถ้าทักษิณ ต้องการกลับมาจริงก็เดินเข้าคุกให้สง่างาม ไม่เป็นพิษภัยอะไรกับใคร แล้วก็ยุติเรื่องได้ หากอ้างจะเข้ามาเพื่อต้องการคะแนนเสียงให้แลนด์สไลด์แล้ว จึงเป็นการหวังผลทางการเมือง เมื่อเสร็จเลือกตั้งก็ไม่กลับมา

“ผมจึงเชื่อว่า กลับบ้านเป็นเรื่องโกหกเพื่อมาสร้างปรากฏการณ์แลนด์สไลด์เท่านั้น” นายจตุพร ย้ำ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีลนายใหญ่! 'จักรภพ' นำร่องพาบริวารกลับบ้าน

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า จักรภพกลับไทย โครงการนำร่องของทักษิณ นำบริวารกลับบ้าน

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

เดือด! โฆษกพรรคหญิงหน่อยจี้ 'สุภาพร' ลาออกหลังโผล่ไปรับทักษิณ

'ภัชริ' ซัด 'สุภาพร' ไม่มีความละอาย ไม่สำนึกถึงสิ่งที่ได้สัญญากับประชาชน โผล่ถ่ายรูป 'ทักษิณ' ทั้งที่ยังสังกัด ไทยสร้างไทย ลั่นพฤติกรรมเป็นงูเห่าชัดตั้งแต่ต้น จี้ลาออกหลังพรรคให้โอกาสแต่ไม่สำนึก

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า