1 ธ.ค.2564 - นายจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองชื่อดัง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า ปลดอาวุธ คสช. – รื้อมรดกคณะรัฐประหาร
เมื่อวานนี้ (30 พ.ย. 64) ผมได้ไปร่วมเวทีเสวนาถอดประสบการณ์การปราบปรามเสรีภาพของประชาชนในยุคคสช. นอกจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับผมที่ต้องสู้คดีกว่า 6 ปี 6 เดือน จากการไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งของ คสช. และคดีมาตรา 116 ที่ทำให้ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร ยังมีผลให้ผมถูกจำคุก, ระงับธุรกรรมทางการเงินและหนังสือเดินทาง ซึ่งคดีทั้งหมดของผมเพิ่งจบลงเมื่อไม่นานมานี้
แต่ขณะนี้ยังมีคำสั่งคสช.ที่ยังคงถูกใช้และมีผลมาจนปัจจุบัน
โดยที่ผ่านมาการใช้คำสั่งคสช.มีผลอยู่ใน 2 ลักษณะ ลักษณะแรกคือเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพ การทำลายกระบวนการยุติธรรม ขัดต่อหลักนิติธรรม และขัดต่อสิทธิมนุษยชน ส่วนคำสั่งอีกประเภทหนึ่งที่มีเป็นจำนวนมากคือคำสั่งที่มีผลต่อระบบโครงสร้างในการบริหารประเทศ และการแก้ปัญหาประเทศ
ทั้ง 2 ลักษณะมีผลคนละด้านและการจัดการกับมันจะต้องต่างกัน เช่น เรื่องที่กระทบต่อโครงสร้างการบริหารทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือเขตเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่ คสช.ออกคำสั่งมาแล้วอะไรที่มันแตกต่างหรือขัดแย้งกับพรบ.ใดก็ตาม มันจะมีผลเท่ากับเป็นการแก้พรบ.นั้นไปแล้ว และกลายเป็นพรบ.ใหม่ไปแล้ว
ยกตัวอย่างเรื่องป่าทวงคืนผืนป่าในคำสั่งมีคำว่าประชาชนอยู่กับป่าอยู่นิดเดียวแต่ว่าไม่มีผลในทางปฏิบัติจริง เห็นได้ชัดว่าคอนเซปต์คนอยู่กับป่าไม่มีในสารบบของการแก้ปัญหาที่ดินและการให้คนอยู่กับป่าของคสช.เลย แต่ที่ทำจริงคือเอาป่าจากชาวบ้านคืนมา เสร็จแล้วก็ไม่ได้คืนจริงแต่ไปเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ ทำให้ชาวบ้านทั่วไปเดือดร้อนแต่นายทุนรายใหญ่กลับไม่ได้รับผลกระทบอะไร
การประมูลการประมูลรถไฟความเร็วสูง ที่ไม่ใช้การประมูลแต่ยกให้บริษัทใหญ่ที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน โดยยกเว้นไม่ต้องใช้กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างทุกฉบับ
การออกคำสั่งยกเลิกเหมืองทองอัครามีผลทำให้ประเทศต้องเสียหายหลายหมื่นล้านแน่ๆ และขณะนี้ก็ไม่รู้จะไปไล่เบี้ยเอากับใคร
การออกคำสั่งที่เกี่ยวกับการศึกษา มีผลทำให้การศึกษาในต่างจังหวัดทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัด ย้อนยุคไปเหมือนการศึกษาประชาบาลเมื่อ 40-50 ปี
โดยการพยายามจะแก้กฎหมายการศึกษาที่มีคณะกรรมการตามรัฐธรรมนูญ ก็มีคำสั่งคสช.เข้ามามีผลทำให้ร่างพรบ.การศึกษาที่ออกมากลายเป็น พรบ.ที่ทำให้การศึกษาล้าหลังไม่ไปไหน
ด้านประมง คำสั่งคสช.มีหลายสิบหลายร้อยฉบับ ชาวประมงที่เป็นประมงขนาดเล็กที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในประมาณ 22 จังหวัดทำมาหากินไม่ได้ รายได้ของประชาชนเหล่านี้หายไปไม่ต่ำกว่าปีละหลายหมื่นล้านบาทจนทุกวันนี้
คำสั่งพวกนี้มีผลเป็นการไปแก้กฎหมายในเรื่องนั้นๆ ถ้าเราจะแก้มันโดยยกเลิกไปเฉยๆ มันก็จะเกิดปัญหา เช่น ยกเลิกคำสั่งประมงทุกฉบับ แล้วจะทำอย่างไรต่อกับต่างประเทศหรือกับ EU ไทยจะทำอย่างไรกับธงเขียว ธงเหลือง ธงแดง “ลักษณะเช่นนี้จึงไม่ใช่การยกเลิกไปเฉย ๆ แต่ต้องการการเข้าไปดูแล”
สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เกิดจากการที่คำสั่งคสช.มีลักษณะพิเศษ คือเป็นคำสั่งที่ไม่ต้องฟังเสียงประชาชน ไม่มีที่มาจากตัวแทนประชาชนใดๆทั้งสิ้น และพิสูจน์แล้วว่าคำสั่งของ คสช.ในทุกด้านคำนึงถึงผลประโยชน์ของธุรกิจทุนขนาดใหญ่แต่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าไปดูแลในข้อกฎหมาย
ส่วนเรื่องสิทธิเสรีภาพสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องแก้โดยเร็ว อะไรที่ค้างอยู่เวลานี้อย่างการใช้พรบ.ฉุกเฉิน ซึ่งต่อไปถ้าเขาไม่ใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินก็อาจใช้คำสั่งที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ละเมิดกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะฉะนั้นคำสั่งเหล่านี้ต้องยกเลิกไปโดยเร็ว
ทั้งนี้ในวันนี้ (1 ธ.ค. 64) สภาผู้แทนราษฎรมีนัดพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย เพื่อยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช.35 ฉบับ
ผมก็หวังว่าสภาผู้แทนราษฎรจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ผู้แทนราษฎรทั้งหลายจะต้องช่วยกันผลักดันทำให้เกิดการให้ความสนใจปัญหาที่เกิดจากคำสั่งคสช.อย่างจริงจัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีอะไรในกอไผ่! 'จตุพร' ยำเละ ฝ่ายค้านทำตัวน่ารัก 'อุ๊งอิ๊ง' ชอบใจ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน จัดรายการประเทศไทยต้องมาก่อนผ่านเฟซบุ๊คว่า ขณะนี้กระแสกดดันรัฐบาลพรรคเพื่
เสียงจาก หญิงหน่อย วิพากษ์รัฐบาลเพื่อไทย | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2568
ปรับ ครม. ไปก็แค่งานช่าง! ถ้าผู้นำยังไร้วุฒิภาวะ-คนสั่งการไม่อยู่ในระบบ
การเมืองไทยหลังสงกรานต์เต็มไปด้วยข่าวลือเรื่องการปรับ ครม.ไม่มีใครปฏิเสธว่ารัฐบาลกำลังเผชิญแรงเสื่อมทั้งใน
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 57)
ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
'เทพไท' ซัดรัฐบาล-ทักษิณ ใช้ไทยฟอกขาว 'มิน อ่อง หล่าย' ปมประชุมลับกลางกรุง
อดีต สส.นครศรีธรรมราช ตั้งคำถามรัฐบาลไทย หลังมีรายงาน “อันวาร์-มิน อ่อง หล่าย-ทักษิณ” หารือลับกลางกรุงเทพฯ ชี้เป็นพฤติกรรมคลุมเครือ ทั้งในมิติการทูตและบทบาทของอดีตนายกฯ ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
2 ดร.เตือนดังๆ..ระวัง! การเมืองฟ้าผ่า อวสาน..2 พ่อลูก | อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2568