ปลุกทุกภาคส่วนผนึกกำลังสร้างโลกที่ดีกว่า น่าอยู่ และยั่งยืน

เมื่อมนุษย์ต่างอาศัยอยู่บนโลกใบเดียวกัน จึงมีความจำเป็นที่ต้องผนึกกำลัง ในการสร้างสังคมที่ดี น่าอยู่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือกันและกันให้เกิดความยั่งยืน โดยในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการจัดงาน SX Sustainability Expo ได้กลายเป็นมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 2.7 แสนคน กลายเป็นแพลตฟอร์มด้านความยั่งยืนที่เปิดโอกาสให้นานาประเทศได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเดินหน้าพัฒนาสังคมด้วยความยั่งยืน สำหรับหนึ่งในกิจกรรม SX Talk Series กับหัวข้อ “Sustainability for Better Me Better Living Better Community คิด ทำ อย่างยั่งยืน เพื่อ ทุกสิ่งที่ดีกว่า” เกิดขึ้นเพื่อที่จะนำไปสู่งาน SX Sustainability Expo 2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

WARRIX สร้างความสุข-สุขภาพดี และความยั่งยืน

นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า WARRIX เริ่มต้นจากการทำเสื้อผ้ากีฬาที่ไม่มีทุน ตนเองไม่ใช่คนเก่งที่สุด แต่เป็นคนขยันที่สุด มีวินัยมากที่สุดในคนรุ่นอายุเท่ากันกันเพราะฉะนั้นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและมีความสุขอย่างยั่งยืนอาจไม่ใช่คนที่รวยที่สุดก็เป็นได้ ซึ่งสำหรับตนเองนั้นใช้ปรัชญาที่ว่าการมีเพียงพอสำหรับทุกอย่าง คือ มีเพียงที่จะเลี้ยงดูตัวเอง พ่อแม่และครอบครัว โดยตนเองผ่านทุกจุดของความยากลำบากมาแล้ว จนทุกวันนี้สามารถสร้างบริษัทของตัวเองเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าที่ 6,000 ล้านบาท ทุกวันนี้สามารถใช้ชีวิตอย่างีเพียงพอโดยไม่ต้องกังวลว่าครอบครัวป่วยแล้วจะใช้เงินที่ไหนรักษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของความยั่งยืนที่เป็น Brand purpose ของ WARRIX โดยมี 3 แนวคิดหลัก ได้แก่ 1.สุขภาพดี 2.มีความสุขและ3.ความยั่งยืน

ทั้งนี้ WARRIX ทำเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นเวลา 10 ปี จากวันแรกที่มีการเปิดตัวแบรนด์เสื้อผ้ากีฬาท่ามกลางแบรนด์คู่แข่งจากทั้งในไทยและต่างประเทศที่มีความแข็งแรงในตลาด ซึ่ง WARRIX มองเห็นโอกาสในการทำตลาดที่เป็นช่องว่างของเสื้อผ้ากีฬา โดยเข้าเจาะตลาดชุดกีฬาฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลต่างๆ ในประเทศไทย โดยระยะแรกเริ่มจากสโมสรหลักใน 10 จังหวัด ขยายธุรกิจต่อเนื่องมาจนเป็น 30 จังหวัด และจุดพลิกธุรกิจสำคัญคือชุดกีฬาฟุตบอลของทีมชาติไทยที่ทำให้ยอดขายเติบโตต่อเนื่อง และทำให้บริษัทจึงตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์

ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังได้ปรับเปลี่ยน Brand Position ครั้งสำคัญจากเสื้อผ้ากีฬาฟุตบอลบอล (WARRIX football sportswear) เป็นชุดกีฬาเพื่อสุขภาพ (WARRIX Health Active Lifestyle) โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแบรนด์ และส่งต่ออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ โดยขยายธุรกิจในตลาดใหม่ๆ ด้วยการจัดกิจกรรมที่ต่อยอดสู่สุขภาพ เช่น การจัดงานวิ่ง กิจกรรมที่สอดรับกับการสวมใส่เสื้อยืด เป็นต้น

ล่าสุดได้มีผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยชุดฟุตบอลทีมชาติไทยปีนี้ใช้วัตถุดิบที่สามารถรีไซเคิลได้ ตั้งเป้าหมายผลิตเสื้อจากวัตถุดิบรีไซเคิลอย่างน้อย 30,000 ตัว/ปี และตั้งเป้าจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปีโดยร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ผ่านการนนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการผลิตเสื้อ 1 ตัว ต้องใช้ขวดพลาสติกขนาด 600cc ถึง 20 ขวด เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 75% ลดพลังงาน 85% และลดการใช้น้ำ 20% พร้อมยังช่วยประหยัดพื้นที่ในการฝังกลบขยะได้อีกด้วย

ผังเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์การออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC-CEUS) Urban Design and Development Center กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ทุกคนอยู่สถานการณ์ของยุคที่เรียกว่าศตวรรษของการเป็นเมือง (Urban Century) โดยผู้คนเกินกว่าครึ่งของโลกใบนี้อาศัยอยู่บนพื้นที่ที่เรียกว่าเมือง โดยในอดีตการทำงานเกี่ยวกับการวางผังเมือง เป็นเรื่องจัดทำได้โดยไม่ยาก มีความคงที่ ซึ่งเชื่อว่าไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปัจจุบันการวางผังเมืองไม่ต่างจากการทำธุรกิจ ที่จะต้องมีการร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่เมือง เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน และสร้างความเข้าใจเมืองในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเมือง หรือเพื่อให้เกิดเป็น Better life Better City

โดยโจทย์สำคัญของเมือง คือ เมืองต้องการพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอ เช่น กรุงเทพฯ ต้องการพื้นที่สีเชียวในจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวของห้างสรรพสินค้า เป็นต้น รวมถึงการวางผังเมืองที่ช่วยแก้ปัญหาการสัญจร เนื่องจากในช่วงโควิด-19 ระบาดนั้น คนซื้อรถใหม่เพื่อใช้ส่วนตัวและภายในครอบครัวมากขึ้น ทำให้เกิดมลภาวะและสภาพการจราจรติดขัด โดยสัดส่วนพื้นที่ถนนในการเชื่อมต่อเพื่อสัญจรที่ดีอยู่ที่ 20-30% ของพื้นที่เมืองทั้งหมด แต่กรุงเทพฯ กลับพบว่ามีสัดส่วนถนนอยู่ที่ 7-8% เท่านั้น

ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่า 90% ของพื้นที่ถนนในกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล และ45% ของถนนในกรุงเทพฯ เป็นซอยตันและลึก ทำให้การสัญจรจำเป็นต้องใช้รถจักรยานยนต์เป็นหลัก แม้ว่าประเทศไทยจะมีรถสาธารณะระบบรางเพื่อบริการ แต่ก็ไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตจริงได้ เพราะฉะนั้นการออกแบบระบบการสัญจรที่ดีจะต้องมีระบบขนส่งเสริมที่ดีสำหรับรองรับ โดยการวางผังเมืองหรือบริหารจัดการเมืองให้น่าอยู่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องได้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาเมือง

สำหรับค่าเฉลี่ยการเดินของคนไทยอยู่ที่ 800 เมตร ซึ่งการเดินจะช่วยให้คนในกรุงเทพฯ เรียนรู้ที่จะเดินเพื่อไปยังจุดเชื่อมต่อการสัญจร และให้ความสำคัญกับระบบรถสาธารณะมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันค่าเฉลี่ยนคนที่อาศัยในกรุงเทพฯ ใช้เวลาอยู่ในรถยนต์ 800 ชั่วโมงต่อปีโดยในย่านเมืองที่เดินเชื่อมต่อกันได้มีโอกาสที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น 30-40% เนื่องจากร้านค้าริมถนนมีโอกาสได้ลูกค้าทั้งใหม่และประจำ หากมองในมุมการกระจายเศรษฐกิจไปยังท้องถิ่น เมืองที่เดินได้มีโอกาสกระจายเศรษฐกิจที่สูงกว่า          

ดังนั้น สิ่งที่เมืองจะต้องพัฒนาคือการทำให้เมืองเดินได้ ซึ่งล่าสุด UDDC-CEUS ได้ร่วมกับสำนักเขตกรุงเทพมหานครในการพัฒนาทางเท้าให้มีพื้นที่เพื่อเดินได้อย่างสะดวก โดยเริ่มในพื้นที่ของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีในการเชื่อมต่อผู้คนไปยังสถานบริการด้านสุขภาพต่างๆ ในย่านนั้น

อะลูมิเนียม “พระเอกรีไซเคิล” สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

นางสาวกิติยา แสนทวีสุข Head of Sustainability บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด (TBC) กล่าวว่า ตนเองทำงานอยู่ใน TBC เป็นเวลา 26 ปีแล้ว และสิ่งที่เห็นมาตลอดคือการผลิตบรรจุภันฑ์ที่หลากหลาย และส่งต่อไปยังแบรนด์สินค้าจำนวนมากเพื่อจัดจำหน่าย ดังนั้น ความรับชอบขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยบริษัทฯ ได้ผลิตกระป๋องซึ่งเป็นส่วนผสมของอลูมีเนียม ซึ่งอะลูมิเนียมถูกผลิตเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมต้นน้ำในเหมืองแร่ผลิตแร่บอกไซด์ โดยการนำแร่บอกไซด์มาถลุงจนได้อลูมิน่าบริสุทธิ์ และนำอลูมิน่าเข้าหลอมเป็นแท่งจนได้แท่งอลูมิเนียมบริสุทธิ์กลายเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการนำกระป่องกลับมารีไซเคิลเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ เพื่อลดการใช้อลูมิเนียมจากเหมืองแร่ลง ด้วยการเพิ่มปริมาณการใช้วัตถุดิบจากวัสดุรีไซด์เคิล

ทั้งนี้ ประเทศที่สามารถนำกระป๋องอลูมิเนียมกลับสู่กระบวนการผลิตใหม่มีเพียง 4 ประเทศในเอเชียเท่านั้น ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่นและไทย ซึ่งบริษัทฯ ได้รณรงค์ให้มีการแยกขยะเพื่อให้กระป่องเหล่านี้กลับสู่กระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง เนื่องจากจะช่วยลดพลังงานในการผลิตกระป๋องอลูมิเนียมได้ถึง 95% หากผลิตจากกระป๋องรีไซเคิล โดย 75% ของอลูมิเนียมที่ถลุงตั้งแต่ปี 2431 ยังคงถูกนำกลับมาใช้จนถึงปัจจุบัน และแน่นอนว่ากระป๋องอลูมิเนียมสามารถรีไซเคิลได้โดยไม่เสียคุณภาพ และยังเรียกว่าเป็นกระป๋องบรรจุภัณฑ์ที่ถูกรีไซเคิลมากที่สุดในโลกอีกด้วย เพราะกระป๋องที่ใช้แล้ว ไม่สร้างขยะ แต่รีไซเคิลได้ไม่รู้จบ และกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วจะกลับมาเป็นกระป๋องใบใหม่ภายในเพียง 60 วัน 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่องค์กรจะต้องคิดคือ ต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความรับผิดชอบที่จะต้องส่งต่อไปยังสังคมมีอะไรที่ทำได้บ้าง โดยไทยเบเวอร์เรจแคนมีเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ 1.การทำให้เกิด Circular economy อย่างแท้จริง 2.เรื่องของ Climate change strategy และ Life Cycle Assessment หรือ LCA เป็นต้น  โดยมีการลงมือทำใน 3 ส่วนสำคัญคือ 1.การทำเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลการรีไซเคิล หรือ Data recycling rate ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างไร 2.จะทำให้แต่ละพื้นที่มีอัตราการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นได้อย่างไร และ 3.การผลิตอลูมิเนียม 100% ทำได้อย่างไร

ทั้งนี้ อลูมิเนียมในไทยสามารถผลิตได้ที่ปริมาณ 70,000 ตัน ส่งออกไปยังต่างประเทศประมาณ 30,000 ตัน มีการใช้ในประเทศ 40,000 ตัน ซึ่งคิดเป็น Collection rate for recycling 88% สะท้อนให้เห็นว่าอลูมิเนียมเก็บกลับมาได้ในจำนวนที่สูง แต่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เป็นผลิตภัณฑ์กระป๋องในสัดส่วน 79% โดยสิ่งที่บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายคือการให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลพื้นที่เก็บกระป๋องกลับเพื่อผลิตใหม่ ซึ่งมีการสร้างความร่วมมือกับบริษัทเอกชน และองค์กรต่างๆ ในการร่วมกันให้ข้อมูลต่อชุมชนในการแยกขยะที่ถูกวิธีเพื่อการเก็บกลับที่มีคุณภาพนำไปผลิตใหม่ได้ 

จะเห็นได้ว่าหลากหลายมุมมองที่กล่าวมาข้างต้น เราทุกคนสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่ายความยั่งยืนได้ โดยภายในงาน SX Sustainability Expo 2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผู้ชมจะได้เห็นภาพรวมในหลากหลายมิติ เพื่อให้องค์กรและประชาชนทั่วไป สามารถนำไปเป็นตัวจุดประกายที่จะเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ จากตัวเอง เพื่อ Good Balance, Better World สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้นำธุรกิจขานรับเทรนด์ความยั่งยืน ชี้เป็นความเสี่ยงระดับโลก บนเวที 2023

ผู้นำองค์กรธุรกิจใช้เวที “SX Sustainability Expo 2023” มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ประกาศขานรับเทรนด์ความยั่งยืน

ขอเชิญฟังบรรยายพิเศษเพื่อแรงบันดาลใจแห่งความยั่งยืน

ขอเชิญร่วมฟังบรรยายพิเศษเพื่อแรงบันดาลใจแห่งความยั่งยืน ด้วยแนวคิดหลักของการจัดงาน "พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก" (Sufficiency for Sustainability)

"สร้างโลกที่ดีกว่า" ต้องลงมือทำวันนี้ หลักเศรษฐกิจพอเพียงชี้ทางให้แล้ว

ในงานเปิดมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน กับงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023) ครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิดร่วมสร้าง “สมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า” Good Balance, Better World

เปิดงานมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน Sustainability Expo 2023 (SX2023) ที่จะชวนคุณถอดรหัสการ “ลงมือทำ” “สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า”

เปิดมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนกับงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023) ที่จะชวนคุณมาถอดรหัสการ “ลงมือทำ” เพื่อร่วมสร้าง

เพราะเราเชื่อว่ากีฬา “สร้างคน” “สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” กับการพัฒนากีฬา เพื่อความยั่งยืน

กีฬาไม่ใช่เพียงการแค่แข่งขัน แต่มันคือจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัย ทั้งสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างสังคมที่มีคุณค่า