จ้องงาบ 'เมกะโปรเจกต์' มีหนาว! สตง. เปิดสำนักใหม่สอบโครงการยักษ์

คิดงาบ ‘เมกะโปรเจกต์’ หนาวแน่! ‘สตง.’ ติดเขี้ยวเล็บ เปิดสำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ ประเดิมรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ดิจิทัลวอลเล็ต

26 ก.พ. 2567 – นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งจะพ้นจากตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่จะถึงนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะมีการเปิดสำนักขึ้นมาใหม่เรียกว่า ”สำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่” ตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในสตง.ที่มีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่จะให้มีผล 1 เมษายน 2567

นายประจักษ์กล่าวว่า สาเหตุที่มีการจัดตั้งสำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าวที่เป็นสำนักที่จัดตั้งใหม่เพราะที่ผ่านมา สตง. มีบทบาทในการตรวจสอบรายงานการเงินค่อนข้างมาก ซึ่งโครงการใหญ่ๆ การจะไปติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาเราอาจจะยังไม่ได้ไปให้ความสำคัญเต็มที่ สตง. ก็มองว่าด้วยบทบาทของ สตง. ที่มีภารกิจสำคัญในการตรวจสอบ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ การตรวจสอบการเงิน การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่ของสตง.ที่รับผิดชอบในการติดตามดูแลตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ การติดตามตรวจสอบแค่ปีเดียวมันไม่เสร็จ เพราะการทำโครงการขนาดใหญ่ก็ใช้เวลาบางที 4 – 5 ปี กว่าจะเสร็จ สตง. ต้องตามเหมือนกัน ทางสตง. ก็มีการเสนอต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้มีการจัดตั้ง “สำนักงานตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่” แยกออกมาเป็นอีกหนึ่งสำคัญต่างหาก จนมีการเห็นชอบดังกล่าว

“ทำให้หลังจากนี้โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ เช่นรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีปัญหา ที่ผ่านมา สตง. ยังไม่มีคนเข้าไปจับโดยตรงว่าโครงการเป็นอย่างไร ข้อกฎหมายเป็นอย่างไร ตอนนี้ก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ ทางสำนักงานตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ของ สตง. ก็จะเข้าไปติดตามตรวจสอบ หรืออย่างโครงการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต หากรัฐบาลเริ่มดำเนินการ ก็ถือว่าเข้าข่ายเช่นกัน โดยเมื่อมีการเริ่มทำงานแล้ว สำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ก็ทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ ไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับงานด้านอื่น” นายประจักษ์ระบุ

มีรายงานว่าสำหรับสำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ของ สตง. ดังกล่าว ตามประกาศของ คตง. ระบุถึงอำนาจหน้าที่ของสำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ไว้ว่า ให้มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกินหนึ่งพันล้านบาท และโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชนในรูปแบบ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public. Private Partnership หรือ PPP) ซึ่งหลังมีการเปิดสำนักดังกล่าวในเดือนเมษายน ทางเจ้าหน้าที่ก็สามารถเข้าติดตามตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างหรือการทำโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงต่างๆ ที่สื่อนำเสนอได้เช่น การจัดซื้อเรือดำน้ำของกระทรวงกลาโหม หรือข่าวที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เตรียมจัดซื้อเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 787 ฝูงใหม่ จำนวน 47 ลำ เป็นต้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แพร่บทความปอกเปลือก ทักษิโณมิคส์ บวก X กลายเป็นโครงการแจกเงินดิจิทัล

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง "ทักษิโณมิคส์ + X = โครงการแจกเงินดิจิตอล" มีเนื้อหาดังนี้ เมื่อคราวแรกเริ่มครองอำนาจในปี ๒๕๔๖ ของพรรคทักษิณ ที่พลิกมิติการปกครองไทยด้วยชุดนโยบายการเงินที่โหมอัดฉีดประชานิยมชนิดเข้มข้นต่างๆนานา

'คารม' จวก 'เด็จพี่' ฟุ้งซ่าน! 'บี พุทธิพงษ์' วิจารณ์ดิจิทัลวอลเล็ต แค่ความเห็นส่วนตัว

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ออกมาพูดถึงนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ซึ่งเคยเป็นอดีตผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไท

'อนุทิน' ย้ำ ภท.หนุนดิจิทัลวอลเล็ตให้เป็นไปตามกฎหมาย ยึดข้อเสนอ 3 หน่วยงาน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย(ภท.) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์ ถึงกรณีที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านโครงการแจกเงินดิจิทัล

'จุรินทร์' ชี้ดิจิทัลวอลเล็ตยังคลุมเครือ เหมือนเดินบนเส้นด้าย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะทันไตรมาส 4 ตามที่รัฐบาลประกาศหรือไม่ว่า สถานการณ์วันนี้เหมือนย้อนกลับไปในจุดที่เหมือนประกาศว่าจะ

ดิจิทัลวอลเล็ตสะดุด'พรบ.ธ.ก.ส.' แจกเงินหมื่น‘ลูกผีลูกคน’อีกแล้ว

ภาพ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง นำทีมหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค หรือแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี มาแถลงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบหลักการ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา