กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าฤดูฝนปี 2567 จะมาช้ากว่าปกติ 2 สัปดาห์ ปริมาณฝนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศการเข้า "ฤดูฝน" ปี 2567 จะเริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคม ช้ากว่าปกติ 2 สัปดาห์ ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศจะใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ ในช่วงประมาณกลางเดือน มิ.ย.ถึงกลาง ก.ค. เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง

27 เม.ย.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2567 ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2567 มีเนื้อหาดังนี้ ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งจะช้ากว่าปกติ 1 - 2 สัปดาห์ และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนตุลาคม 2567 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้ จะใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ และใกล้เคียงกับปีที่แล้ว (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝนปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 1 ส่วนปริมาณฝนรวมทั้งปีน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 6)

โดยในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (ตั้งแต่วันเริ่มต้นถึงเดือนกรกฎาคม ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ ส่วนในช่วงครึ่งหลังฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึงปลายเดือนตุลาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5

อนึ่ง ในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย และส่งผลให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้ำเพื่อประโยชน์สูงสุด

ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุ เปิดพื้นที่เสี่ยงภัยฝนฟ้าคะนอง 40-60 % ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ ชี้อากาศแปรปรวน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน การเริ่มต้นฤดูฝนอาจเลื่อนไปช่วงปลาย พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝน 10 วันล่วงหน้า สภาพอากาศยังแปรปรวน เดี่ยวร้อน เดี่ยวฝน ลมยังไม่แน่ทิศ การเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะเลื่อนไปในช่วงปลายเดือน (สัปดาห์ที่ 4)

กรมอุตุ ประกาศฉบับสุดท้าย พายุฤดูร้อน 8-10 พ.ค. ยังมีฝนตกหนักลมกระโชกแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 14 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้ ระบุว่า

มาครบ! เหนือ อีสาน กลาง ตะวันออก ระวัง! ร้อนจัด พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก ฟ้าผ่า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันอ