'ธรรมนัส' แจงปม Saveทับลาน ไม่เกี่ยว ก.เกษตรฯ อย่าโยงพาดพิง สปก.

"ธรรมนัส" ออกตัวโยน ก.ทรัพยากรธรรมชาติ จัดการปมปัญหาที่ดินทับซ้อนอุทยานแห่งชาติทับลาน แจงขั้นตอนนี้ไม่เกี่ยว ก.เกษตรฯ ขออย่านำไปโยงเพื่อพาดพิงส.ป.ก. ปัด 2 กระทรวงงัดข้อกัน

9 ก.ค.2567 - เมื่อเวลา 10.10 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาพื้นที่ทับซ้อนในอำเภอทับลาน จังหวัดนครราชสีมา ว่า ขั้นตอนขณะนี้ไม่อยู่ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ผ่านมาทุกเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติทั้งหมด กรณีอุทยานแห่งชาติทับลาน เกิดขึ้นในรัฐบาลหลายยุค แต่มาสรุปต้นปี 2566 ในรัฐบาลยุคที่แล้ว เรื่องการปรับแนวเขตปี 2543 โดยหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ ก็เป็นเรื่องที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องไปดำเนินการ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ และขณะนี้ก็มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ขอให้เข้าใจว่า เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ขออย่านำมาผสมผสานจนเข้าใจผิด ในฐานะที่ตนกำกับดูแล สปก. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) หาก สคทช. เห็นชอบก็จะนำเสนอต่อครม. และเมื่อครม.เห็นชอบให้ สปก.นำไปจัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรทำกินก็จะต้องนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ ขอให้เข้าใจตรงนี้ ตนเห็นสื่อบางสำนักไปโจมตี สปก. ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหาย

เมื่อถามว่าที่ดินที่มีปัญหาที่อุทยานแห่งชาติทับลานมีปัญหาคาบเกี่ยว กับบางรีสอร์ทที่พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เคยไปจัดสัมมนาเมื่อปี 2562 และต่อมาก็มีมติครม. ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องนี้

ถามต่อว่าจำนวนที่ดินที่ทับซ้อนประมาณ 150,000 ไร่ ในจำนวนนี้พบว่ามีของนายทุนและชาวบ้านนั้น ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ที่ดินเหล่านี้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีคณะกรรมการตรวจสอบ และจำแนกชัดเจนว่าตรงไหนที่ประชาชนร้องเรียนมา ไม่ใช่เหมารวมทั้งหมด จนนำไปสู่การประชุมของคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน (คนช.) ตนย้ำว่าต้องมีการจำแนกให้ชัดเจนถึงแนวเขตว่าตรงไหนควรอนุรักษ์เป็นป่า ตรงไหนที่ชาวบ้านอยู่แล้ว หลายคนที่ออกมานำเสนอก็มีข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงแต่ต้องเข้าใจก่อนว่ากรณีนี้เป็นการแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน ซึ่งมีมาตรการและขั้นตอนอยู่ เพราะฉะนั้นขอให้ใจเย็นๆ เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการทำประชาวิจารณ์อยู่

ถามอีกว่าจะต้องใช้แผนที่ใดในการแบ่งเขต ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า เราบริหารราชการแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่จะปฏิบัติก็ต้องนำมติที่ผ่านคณะกรรมการนโยบายที่ดินเข้าที่ประชุมครม.

ถามย้ำว่าการออกสปก. ทับที่อุทยานเกิดขึ้นหลายพื้นที่ ร.อ.ธรรมนัส กล่าวยืนยันว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานปฏิบัติที่ต้องทำตามมติครม.เมื่อเห็นชอบอย่างไร เราก็ต้องนำไปปฏิบัติหากไม่ปฏิบัติก็จะโดนมาตรา 157 ดังนั้นเรื่องนี้ยังไม่ถึงกระบวนการของ สปก. ตอนนี้เป็นเรื่องของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องดำเนินการ และหลังจากที่กรมอุทยานเห็นชอบอย่างไรก็จะต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจนและตรงไหนที่เป็นกลุ่มนายทุนบุกรุกก็จะต้องถูกออกหมายจับดำเนินคดีอาญา ดังนั้นต้องแยกแยะระหว่างผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายกับปัญหาประชาชน

ถามต่อว่าที่หลายคนกังวลใจว่าหากมีการออกแนวเขตจะเป็นการนิรโทษกรรมนายทุนทั้งหมดร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ต้องจำแนกให้ชัดเจนว่าอะไรคือกลุ่มทุน อะไรคือเกษตรกร

“นี่ไม่ใช่การงัดข้อกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะเรื่องนี้เราคุยกันตลอด และผมก็ได้หารือกันกับทุกฝ่าย ทั้งรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งยังไม่ถึงกระบวนการที่สปก.จะเข้าไปดำเนินการ” ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

เมื่อถามถึงปัญหาความเห็นไม่ตรงกันของทั้ง 2 กระทรวงที่มีบ่อยครั้ง ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่าตอนนี้เรามีคณะกรรมการที่ทำงานร่วมกัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เป็นเรื่อง! เพจอาเซียน โชว์หราแผนที่ดินแดนทางทะเล เหมือนของกัมพูชาใน MOU44 เป๊ะ

เพจ ASEAN Megacity ซึ่งมีผู้ติดตามในอาเซียนประมาณ 2 พันคน ได้แชร์ภาพแผนที่ประเทศย่านอาเซียน พร้อมระบุข้อความว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป

กมธ.พลังงานจับตาตั้งคณะกรรมการ JTC

'กมธ.พลังงาน' ถกพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ห่วงเลิกสัมปทานเสียค่าโง่เอกชน จับตาตั้งคกก. JTC พร้อมแนะเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานร่วมวง

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .