“วุฒิสภา” ตั้งกมธ.วิสามัญฯ ยกร่างข้อบังคับการประชุมฉบับใหม่ ตั้งกมธ.สามัญ 21 คณะ พร้อมยกเลิกภารกิจด้านปฏิรูปประเทศ-ยุทธศาสตร์ชาติ
5 ส.ค.2567 - เวลา 09.40 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่2 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) โดยมีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ก่อนเริ่มประชุมสมาชิกวุฒิสภา(สว.) รับทราบพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณากำหนดวันและเวลาประชุมวุฒิสภา ซึ่งมติเสียงส่วนใหญ่ยังให้คงไว้ตามเดิม ตามที่พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย สว. เสนอ จำนวน 2 วัน คือ วันจันทร์ และวันอังคาร ตั้งแต่เวลา 09.30 น. ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 164 เสียง ไม่เห็นชอบ 24 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง
ต่อมาได้พิจารณาเรื่องด่วน ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ซึ่งมีผู้เสนอญัตติจำนวน 5 คน ประกอบด้วย นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ สว.กลุ่มสาธารณสุข นายประภาส ปิ่นตบแต่ง สว.กลุ่มประชาสังคม นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย สว.กลุ่มสื่อมวลชน นายเอกชัย เรืองรัตน์ สว.กลุ่มอื่นๆ และพล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี สว.กลุ่มอื่นๆ
ทั้งนี้ เนื่องมาจากข้อบังคับฯปัจจุบันกำหนดคณะกรรมาธิการ(กมธ.)สามัญประจำวุฒิสภา จำนวน 26 คณะ และให้มีคณะกมธ.ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการยุทธศาสตร์ชาติขึ้น แต่อายุของสว. จำนวน 250 คนตามมาตรา269 ของรัฐธรรมนูญ ได้สิ้นสุดลง และมีสว.ชุดใหม่ จำนวน 200 คน ตามมาตรา107 จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะได้มีการแก้ไขข้อบังคับ เพื่อให้เหมาะสมและสอดรับกับภารกิจของสว.ชุดใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่สว.อภิปรายแสดงความคิดเห็นครบถ้วนแล้ว นายมงคล ซึ่งเป็นประธานการประชุมขณะนั้น ได้ให้สมาชิกลงมติ ผลปรากฏว่าที่ประชุมเห็นชอบญัตติแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ของพล.ต.ท.ยุทธนา ด้วยคะแนน 148 ต่อ 39 งดออกเสียง 13 เสียง ไม่ออกเสียงไม่มี และตั้งคณะกมธ.วิสามัญฯ จำนวน 21 คน กำหนดระยะเวลาทำงาน 30 วัน โดยให้สมาชิกแปรญัตติ 7 วัน
สำหรับสาระสำคัญของร่างข้อบังคับฯ ฉบับพล.ต.ท.ยุทธนา กำหนดให้มีคณะกมธ.สามัญ จำนวน 21 คณะ ประกอบด้วย กมธ.จำนวนไม่น้อยกว่า 9 คนแต่ไม่เกิน 18 คน และอาจตั้งคณะอนุกมธ.ได้ไม่เกินคณะละ 3 คณะ ประกอบด้วยอนุกมธ.คณะละไม่เกิน 12 คน ซึ่งเลือกจากรายชื่อที่กมธ.เสนอ รวมถึงให้ยกเลิกหมวด10 ภารกิจด้านการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,
ระอุ สภาสูงย้อนเกล็ดเพื่อไทย ประธานกมธ.ทหารฯ ขวาง ครม.ทำโผทหาร
ระอุ สภาสูงตั้งป้อม สกัดเพื่อไทย ยึดอำนาจกองทัพ ประธานกมธ.ทหารฯ มาเอง ขวางครม.ทำโผทหาร เปิดเหตุผล “หัวเขียง-พท.”เสนอเพิ่มอำนาจครม.ตั้งบิ๊กท็อปบูต อัดแรง ระบบปัจจุบันเปิดช่องผบ.เหล่าทัพ วางทายาท-พวกพ้องให้สืบทอดอำนาจ
ดิ้นทุกทาง!บอกประชามติเป็น กม.การเงินไม่ต้องรอ 180 วัน
'ชูศักดิ์' งัด รธน. มาตรา 137 อ้างกฎหมายประชามติเข้าข่ายกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน จ่อถกวิปรัฐบาล เชื่อฝ่ายค้านเอาด้วย
'สิริพรรณ นกสวน' อาจารย์จุฬาฯ ลงสมัครชิงเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยธุรการ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน เพื่อมาแทน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรธน.
กกต. ยื้อ 'หมอเกศ' เลื่อนถกคุณสมบัติจบดอกเตอร์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้มีการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบกรณีพ.ญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ถูกร้องว่ากระทำการหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถหรือชื่อเสียงเกียรติคุณ
เปิดชื่อผู้สมัคร ป.ป.ช. 3 เก้าอี้ คนดังเพียบ ผู้พิพากษา อัยการ บิ๊กทหาร-ตำรวจ อดีตผู้ว่าฯ
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีแทนตำแหน่งที่ว่าง (พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.