กมธ.ชุด 'กล้านรงค์' เปิดรายงานร้อนฉ่า 'ทุจริตคอร์รัปชัน' ประเทศไทยยังอยู่ที่เดิม

18 ม.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ว่าในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานที่ประชุม ได้พิจารณา รายงาน เรื่อง "บทวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยความผิดกกรณีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ตามที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.)กิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ" ที่มีนายกล้านรงค์ จันทิก เป็นประธานกมธ. เสนอ

โดยรายงานดังกล่าวสืบเนื่อง ด้วยในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 17/2562 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันที่ 10 ก.ย. 2562 ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาตามข้อบังคับ การประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ข้อ 78 วรรคสอง (21) ประกอบข้อ 98 ซึ่งคณะกรรมาธิการกิจการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา เป็นคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา มีหน้าที่และอำนาจ เกี่ยวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการบริหารจัดการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐบาลในด้านงบประมาณ ติดตามและประเมินผลการรับการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีขององค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ พิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมาธิการคณะนี้ประกอบด้วย

1. นายกล้านรงค์ จันทิก ประธานคณะกรรมาธิการ 2. นายกิตติ วะสีนนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง 3.พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง 4. นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม 5. นายยุทธนา ทัพเจริญ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สี่ 6. นายสัญชัย จุลมนต์ เลขานุการคณะกรรมาธิการ

7. นายกษิดิศ อาชวคุณ โฆษกคณะกรรมาธิการ 8. พลเอก ธีรเดช มีเพียร ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ 9. พลเอก นพดล อินทปัญญา ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ 10 นายประมนต์ สุธีวงศ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ 11. นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ 12. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ 13. นายเฉลา พวงมาลัย14. พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ 15. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป

สำหรับรายงานดังกล่าว ในส่วนของบทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ มีรายละเอียดดังนี้

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 270 วุฒิสภามีบทบาทสำคัญในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ โดยคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา ได้รับมอบหมายภารกิจการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งคณะกรรมาธิการเห็นควรหยิบยกกรณีกฎหมายว่าด้วย ความผิดกรณีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมอันเป็นกฎหมายตาม รัฐธรรมนูญ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ขึ้นมาพิจารณาศึกษาตามหน้าที่และอำนาจ และ ผลการพิจารณาศึกษา ปรากฎดังนี้

5.1 บทสรุป

จากการศึกษาผลการประเมินดัชนีรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ขององค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ประเทศไทยได้รับการประเมินต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยมาตรฐานโลก (43 คะแนน) โดยปี 2563ประเทศไทยได้คะแนน CPI เพียง 36 คะแนน ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าดัชนี CP! ของไทยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ ประเด็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) โดยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รวมถึงรัฐวิสาหกิจและองค์กรอิสระ

ที่ยังมีพฤติกรรมแสวงหาประโยชน์จากการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ ด้วยการเรียกรับสินบน สินน้ำใจ มีการใช้ ทรัพย์สินของทางราชการและงบประมาณเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มีการเลือกปฏิบัติในการใช้อำนาจรัฐเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน

ในการนี้ ปัญหาความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ของรัฐจากการประเมินพบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยไม่ซื่อสัตย์สุจริตและมีการรับผลประโยชน์ในส่วนใหญ่ รวมทั้งสถานการณ์ของประเทศไทยไม่ดีขึ้นและการจัดลำดับด้อยลงไปจาก 6 ปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุมาจากประเทศอื่น ๆ มีการพัฒนาขึ้น แต่ประเทศไทย ยังคงอยู่ที่เดิม โดยได้มีการสรุปว่า แนวโน้มที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีคะแนนต่ำลงมีทั้งสิ้น 5 ประการ ได้แก่

(1) ความสูญเปล่าในการใช้เงินงบประมาณของรัฐบาล (Wastefulness of government spending)

(2) จริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (Ethical behavior of firms)

(3) ต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องอาชญากรรมและความรุนแรง (Business costs of crime and violence)

(4) ต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องผู้ก่อการร้าย (Business costs of terrorism)

(5) ความเข้มแข็งของการคุ้มครองผู้ลงทุน (Strength of investor protection)

โดยเรื่องที่ควรมุ่งเน้นมากที่สุด คือ เรื่องจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบเรื่องต่อมาการใช้งบประมาณที่สูญเปล่า กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ปัญหาการทุจริต

ทั้งนี้ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการทุจริตโดยระบุว่า

(1) ต้องมีการสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทรัพยากรต่าง ๆ จะไปถึงผู้ที่มีความต้องการอย่างแท้จริง และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและหน่วยงานตรวจสอบต้องได้รับจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรที่เพียงพอ รวมถึงมีความเป็นอิสระในการดำเนินการ

(2) สร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเปิดเผยและความโปร่งใสในการได้รับสัญญา เพื่อขจัดการกระทำผิดและขัดกันแห่งผลประโยชน์ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการเข้าเสนอราคา อย่างเป็นธรรม

(3) ปกป้องประชาธิปไตยและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมือง เพื่อสร้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้รัฐบาลต้องมีความรับผิดชอบ

และ (4) เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและรับรองการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่าสาธารณชนได้รับข้อมูสสำคัญได้โดยง่าย สะดวก และตรงต่อเวลา

คณะกรรมาธิการได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันประหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม เพราะเป็นกฎหมายสำคัญที่ถูกกำหนดไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งฉบับเดิม และฉบับปรับปรุง อีกทั้งกฎหมายดังกล่าวถูกยกร่างและเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติมาแล้วถึง 2 ครั้งแต่กลับไม่สามารถก้าวผ่านมาสู่การประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ โดยต้องยอมรับว่าการตรากฎหมายฉบับดังกล่าวมิใช่เรื่องง่าย เพราะด้วยบริบทของสังคมไทยที่เป็นข้อจำกัดสำคัญ จึงต้องร่างกฎหมายฉบับนี้ให้มีความชัดเจนของรูปแบบกฎหมาย กล่าวคือ

(1) ต้องมีความชัดเจนของการกำหนดหลักการหลักวิชาการ และการส่งเสริมว่าจะใช้แนวทางนี้ แล้วจึงค่อย ๆ พัฒนาและปรับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
(2) ต้องจำแนกให้ชัดเจน โดยต้องแยกให้ชัดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือสิ่งที่ผิด และจะเป็นสิ่งที่กึ่งถูกกึ่งผิดไม่ได้ เพื่อขจัดการตีความของผู้บังคับใช้กฎหมาย อีกทั้งต้องแยกให้ได้ระหว่างผู้ดำเนินการตามกฎเกณฑ์(Operator) กับผู้ควบคุมหรือผู้ออกกฎ (Regulator) ให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะหลักการของการมีกฎหมายดังกล่าว ที่ต้องสามารถแยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมได้การบังคับใช้กฎหมายปัจจุบันกับกรณีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามหลักการขัดกันประหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมปรากฏในกฎหมายหลายฉบับ อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์) ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือรัฐมนตรี และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 (หมวด 6 การขัดกันประหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม) ซึ่งขยายเพิ่มเติมตำแหน่งสำหรับเจ้าพนักงานของรัฐที่ถูกบังคับใช้กฎหมายในบางลักษณะของการกระทำตามหลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Confict ofInterest) ซึ่งเป็นข้อห้ามภายหลังการเข้าสู่ตำแหน่ง และบัญญัติเพิ่มตำแหน่งที่ถูกบังคับใช้กฎหมายที่มากกว่ารัฐธรรมนูญ เช่น กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (กรรมการ ป.ป.ช.) และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือตำแหน่งที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกำหนด โดยในส่วนนี้การออกประกาศของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อตำแหน่งต่าง ๆ ต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบ เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ อันเป็นสิทธิโดยชอบของบุคคลที่มีอยู่เดิมก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง ซึ่งต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ เพราะผู้ถูกบังคับใช้กฎหมายอาจประกอบอาชีพต่าง ๆ มาก่อนที่จะเข้าสู่ตำแหน่ง ประกอบกับโทษของการฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม คือ โทษทางอาญา

สำหรับประเด็นการบังคับใช้กฎหมายนั้น ปัจจุบันมีกฎหมายที่ใช้บังคับสำหรับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามหลักการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมอยู่แล้ว เช่นประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งฐานความผิดที่อยู่ในประมวลกฎหมายอาญาต้องพิสูจน์เจตนาและทางราชการต้องเสียหาย จึงทำให้ไม่ครอบคลุมความผิดในกรณีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่สามารถลงโทษสำหรับความผิดกรณีที่ "ส่อว่า" ทุจริตได้ โดยตามแนวคิดกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม "แม้จะไม่มีเจตนา" ก็เป็นความผิด ซึ่งต่างจากหลักคิดการลงโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้นกฎหมายดังกล่าวต้องมีความชัดเจน

ในการนี้กฎหมายแต่ละฉบับมีมาตรการบังคับมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด โดยมีทั้งที่เป็นโทษทางอาญา โทษทางวินัย หรือต้องพ้นจากตำแหน่ง อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายตามหลัก Conftict of Interest ปรากฎอยู่บ้าง แต่ยังไม่ครอบคลุมการบังคับใช้กฎหมายกับเจ้าพนักงานของรัฐในทุกตำแหน่งและทุกรูปแบบของหลัก Confict of Interest ที่ต้องดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนคะแนน CP ตามเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนเป้าหมายการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (Integrity and Transparency Assessment: ITA)ตลอดจนยังสามารถแสดงให้สังคมโลกได้เห็นถึงความพยายามรับเอาคงไว้ และเสริมสร้างระบบที่ส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมที่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานตามอนุสัญญา UNCAC ด้วย อีกทั้งการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าพนักงานของรัฐทุกคน ทุกระดับ จะต้องระมัดระวังเคารพต่อกติกา กฎเกณฑ์ งานในหน้าที่ โดยเฉพาะหากมีงานในหน้าที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของตนเอง งานอาจจะเป็นปัญหาได้

ดังนั้น ปัจจุบันแม้มีกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการบังคับใช้กฎหมายตามหลักการขัดกันระหว่างป ระโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นเหตุจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม และเจ้าพนักงานของรัฐต้องมีความพร้อมที่จะเข้าสู่การบังคับใช้กฎหมายก่อน ทั้งนี้ การมีกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างป ระโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่สังคมไทยและระบบราชการไทย ที่จะทำให้ระบบมีกติกาและเป็นแนวทางการทำงานที่ชัดเจน เจ้าพนักงานของรัฐจะเกิดการรับรู้ว่สิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้ และหากทำได้ต้องทำอย่างไร ซึ่งหากมีกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้จะเกิดประโยชน์ต่อระบบราชการไทย และการปฏิบัติตัวของเจ้าพนักงานของรัฐ รวมทั้งจากประเด็นปัญหาของความกระจัดกระจายในการบังคับใช้กฎหมายที่มีความเข้มข้นที่ไม่เท่ากัน และใช้บังคับไม่ทั่วถึงเจ้าพนักงานของรัฐทุกตำแหน่ง

อีกทั้งบทลงโทษที่บัญญัติไว้ก็ไม่เท่ากัน จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ.... ขึ้นมา โดยความสำคัญของการมีกฎหมายว่าด้วยความผิดกรณีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วน บุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมนั้นขึ้นอยู่กับสังคมที่จะเรียกร้องให้เจ้าพนักงานของรัฐปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มากน้อยเพียงใด เพราะการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมเริ่มส่งผลชัดเจนขึ้นในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งการมีกฎหมายว่าด้วยความผิดกรณีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมต้องกำหนดให้ครอบคลุม และมีมาตรการพิเศษสำหรับเจ้าพนักงานของรัฐที่ต้องใช้อำนาจ ซึ่งอาจฝ่าผืนข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติได้โดยง่าย โดยต้องระบุไว้เป็นกฎหมายเฉพาะ ทั้งนี้ สิ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้เพียงพอต่อการป้องกันการทุจริตแล้ว แต่ประเด็นปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการแสดงข้อมูลและข้อเท็จจริงของกระบวนการตรวจสอบ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายเช่นกันซึ่งในส่วนประเด็นบัญหาการบังคับใช้กฎหมายนี้ยังปรากฎผลของการบังคับใช้กฎหมายหรือการตีความ กฎหมายที่ผิดแปลก เช่น การรับทรัพย์สินอื่นใดกับการยืม

5.2 ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ

ด้วยบริบทของสังคมไทยดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับความจำเป็นในการอนุมัติการตามอนุสัญญาUNCAC คณะกรรมาธิการจึงมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบตามหลักการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยดำเนินการผ่านมาตรฐานทางจริยธรรมและการจัดทำกฎหมาย ในระดับ ดังนี้

5.2.1 ระดับที่หนึ่ง การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึก

คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า ควรให้การศึกษา และเน้นการสร้างจิตสำนึกถึงข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามหลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ซึ่งเป็นหลักการสากล รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างวินัยและการเรียนรู้ของคนในสังคมโดยสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ว่า การมีกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การดำเนินการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ได้และจะส่งผลต่อค่าคะแนน CP! ของประเทศไทยที่จะสูงขึ้น แต่จะสูงขึ้นมากน้อยเพียงใดนั้น อย่างน้อยก็สามารถที่จะเป็นกรอบและจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาที่จะทำให้เจ้าพนักงานของรัฐและประชาชนได้เริ่มต้นการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน

ทั้งนี้ จากรายงานการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการเรื่อง "การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education)" จะพบว่า หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ได้มีการกำหนดเนื้อหาความรู้เรื่อง "การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interest)" ไว้ด้วยแล้ว

5.2.2 ระดับที่สอง การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าพนักงานของรัฐ

คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า ควรกำหนดการปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมของเจ้าหนักงานของรัฐ (Code of Conducts) ให้สอดคล้องกับหลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ให้ครบทั้ง 9 รูปแบบ โดยนำบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มาบัญญัติไว้ในประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง 1 ทั้งนี้ เพื่อสร้างการรับรู้ของคนในสังคมถึงสิ่งใดเป็นข้อปฏิบัติ (Do's) สิ่งใดเป็นข้อห้าม (Don'ts) โดยกำหนดโทษสำหรับข้อปฏิบัติและข้อห้าม ให้ชัดเจน เช่น โทษทางวินัย โทษทางปกครอง เป็นต้น โดยการกำหนดการปฏิบัติตนของเจ้าพนักงานของรัฐเป็นข้อย่อยทั้ง 9 รูปแบบ และสร้างบทนิยามศัพท์ให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า "ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณป็นงินได้" ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐานสากลจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐอย่างมาก และการมีกฎหมายว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวมจะเป็นสิ่งจำเป็นที่แสดงภาพลักษณ์ของ การต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทย ทำให้ต่างประเทศที่ทำธุรกิจกับประเทศไทยไม่ต้องกังวลกับ การเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีสิทธิใช้อำนาจรัฐ

5.2.3 ระดับที่สาม จัดทำกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างระโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า ความเหมาะสมของกฎหมายตามหลัก Conflict ofInterest ต้องมีความชัดเจนเพียงพอ เพราะนอกเหนือจากประเด็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของเจ้าพนักงานของรัฐที่ต้องพอสมควรแก่เหตุแล้ว ต้องป้องกันมีให้เกิดการฟ้องร้องเพื่อกลั่นแกล้งกันด้วย เช่น ตำแหน่งที่ต้องถูกบังคับใช้ต้องชัดเจน ลักษณะและพฤติการณ์ของการกระทำความผิดต้องชัดเจนและการกำหนดโทษต้องชัดเจน เป็นต้น โดยต้องมีการเผยแพร่ สร้างองค์ความรู้ และสร้างระบบให้เจ้าหน้าที่รัฐได้เข้าถึงและรับรู้ถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างแท้จริง

ในการนี้ ในชั้นการจัดทำร่างกฎหมายควรมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องตามหลักผู้มีส่วนได้เสียด้วย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ โดยประเด็นที่ควรมีการรับฟังความคิดเห็น คือประเด็นข้อปฏิบัติและข้อห้ามตามหลัก Confict of Interest ที่ควรนำมาบัญญัติไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ประเด็นโทษของการกระทำความผิด เนื่องจากความร้ายแรงของการกระทำความผิดตามหลัก Confict of Interest มีมากน้อยไม่เท่ากัน ดังนั้น โทษสำหรับความผิดสำหรับการกระทำในรูปแบบต่าง ๆ ควรมีความแตกต่างกันไป โดยกรณีของโทษทางอาญามีองค์ประกอบสำคัญ คือ "เจตนา" ซึ่งแตกต่างจากความผิดบางการกระทำที่ควรมีโทษเพียงแค่ "พ้นจากตำแหน่ง" หรือได้รับโทษทาง "วินัย" ดังนั้น โทษแบบใดที่เหมาะสมกับความผิดในแต่ละลักษณะของการกระทำควรมีการแบ่งแยกให้ ชัดเจน เพราะบางการกระทำควรเป็นเพียงการบริหารจัดการ

โดยคณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า ควรกำหนดชื่อร่างพระราชบัญญัติว่า"พระราชบัญญัติการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม " เพื่อให้กฎหมายไม่ถูกตีกรอบเฉพาะ "ความผิด" โดยอาจบัญญัติในเชิงส่งเสริม และเป็นกฎหมายกลางในเรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมที่จะกำหนดลักษณะข้อปฏิบัติและข้อห้าม" (Do's & Don'ts)

ทั้งนี้ ในขั้นการยกร่างกฎหมายดังกล่าวสามารถนำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. ที่เคยถูกเสนอต่อสภานิติบัญญัดิแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2560 มาเป็นร่างตั้งต้นได้ โดยตัดบทบัญญัติที่มีความซ้ำซ้อนกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตออก

รายละเอียดทั้งหมด87316_0001

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แนะประชาชน ต้องรู้ทัน ไม่หลงเชื่อกลโกงมิจฉาชีพ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่ยังพบมีการหลอกลวงประชาชนจากมิจฉาชีพอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดข้อมูลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระบุ ในช่วงตั้งแต่

สว.แจงเหตุผลดูงานต่างประเทศ ระบุใช้ต่อยอดพัฒนาการศึกษาไทย

นายออน กาจกระโทก สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในฐานะเลขานุการกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา กล่าวถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์การเดินทางไปดูงานต่างประเทศของคณะกมธ.สามัญชุดต่างๆ วุฒิสภา ในช่วงคาบเกี่ยว

ประธาน กกต. แจงความคืบหน้าเลือก สว. ชุดใหม่

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต. กล่าวถึงความคืบหน้าของระเบียบ และประกาศกกต. เกี่ยวข้องกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า เสร็จไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยมี 1 ฉบับที่ส่งไปแล้ว และอยู่ระหว่างการ

ฉาวทิ้งทวนก่อนหมดวาระ! สว.เทงบ 81 ล้าน บินคึกเมืองนอก รุมจวกเตือนแล้วไม่ฟัง

ความเคลื่อนไหวของวุฒิสภา (สว.) ที่จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 10 พ.ค. นี้ ปรากฏว่าสำนักงานเลขาวุฒิสภา ได้รับการจัดสรรงบประมาณร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 รายการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดูงานไปประชุมทวิภาค