23 ก.ค.2567 - เมื่อเวลา 18.00 น. ที่รัฐสภา นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมวุฒิสภา เพื่อเลือกประธาน ถึงกรณีที่รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เป็นนายบุญส่ง น้อยโสภณ ว่าที่รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ถือว่าเหนือความคาดหมายหรือไม่ ว่า ไม่ หากสังเกต ทั้งนายมงคล สุรัจสัจจะ ว่าที่ประธานวุฒิสภา, พลเอกเกรียงไกร ศรีรักษ์ ว่าที่รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และนายบุญส่ง ทั้งสามท่านก็เสนอชื่อกันเอง ตนก็ไม่ได้แปลกใจอะไร แต่รู้สึกดีใจที่ได้พูดในสิ่งที่อยากจะพูดแทนประชาชน เรื่องการเมืองภาคพลเมือง สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก กฏหมายของประชาชนที่เข้าชื่อ ว่าในฐานะวุฒิสภาจะสามารถทำอะไรได้บ้าง
เมื่อถามว่า คาดว่าจะได้กี่คะแนน จากการประเมิน นางอังคณา กล่าวว่า ถ้าพูดถึงคะแนน ในกลุ่มของตนก็ได้ไม่ต่างกัน ประมาณไม่เกิน 20 เสียง ส่วนคิดว่าตัวเลขออกมาน้อยหรือไม่นั้น ไม่กระทบจิตใจ เพราะผ่านอะไรมาเยอะ แต่ประหลาดใจ เพราะรอบเลือกระดับประเทศ ก็ไม่ต่างอะไรจากครั้งนี้ คนที่มีคะแนนสูงก็สูงไปเลย
ส่วนควรจะมีการถอดบทเรียน เนื่องจากต่อไปจะเป็นการชิงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการหรือไม่นั้น นางอังคณา กล่าวว่า เหมือนถูกกำหนดมาให้เป็นแบบนี้ ขึ้นอยู่ที่ว่าคนที่เป็นคนกำหนดจะเป็นคนชี้นำตลอดไปหรือไม่ หรือจะฟังเสียงจากคนข้างนอกหรือประชาชนบ้างหรือไม่ ส่วนตัวแต่ไม่ได้กังวล เราอยู่ตรงไหนก็ทำงานอย่างเต็มที่อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า เสียงที่เป็นเอกภาพขนาดนี้ จะทำให้ทางกลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ ทำงานยากหรือไม่ นางอังคณากล่าวว่า หากมีกฎหมายประชาชนเข้ามา หรือมีอะไรที่รัฐบาล หรือพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย ก็กังวลว่าเสียงจะเทไปทางที่ไม่เห็นด้วยหมด สิ่งที่ทำให้เห็นชัดเจนในวันนี้ คือความไม่เป็นอิสระ อย่างช่วงที่มีการเลือกเข้ามา เราก็รู้ในระดับหนึ่งว่า มีการจัดตั้งอย่างเข้มแข็ง แต่วันนี้แสดงให้เห็นว่า วุฒิสภามีความเป็นอิสระจริงหรือไม่ ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่คะแนนจะเทไปให้คนใดคนหนึ่งจนมากแบบนี้
ส่วนจะกดดันให้การทำงานตลอด 5 ปี ยากขึ้นหรือไม่นั้น นางอังคณากล่าวว่า ไม่เคยรู้สึกกดดัน แต่เรารู้สึกว่า อาจจะทำงานได้ยากขึ้นในประเด็นที่สำคัญๆ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และเราเชื่อว่าถูกต้อง ก็อาจจะเป็นไปได้ยาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย แต่อย่างน้อยที่สุด เราก็ได้ทำแล้ว อะไรที่ยังทำไม่ได้ ก็จะต้องชี้แจงกับประชาชน
“วันนี้ทำให้เห็นชัดเลยว่า วุฒิสภาไม่มีความเป็นอิสระจริงๆ”
นางอังคณา กล่าวต่อว่า ถ้าดูตัวบุคคลก็จะเห็นว่า แต่ละคนเป็นเพื่อนกันมาก่อน แต่สิ่งที่ดีใจคือ วันนี้เราได้รู้ว่า มีใครบ้างที่ยังเดินอยู่กับเรา ถือว่าดี จะได้ประมาณตนได้ว่า ต่อไปหากเราจะทำอะไร คงต้องทำงานหนักขึ้น
ส่วนมีอะไรจะฝากไปถึงประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาทั้งสองหรือไม่นั้น นางอังคณากล่าวว่า ทั้ง 3 คน คงต้องตอบคำถามประชาชน ตอนนี้คงปกปิดอะไรไม่ได้แล้วว่าทุกคนเป็นอิสระ เพราะสิ่งที่เห็น บอกกับเราว่าความเป็นอิสระของ สว. ไม่มีจริง
ทั้งนี้ การเลือกรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ผลปรากฏว่า นายบุญส่ง น้อยโสภณ สว.ได้ 167 คะแนน นางอังคณา นีละไพจิตร สว. ได้ 18 คะแนน นายพงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต สว. ได้ 8 คะแนน และนายปฏิมา จีระแพทย์ สว. ได้ 4 คะแนน งดออกเสียง 2
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,
ระอุ สภาสูงย้อนเกล็ดเพื่อไทย ประธานกมธ.ทหารฯ ขวาง ครม.ทำโผทหาร
ระอุ สภาสูงตั้งป้อม สกัดเพื่อไทย ยึดอำนาจกองทัพ ประธานกมธ.ทหารฯ มาเอง ขวางครม.ทำโผทหาร เปิดเหตุผล “หัวเขียง-พท.”เสนอเพิ่มอำนาจครม.ตั้งบิ๊กท็อปบูต อัดแรง ระบบปัจจุบันเปิดช่องผบ.เหล่าทัพ วางทายาท-พวกพ้องให้สืบทอดอำนาจ
สว.พันธุ์ใหม่ อ้างต่างประเทศใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น ทำผลประชามติบิดเบือน
น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.กลุ่มพันธุ์ใหม่ แถลงจุดยืนถึงร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่า ไม่ว่ามติของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะออกมาเป็นอย่างไร
ดิ้นทุกทาง!บอกประชามติเป็น กม.การเงินไม่ต้องรอ 180 วัน
'ชูศักดิ์' งัด รธน. มาตรา 137 อ้างกฎหมายประชามติเข้าข่ายกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน จ่อถกวิปรัฐบาล เชื่อฝ่ายค้านเอาด้วย
'สิริพรรณ นกสวน' อาจารย์จุฬาฯ ลงสมัครชิงเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยธุรการ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน เพื่อมาแทน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรธน.
กกต. ยื้อ 'หมอเกศ' เลื่อนถกคุณสมบัติจบดอกเตอร์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้มีการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบกรณีพ.ญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ถูกร้องว่ากระทำการหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถหรือชื่อเสียงเกียรติคุณ