หมอยง แนะไทยควรนำยาแอนติบอดี้ LAAB มาใช้รักษา โควิด 19

หมอยง

13 ธ.ค. 2565 – นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสเฟซบุ๊กระบุว่า

ในระยะแรกเมื่อไม่มีวัคซีน เราก็ใช้แอนติบอดี้มาช่วยในการรักษา เช่นการใช้พลาสมาของผู้ที่หายจากโรค covid 19 แล้ว ซึ่งมีแอนติบอดี้อยู่เปลียบเสมือนการให้เซรุ่ม หรือโมโนโคลนอลแอนติบอดี มาช่วยในการรักษา

ต่อมาเมื่อมีวัคซีนในการสร้างภูมิต้านทานแอนติบอดี ความจำเป็นที่จะใช้ พลาสมา แอนติบอดี้ ก็ไม่มี เพราะร่างกายสามารถสร้างแอนติบอดี้ได้จากวัคซีน หรือการติดเชื้อแล้ว เราจะใช้ในผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่เคยติดเชื้อมาก่อน

ไวรัสมีการกลายพันธุ์เรื่อยมา ทำให้ แอนตี้บอดี้ที่สังเคราะห์หรือสร้างขึ้นมาด้วยสายพันธุ์เดิม มีประสิทธิภาพน้อยลง หรือใช้ไม่ได้ จนมาถึงสายพันธุ์ปัจจุบัน เป็นโอมิครอน BA.2.75 แอนติบอดี้ที่ยังพอใช้ได้ในบ้านเราก็คงจะเป็น แอนติบอดี้ที่จัดหามาที่เรียกว่า LAAB (Evushield) และต่อไป ไวรัสถ้าเปลี่ยนแปลงไปถึง สายพันธุ์ย่อย BQ.1, BQ.1.1 หรือ XBB ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพน้อยลงไปอีก

การใช้แอนติบอดี้ ที่มีอยู่ในบ้านเราขณะนี้ควรให้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วภูมิต้านทานไม่ตอบสนอง ได้แก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผู้กินยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยยาหรือรังสีที่มีผลต่อภูมิต้านทาน มีอยู่เป็นจำนวนมากพอสมควร

แอนติบอดี้ LAAB ยังสามารถมาใช้ในการรักษา คล้ายกับแต่เดิมการให้พลาสม่า ในกลุ่มเสี่ยงที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หรือ ได้รับวัคซีน 1 หรือ 2 เข็ม เพราะระดับภูมิต้านทานอาจจะยังต่ำหรือไม่มี การให้แอนติบอดี้แต่เริ่มแรกเมื่อติดเชื้อ จะช่วยลดความรุนแรงของโรค และอัตราการเสียชีวิตลงได้

ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขเอง มี LAAB เพียงพอ ที่จะให้กับผู้ป่วยดังกล่าว ยาดังกล่าวมีความปลอดภัยสูง

และขณะนี้โรคอยู่ในขาขึ้น ผู้ป่วยในกลุ่มเปราะบางดังกล่าว จึงควรได้รับแอนติบอดี้เป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งเมื่อมีการติดเชื้อ ก็ควรได้รับ เพื่อการรักษาด้วยแอนตี้บอดี้ เพื่อลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต

ยาที่มีอยู่ขณะนี้ ควรจะรีบใช้ในระลอกนี้ ไม่ควรเก็บไว้ เพราะเมื่อไวรัสกลายพันธุ์ไปแล้ว ก็จะใช้ไม่ได้ผล หรือไม่มีประโยชน์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมอยง ชี้ โควิด 19  มีแนวโน้มขาลง อัตราเสียชีวิตใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟชบุ๊กส่วนตัว (Yong Poovorawan) 

'หมอยง' เผย 'โรคอุจจาระร่วงโนโรไวรัส' กำลังระบาด ส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าอาหารเป็นพิษ

นพ.ยง ภู่วรวรรณ เตือน "โรคอุจจาระร่วงโนโรไวรัส" ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม จะเป็นฤดูกาลระบาดของโรคอุจจาระร่วงโนโรไวรัส

หมอยง ชี้โควิดขาลง แต่จะอยู่กับเราตลอดไป

นพ. ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต

'หมอยง' ชี้เปิดเทอม - เลือกตั้งปลุกโควิด - 19 ระบาดเพิ่ม

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสเฟซบุ๊ก ระบุว่า โรคโควิด 19 ได้ปรับตัวเป็นโรคประจำฤดูกาล และสำหรับประเทศไทยจะเริ่มระบาดเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน

'หมอยง' ถูกนำภาพไปหลอกขายยา โพสต์เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และราชบัณฑิต โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว