'หมอยง' ชวนอีกรอบ! 'ผู้ติดโควิดซ้ำ' ตอบแบบสอบถามวิจัยครั้งที่ 2

16 ม.ค. 2566 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 งานวิจัยเกี่ยวกับการติดเชื้อซ้ำ

ขณะนี้ผมต้องการอยากได้ข้อมูลในผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด 19 2 ครั้ง การศึกษานี้ได้ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมของคณะแพทย์ศาสตร์เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะให้ได้จำนวนมากที่สุด นำมาวิเคราะห์

ขอเชิญชวน ผู้ที่ป่วยหรือติดเชื้อโควิด 2 ครั้ง กรุณาช่วยตอบแบบ สอบถามเพื่องานวิจัย โดยขอความร่วมมือตอบตามความเป็นจริง

ในปัจจุบัน โรคโควิด-19 ได้เริ่มมีการติดเชื้อซ้ำ หรือมีการติดเชื้อเป็นครั้งที่ 2 มากขึ้น ทางศูนย์ฯ จึงมีความสนใจที่จะศึกษาลักษณะของการติดเชื้อซ้ำของโรคโควิด-19 ครั้งที่ 2​

ในการศึกษานี้จะมีการให้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีการเก็บข้อมูลในรายละเอียดของท่านเพื่อนำไปวิเคราะห์ลักษณะทางประชากร เช่น ประวัติการฉีดวัคซีนก่อน และการติดเชื้อทั้ง 2 ครั้ง รวมทั้งความรุนแรงของโรค ในแต่ละครั้ง และผลที่เกิดขึ้นของการติดเชื้อซ้ำ เพื่อหาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซ้ำ หรือติดครั้งที่ 2

ดังนั้นขอเรียนเชิญท่านที่มีประวัติ เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เข้าร่วมตอบแบบสอบถามในกูเกิลฟอร์ม โดยผลการศึกษาวิจัยจะนำไปเผยแพร่ในภาพรวม แต่จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามนี้

แบบสอบถามอยู่ใน อยู่ใน QR code

หรือ web link https://forms.gle/yRByK5qNeKEX8KZB6

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform