10 มี.ค. 2566 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้ปวดข้อยุงลาย ชิกุนกันยา ซิกา
ในช่วงปีที่ผ่านมา มีการระบาดของไข้ปวดข้อยุงลาย ชิกุนกันยา และไข้ไวรัสชิกา เพิ่มมากขึ้น การระบาดของไข้ปวดข้อยุงลายตั้งแต่ปี พ.ศ 2561 เป็นต้นมา เกิดจากยุงลายบ้าน เช่นเดียวกับไข้เลือดออก จึงพบมากในเขตเมือง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ทำให้มีไข้ ผื่นขึ้น และปวดตามข้อ พบได้ทุกอายุแต่ในเด็กจะมีไข้ ออกผื่น อาการปวดข้อ อาจจะไม่เด่น ในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ อาการปวดข้อจะเป็นค่อนข้างรุนแรง และคงอยู่หลายสัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือนก็มี
การป้องกันที่สำคัญที่สุดคือป้องกันไม่ให้ยุงกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กำจัดลูกน้ำ ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด รวมทั้งใช้ยาทากันยุง และถ้ามีผู้ป่วย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เขตใดควรแจ้งให้สำนักอนามัย เพื่อช่วยทำลายยุงและแหล่งเพาะพันธุ์ลดการแพร่กระจายของโรค
ทางศูนย์ไวรัสได้ทำการศึกษามาโดยตลอด พบว่าการระบาดในปีนี้ ศูนย์พบเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจะน้อยกว่าในการระบาดปี 2562 ดังแสดงในรูป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ยังหนาวต่อเนื่องถึงปลายเดือน
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 17 - 31 ม.ค. 68
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 7 เตือนใต้ฝนตกหนัก อ่าวไทย-อันดามันคลื่นลมแรง
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 18 มกราคม 2568) ฉบับที่ 7 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลด 1-2 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ลมหนาวยังพัดแรง ใต้มีฝนเพิ่มตกหนักบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 13 - 27 ม.ค. 68
'หมอยง' เปิดข้อมูลไข้หวัด hMPV ระบาดในไทย เทียบกับปีก่อน
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า