'บิ๊กตู่' ซูฮกผลงานวิจัยชุดตรวจคัดกรองโรคไตระยะเริ่มต้นแบบพกพาของแพทย์ จุฬาฯ

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ชื่นชมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคไตแบบพกพาจากแพทย์จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

21 มิ.ย.2566 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่นชมความสำเร็จในการวิจัยพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคไตระยะเริ่มต้นแบบพกพา ของภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และทีมงาน จากทำการวิจัยโครงการพัฒนาระบบการคัดกรองโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้นในระดับปฐมภูมิด้วยชุดตรวจ albuminuria

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า จากสถิติในปี 2564 จากรายงานผู้ป่วยโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ว่า มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมากถึง 1,007,251 ราย การวิจัยโครงการฯ ดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวรส. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของชุดตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในระยะเริ่มต้น และพัฒนาแนวทางการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในรูปแบบเครื่องมือทดสอบ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point of care testing) ซึ่งประกอบด้วยชุดตรวจคัดกรองโรคไต ระบบบันทึกข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนผู้ป่วย การจัดเก็บ ประมวลและรายงานผลแบบอัตโนมัติ รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมการตรวจค่าการทำงานของไต และการแสดงแสดงผลค่าการตรวจ สามารถตรวจคัดกรองโรคไตได้ตั้งแต่ในระยะแรก นำไปสู่การวิจัยและการรักษาได้รวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนรู้ค่าอัลบูมิน (Albumin) ที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคไตได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีแนวโน้มมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการวิจัยพัฒนารูปแบบนวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคไตแบบพกพา จะช่วยยกระดับการเข้าตรวจรักษาทางสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มความมั่นคงในระบบสุขภาพ รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล และไม่สะดวกต่อการเดินทางไปรับบริการในโรงพยาบาล อีกทั้งยังสามารถนำชุดตรวจฯ ไปใช้ในภาคสนาม โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ขาดแคลนเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการได้อย่างสะดวก ทำให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจคัดกรองโรคไตได้มากยิ่งขึ้น

“นายกฯ ชื่นชมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสาธารณสุข นับเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษา พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบสุขภาพของไทยได้ สอดคล้องกับนโยบายทางสาธารณสุขของรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้ง เป็นอีกหนึ่งผลงานจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน” นายอนุชากล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จุฬาฯ' จับมือ 'ช่อง 7HD' สร้างสรรค์สื่อเพื่อการศึกษา

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ช่อง 7HD สร้างสรรค์สื่อเพื่อการศึกษาและสังคมยั่งยืน ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สุดคึกคัก มีคณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหาร ผู้ผลิตสื่อในแวดวงบันเทิง ดนตรี กีฬา และแฟชั่น ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามในครั้งนี้มากมาย

'หมอยง' เปิดข้อมูลไข้หวัด hMPV ระบาดในไทย เทียบกับปีก่อน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

จุฬาฯ เปลี่ยน 'สยาม' ให้เป็น 'สนาม' เด็กเล่น จัดงานวันเด็กสยาม 'CHULALAND แดนเด็กเล่น' พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยผ่านกิจกรรมสนุกมากมาย

นางสาวศุภมาศ อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงาน CHULA LAND แดนเด็กเล่น ซึ่งจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น. ที่สยามสแควร์

Siamsquare จัดเวที countdown ใหญ่ ให้วงเยาวชนไทยได้เป็นดาว!! ตอกย้ำการเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของดาวดวงใหม่ของคนไทยทุกดวง

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมส่งท้ายปี 2024 กับเยาวชนและคนไทย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) , อาจารย์ ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย