Healthy + Active Meeting ประชุมอย่างมีคุณภาพ งานเดิน สุขภาพดี

ทุกวันนี้ “การประชุม” กลายเป็นกิจกรรมหลักในทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ยิ่งมีการประชุมบ่อยครั้ง ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ การนั่งประชุมติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เคลื่อนไหวร่างกายเพียงน้อยนิด บวกกับการรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงระหว่างการประชุม ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงกับปัญหาน้ำหนักเกิน ที่นำไปสู่โรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)   ตลอดจนอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น โรคฮิตอย่างออฟฟิศซินโดรม ที่หลายคนกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ การปรับเปลี่ยนการประชุมที่เป็นมิตรกับสุขภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

เครือข่ายคนไทยไร้พุง สานพลังราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย จากการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน Healthy + Active Meeting Grand Opening “สุขภาพดีได้ในห้องประชุมเปิดแนวทางปฏิบัติการจัดประชุมที่ดีต่อสุขภาพ พร้อมเปิด 4 นวัตกรรมช่วยลดความเสี่ยงต่อการลดพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มุ่งส่งเสริมการจัดประชุมแบบสุขภาพดี  ณ ห้องประชุม 201 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงแนวทางในการขับเคลื่อนการจัดประชุมที่ดีต่อสุขภาพตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกว่า “เราอยากทำให้ชั่วโมงการประชุมเป็นชั่วโมงที่ดีต่อสุขภาพ มีการขยับเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นด้วยการยืนประชุมสลับกับการนั่ง  รับประทานอาหารสุขภาพในช่วงพักหรือระหว่างการประชุมในปริมาณที่เหมาะสม งดเหล้า งดบุหรี่ รวมถึงดูแลเรื่องสุขภาพจิตและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้เราจึงพัฒนา 4 นวัตกรรม Healthy + Active Meeting เครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการนำเสนอการจัดประชุมที่ดีต่อสุขภาพขึ้น ซึ่งทางเครือข่ายคนไทยไร้พุง ได้ทดลอง ทดสอบมาระยะหนึ่งพร้อมนำมาเผยแพร่ ประกอบไปด้วย 1. คู่มือส่งเสริมการจัดประชุมที่ดีต่อสุขภาพ 2.ระบบจัดการวาระการประชุม แจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาหยุดพัก พร้อมคลิปวิดีโอท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม 3.แอปพลิเคชั่นคำนวณพลังงานอาหารว่างที่เหมาะสมต่อสุขภาพ 4.หลักสูตรอบรม ให้ความรู้ คำปรึกษาและสร้างความรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามบริบทขององค์กร”

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานนท์ ประธานเครือข่ายไร้พุง  กล่าวว่า อาหารเบรคเป็นตัวเลือกที่จัดมาช่วยลดความเครียด และความหิวระหว่างการประชุม  “ของว่างที่เสิร์ฟกันส่วนใหญ่มักจะมีแคลอรี่สูง บางเมนูมีปริมาณสูงพอๆกับการกินอาหาร1 มื้อ ยิ่งถ้าเป็นคนทานครบ3 มื้อเท่ากับเราเติมส่วนเกินเข้าไปเยอะ ก็จะทำให้อ้วน ฉะนั้นหากปรับเปลี่ยนเมนูของว่างให้มีแคลอรี่ต่ำ และหาจัดเวลาลุกขึ้น Exercise บ้างในท่าเคลื่อนไหวที่เหมาะสม ซึ่งหากองค์กรเข้าใจและนำปฏิบัติใช้ ถือเป็นการส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีพร้อมกับการมีสุขภาพจิตดีด้วย” ประธานเครือข่ายคนไทยไร้พุง กล่าวเสริมถึงการทำงานนี้ว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือการสานพลังภาคีเครือข่ายร่วมกันผลักดันให้เกิดการจัดประชุมที่ดีต่อสุขภาพและเกิดการขยายผลไปทั่วประเทศ

ด้าน รศ.เพชร รอดอารีย์ รองประธานเครือข่ายคนไทยไร้พุง และหัวหน้าโครงการส่งเสริมการประชุมที่ดีต่อสุขภาพ  ได้เสนอ 3 ทางรอดในการลดพุง ลดโรค ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที  1.ควรขยับร่างกาย 3-5 นาที ทุก 50-60 นาที ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลัง 2. รับประทานอาหารว่างที่เสิร์ฟระหว่างการประชุมไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ควรได้รับต่อ 1 วัน หรือ ไม่เกิน 200 กิโลแคลอรี  3. กำหนดวาระการประชุมให้แน่นอน มีเวลาเริ่มต้น พัก และสิ้นสุด เพื่อลดความเครียดและช่วยกระตุ้นให้เกิดการขยับเขยื้อนร่างกาย ไม่นั่งนานจนเกินไป

โดยภายในงาน Healthy +Active Meeting Grand Opening  สุขภาพดีได้ในห้องประชุมได้มีการเปิดตัวภาคีเครือข่าย อาทิ  สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สมาคมโรงแรมไทย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย งานโภชนาการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมถึง กลุ่มผู้ประกอบการอาหาร ได้นำชุดอาหารว่าง ที่มีการเปลี่ยนสูตรเพื่อสุขภาพ มาออกบูทพร้อมให้ชิม เช่น ครัวการบินไทย (พัฟฟ์แอนด์พาย) กาโตว์เฮ้าส์ เดลิเค้ก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ สำหรับ องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน บริษัท รวมทั้งผู้สนใจส่งตัวอย่างอาหารว่างมารับการตรวจประเมิน เพื่อขอรับป้ายกำกับ “อาหารว่างตามคำแนะนำเพื่อสุขภาพ” สามารถติดตามและสอบถามข้อมูลได้ทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ เครือข่ายไร้พุง www.raipoong.com และ อีเมล [email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming