พท.เปิดสเปกนอมินีแม้ว


เพิ่มเพื่อน    

  "นิพิฏฐ์" เชื่อ คสช.คลายล็อกพรรคการเมือง 3 ขั้น ทั้งหมดยังอยู่ในกรอบระยะเวลาของโรดแมป   ติงใช้ ม.44 ไม่เกรงใจประชาชนที่ลงประชามติ รธน.เลย  ส่วนเพื่อไทยจี้ปลดล็อกเร็วๆ อยากเลือกหัวหน้าพรรคแล้ว "วรชัย" วางสเปกต้องเป็นคนสู้กับเผด็จการและมีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ ถ้าไม่มีพรรคลำบากแน่

    นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ระบุจะปลดล็อกพรรคการเมือง หลังจากประกาศบังคับใช้กฎหมายการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.แล้วว่า รัฐบาลคงดูเงื่อนไขระยะเวลาของโรดแมปเลือกตั้งแล้ว ส่วนตัวเห็นว่า คสช.จะคลายล็อกเป็น 3 ขั้นคือ 
    1.ก่อนกฎหมายทั้งสองฉบับจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาอาจจะคลายล็อกให้พรรคการเมืองสามารถจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เลือกกรรมการบริหารพรรค แก้ไขหรือยกร่างข้อบังคับพรรคการเมือง โดยทุกพรรคการเมืองต้องทำเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายพรรคการเมืองใหม่และรัฐธรรมนูญปัจจุบัน และเมื่อกฎหมายทั้งสองฉบับประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ยังไม่มีผลบังคับใช้ในวันรุ่งขึ้นได้เหมือนเช่นกฎหมายปกติ เพราะจะต้องหน่วงเวลาไว้อีก 90 วัน ถึงจะมีผลบังคับใช้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด 
    2.เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว คสช.อาจใช้มาตรา 44 หรือ พ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ. เพื่อให้ กกต.สามารถแบ่งเขตเลือกตั้งได้ ก่อนที่จะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้เพื่อให้พรรคการเมืองมีเวลาในการเตรียมตัวในการทำไพรมารีโหวต 
    3.เมื่อกฎหมายทั้งสองฉบับมีผลบังคับใช้หลังจาก 90 วันแล้ว ก็เริ่มต้นกระบวนการทำไพรมารีโหวต คือการคัดเลือกผู้สมัครเบื้องต้นในแต่ละเขตเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งจะค่อนข้างสับสนวุ่นวาย เพราะเป็นระบบใหม่ที่เพิ่งใช้ แต่ทั้งหมดยังอยู่ในกรอบระยะเวลาของโรดแมป หาก คสช.ปลดล็อกเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเรียกฟื้นความเชื่อมั่นด้านต่างๆ ได้มากขึ้น
    นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า แปลกใจ ทำไมถึงจะต้องรอ เพราะรัฐธรรมนูญก็ประกาศใช้แล้ว พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ก็ประกาศใช้แล้ว เหลือแค่ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.เท่านั้น แต่กลับเอามาเป็นตัวประกันอีก ขณะนี้สังคมสับสนไม่รู้ว่าระหว่างรัฐธรรมนูญกับมาตรา 44 สิ่งไหนใหญ่กว่ากัน เพราะวันนี้กลายเป็นว่ารัฐธรรมนูญไม่มีความหมายเลย ใช้แต่มาตรา 44 เคยคิดถึงหรือเกรงใจประชาชนที่ต้องออกมาลงประชามติเพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านไปบ้างหรือไม่
    ด้านนายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลเตรียมหาทางแก้ไขข้อติดขัดจากคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 รวมถึงเตรียมคลายล็อกทางการเมือง เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง คสช.บริหารแบบเผด็จการมา 4 ปีแล้ว ประเทศไม่ก้าวหน้าไปไหน การเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีความสำคัญชี้วัดว่า ประชาชนจะเลือกพรรคที่ฝักฝ่ายเผด็จการ หรือพรรคที่ยืนข้างประชาชนที่ต่อต้านเผด็จการมาตลอด 
    เขากล่าวว่า เมื่อ คสช.เปิดโอกาสให้ทำกิจกรรมได้ พรรคเพื่อไทยก็ต้องเลือกผู้นำพรรคคนใหม่ และจากการพูดคุยกับอดีต ส.ส.และแกนนำพรรคส่วนหนึ่ง รวมถึงสอบถามความต้องการประชาชน มีความเห็นตรงกันว่า คุณสมบัติของผู้นำพรรคต้องยืนฝ่ายประชาธิปไตยต่อสู้กับเผด็จการเคียงข้างประชาชนมาตลอด และต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง เพราะนี่คือจุดแข็งของพรรค ตั้งแต่สมัยไทยรักไทย พลังประชาชน จนมาถึงสมัยเพื่อไทย ที่ประชาชนให้ความเชื่อมั่นต่อพรรค 
    "ใครที่มาเป็นผู้นำแล้วไม่มีสองอย่างนี้ พรรคคงจะเดินด้วยความยากลำบาก เพราะการจะมาเป็นผู้นำพรรค อดีต ส.ส.และประชาชนที่สนับสนุนพรรคต้องให้การยอมรับ ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยมีความเป็นอิสระ ใครจะมาเป็นหัวหน้าพรรคต้องได้รับการคัดเลือกจากสมาชิก ไม่มีใครสามารถสั่งการได้" นายวรชัยกล่าว
    นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีกลุ่มนักการเมืองรุ่นเก่าเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ โดยนายชวน ชูจันทร์ ผู้จดแจ้งตั้งพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เป็นผู้เชิญชวน แต่ยอมรับว่านักการเมืองกลุ่มนี้มาเพราะบุคคลในรัฐบาลคสช.ว่า เท่ากับนายชวนยอมรับว่านักการเมืองอาวุโสเหล่านั้นเข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐผ่านรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ จึงไม่น่าแปลกใจอีกต่อไปว่าพรรคพลังประชารัฐคือพรรคการเมืองแกนหลักของ คสช.ในการที่จะสืบทอดอำนาจการเมืองเพื่อสนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ในสมัยหน้า ส่วนพรรคการเมืองเฉพาะกิจอื่นๆ ที่ตั้งขึ้นมาใหม่แล้วสนับสนุนบ พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งแต่ในมุ้ง ล้วนแต่เป็นพรรคบริวารลิ่วล้อของ คสช.ทั้งสิ้น
    เขากล่าวว่า ถ้านักการเมืองเก่ามาอยู่ด้วยแล้วยังทำเหมือนเดิม เพราะนายชวนไม่เคยรู้ถึงธาตุแท้นักการเมืองเก่าบางคน และหลายคนที่เข้าไปร่วมพรรคพลังประชารัฐ เพราะคาดว่าตัวเองหรือภรรยาจะหลุดพ้นข้อกล่าวหาจาก ป.ป.ช. และสามารถทำมาหากินจากงบประมาณแผ่นดินได้ การที่นายชวนออกมาขอกำลังใจนั้น ขอให้นายชวนประสบความสำเร็จตามอุดมการณ์ที่ใฝ่ฝัน แต่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยนับแต่มีการตั้งพรรคการเมืองเพื่อสืบทอดอำนาจทางการเมืองของคณะทหาร ไม่เคยมีพรรคใดประสบความสำเร็จ แต่พรรคล้วนตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจชั่วคราว เพื่อผลประโยชน์ของคณะทหารยุคนั้นๆ ทั้งสิ้น ไม่เคยมีพรรคใดอายุยืนกว่าต้นมะละกอเลยแม้แต่พรรคเดียว
    "นายชู ชูจันทร์ พี่ชายของนายชวน ชูจันทร์ บอกผมว่านายชวนเรียนหนังสือเก่ง คลั่งไคล้การเมืองมาตั้งแต่หนุ่ม เคยลงสมัคร ส.ส. ส.ว.ทั้งที่กรุงเทพฯ และลำปาง 4-5 ครั้ง แต่ไม่เคยได้ ตอนนี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ก็โทร.มาสั่งให้งดสัมภาษณ์ ตอนนี้ก็เงียบๆ ไป นายชวนเหมาะที่จะเป็นอาจารย์มากกว่า นายชูพี่ชายเขาบอกผมเช่นนี้ ผมจึงเกรงว่านายชวน ในฐานะผู้จดแจ้งจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐ จะผิดหวังครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพราะแนวคิดและอุดมการณ์พรรคพลังประชารัฐกับพฤติกรรมของรัฐบาลในขณะนี้ที่เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ยกับนักการเมืองรุนเก๋ากึ๊ก เปรียบเสมือนเส้นขนานของอุดมการณ์ที่ไม่อาจมาบรรจบกันได้ระหว่างความจริงกับความฝันของนายชวน” นายวัชระกล่าว
    วันเดียวกันนี้ นายประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยืนยันว่า กกต.พร้อมจัดการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือเลือกตั้งใหญ่ก่อน ถึงแม้จะเป็นแค่ กกต.รักษาการ แต่ก็ยังมีอำนาจเต็มที่ และมีการวางแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้สามารถจัดการเลือกตั้งได้ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำหนด แม้จะเป็น กกต.ชุดใหม่ ก็สามารถทำได้
    กกต.ผู้นี้กล่าวว่า ส่วนปัญหาการแบ่งเขตเลือกตั้งและการทำไพรมารีโหวตว่าควรจะใช้มาตรา 44 เพื่อแก้ไขให้ทันกรอบเวลาโรดแมปเลือกตั้งเป็นเพียงเครื่องมือ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น หากมีการเลือกตั้งในปีหน้า จะต้องแก้ปัญหาอุปสรรค 4 ข้อตามที่มีการสรุปในที่ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการเลือกตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องเร่งรัดแก้ไขภายในเดือนนี้ เพราะยังมีเวลาพอในการดำเนินการ
    นายประวิชยืนยันด้วยว่า กกต.ไม่ได้มีความเห็นให้ยกเลิกหรือไม่ให้ทำไพรมารีโหวต เพราะมีปัญหาเรื่องกรอบเวลา แต่ กกต.ได้เสนอต่อที่ประชุมต่อคณะทำงานด้านเทคนิคจัดการเลือกตั้งว่าหากจะมีการทำไพรมารีโหวต ก็จะต้องดำเนินการให้ทันตามเวลาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ว่าจะต้องแบ่งเขตอย่างไร ซึ่งเรื่องไพรมารีโหวตเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาตลอดว่าใช้กับประเทศที่ใช้ระบบประธานาธิบดี โดยมีกำหนดเวลาชัดเจนว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ จะต้องใช้เวลาทำร่วมปี แต่หากจะใช้มติที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคแทนโดยอ้างว่าเป็นสาขาพรรคที่เป็นตัวแทนประชาชน ไม่น่าจะทำได้ เพราะผิดวัตถุประสงค์
    น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรืออุ๊งอิ๊ง ลูกสาวคนเล็กของนายทักษิณ ชินวัตร โพสต์ภาพลงเฟซบุ๊ก “Ing Shinawatra” ขณะกำลังยืนกอดบิดาที่หน้าร้านอาหารแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน โดยทั้งคู่ต่างใส่เสื้อสีเดียวกัน พร้อมระบุว่า “กลับบ้านมาเปลี่ยนเสื้อให้อุ่นขึ้น บอกพ่อเจอกันร้านอาหารเลยนะคะ พอเดินมาถึงร้าน เอ๊ะ! ทำไมพ่อเปลี่ยนเสื้อใส่สีเหมือนลูก? พ่อบอก ตั้งใจเปลี่ยนมาให้เข้ากัน จะได้เดินไม่หลงกัน ... มีมุมน่ารักกวนๆ ปนๆ กันนะเนี่ยยยย”.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"