นักวิชาการ ไขคำตอบน้ำเต็มอ่างฯป่าสัก บริหารผิดพลาดจริงหรือ ยันน้ำน้อยกว่าปี 54


เพิ่มเพื่อน    

30 ก.ย.64 - ผศ.ดร.ณัฐ มาแจ้ง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงกรณีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เร่งระบายน้ำว่า น้ำเต็มอ่างฯป่าสัก บริหารผิดพลาดจริงหรือ??? และชุมชนที่เสี่ยงน้ำท่วมตามแนวลำน้ำเจ้าพระยามีที่ไหนบ้าง

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ความจุที่ระดับเก็บกักปกติ 785 ล้าน ลบ.ม. และที่ระดับสูงสุด 960 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 2,239 ล้าน ลบ.ม. หรือเกือบ 3 เท่า ของปริมาณเก็บกักปกติ จึงทำให้ในรอบ 12 ปี ที่ผ่านมามีน้ำเต็มสูงกว่าระดับเก็บกักสูงสุดถึง 5 ปี ได้แก่ ปี พ.ศ. 2560 2559 2556 2554 และ 2553 ซึ่งจะเห็นว่าเกิดขึ้นเป็นประจำ

ดังนั้น ในปีนี้ (2564) เป็นปีที่ปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยจึงทำให้อ่างฯป่าสัก มีน้ำเต็มอ่างจึงเป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้และไม่ผิดปกติแต่อย่างใด สำหรับช่วงนี้ การปล่อยน้ำออกจากอ่างฯป่าสัก ไม่ควรเร่งปล่อยจนทำให้เกิดปัญหากับพื้นที่ด้านท้ายน้ำของอ่างเก็บน้ำมากเกินจำเป็น ตัวอย่างเช่น ในปีที่ผ่านมาอ่างเก็บน้ำลำตะคอง จ.นครราชสีมา และอ่างหนองปลาไหล จ.ระยองก็มีน้ำไหลลงอ่างช่วงปลายฤดูฝนเป็นจำนวนมากจนน้ำเกินระดับเก็บกัก แต่ผู้บริหารจัดการอ่างก็ตัดสินใจที่จะเก็บน้ำไว้ใช้โดยไม่เร่งปล่อยน้ำออกจากอ่าง และทำให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้งมากกว่าที่ผ่านมาอย่างมาก 

สำหรับชุมชนที่เสี่ยงน้ำท่วมตามแนวลำน้ำเจ้าพระยามีทั้งหมด 14 พื้นที่ และมีความเสี่ยงกับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่อัตราการไหลต่างกัน โดยตั้งแต่ชัยนาทถึงอ่างทางถ้าน้ำมากกว่า 2,300 ลบ.ม./วินาที จะเริ่มมีปัญหาน้ำท่วม แต่บริเวณ อ.บางบาล อ.เสนา จ.อยุธยา เสี่ยงน้ำท่วมตั้งแต่ 700-1,000 ลบ.ม.วินาที ที่ไหลผ่านบริเวณนั้น ซึ่งวันนี้น้ำที่ C.13 มีอัตราการไหลเกือบคงที่เท่ากับ 2,775 ลบ.ม./วินาที ซึ่งเกือบเท่ากับความสามารถสูงสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะสามารถรับได้ที่ 2,800 ลบ.ม./วินาที จึงทำให้เกิดผลกระทบกับชุมชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำตั้งแต่จังหวัดชัยนาทจนถึงอยุธยา ดังรูป ซึ่งจะต้องมีการอพยพประชาชนและเก็บสิ่งของขึ้นที่สูงเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำที่กำลังไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง

ขณะนี้ น้ำในแม่น้ำปิงที่ไหลลงมารวมกันกับแม่น้ำน่านที่ จ.นครสวรรค์ มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน และน้ำจากแม่น้ำน่านที่ อ.ชุมแสง ใกล้จะถึงจุดสูงสุดภายใน 1-2 วันนี้

ดังนั้น น้ำจากภาคเหนือที่จะไหลลงมาสู่แม่น้ำเจ้าพระยาจะเข้าสู่จุดสูงสุดภายในวันนี้ ซึ่งจะทำให้น้ำที่จะระบายลงสู่ลำน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเริ่มลดลงภายใน 2-3 วันนี้ ซึ่งจะทำให้การเกิดน้ำท่วมตามแนวลำน้ำเจ้าพระยาที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่นอกคันกั้นน้ำจะท่วมไม่นานจะเริ่มลดลง ซึ่งปีนี้น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาน้อยกว่าปี 54 แต่น้ำที่ปล่อยท้ายเขื่อนมากกว่า ชุมชนด้านท้ายเขื่อนจะต้องระวัง แต่ยังคงย้ำเช่นเดิมว่า น้ำยังน้อยกว่าปี 54 มาก จะไม่มีน้ำบ่าตามทุ่งจำนวนมากแล้วไหลลงตอนล่างท่วมกรุงเทพเหมือนปี 54


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"