ไต้หวันชี้สถานการณ์ตึงเครียดสุด เชื่อจีนรุกรานเต็มรูปแบบได้ใน4ปี


เพิ่มเพื่อน    

รัฐมนตรีกลาโหมของไต้หวันระบุ ความตึงเครียดระหว่างจีนกับไต้หวันขณะนี้อยู่ในจุดที่เลวร้ายที่สุดในรอบมากกว่า 40 ปี หลังจากจีนส่งเครื่องบินรบบินป่วนเขตป้องกันทางอากาศของไต้หวันเกือบ 150 ลำในช่วงเวลา 4 วัน ชี้จีนสามารถรุกรานไต้หวันอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2568

    เริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันชาติจีน จนถึงวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม กองทัพอากาศของจีนส่งเครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิดที่สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ และเครื่องบินชนิดอื่นๆ รวมแล้ว 148 ลำ บินในเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (เอดีไอแซด) ของไต้หวัน โดยเฉพาะในวันจันทร์มีเครื่องบินจีนรุกล้ำเอดีไอแซดมากเป็นประวัติการณ์ถึง 56 ลำ โดยในวันอังคาร รอยเตอร์รายงานว่ามีเครื่องบินจีนรุกล้ำเพียง 1 ลำ

    เมื่อวันพุธ ชิว กั่๋วเชิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไต้หวัน เข้าให้การต่อคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ทบทวนแผนการใช้จ่ายทางทหารเพิ่มเติมมูลค่า 8,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลา 5 ปี สำหรับการผลิตอาวุธเองในประเทศ รวมถึงมิสไซล์และเรือรบ เขาถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดทางทหารข้ามช่องแคบไต้หวันในเวลานี้ด้วย โดยชิวตอบว่า สถานการณ์ตอนนี้ "ร้ายแรงที่สุด" ในรอบมากกว่า 40 ปี

    "สำหรับกองทัพ สถานการณ์ปัจจุบันเลวร้ายที่สุดในรอบมากกว่า 40 ปีนับตั้งแต่ผมเป็นทหาร" ชิวกล่าวต่อสมาชิกสภา พร้อมกับเตือนว่า ความประมาทเพียงเล็กน้อย หรือการคำนวณผิด อาจจุดชนวนวิกฤติได้ และจีนสามารถเปิดฉากรุกรานเกาะไต้หวันอย่างเต็มรูปแบบภายในเวลา 4 ปี

     รัฐมนตรีผู้นี้กล่าวว่า ณ ตอนนี้จีนก็สามารถทำได้ แต่จีนจะไม่เริ่มก่อสงครามง่ายๆ จีนต้องคำนวณว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด และต้องการบรรลุผลในแบบไหน "หลังปี 2568 ต้นทุนและความสูญเสียจะลดต่ำลงเหลือน้อยที่สุด" ชิวกล่าวเสริมโดยไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม

    แม้ความตึงเครียดขณะนี้จะก่อความกังวลแก่ไต้หวันและนานาชาติ แต่รอยเตอร์กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่รุนแรงเท่ากับช่วงวิกฤติก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันเมื่อปี 2539 ที่เกือบบานปลายเป็นสงคราม เมื่อจีนยิงทดสอบมิสไซล์หลายลูกในน่านน้ำใกล้กับไต้หวัน เพื่อหวังข่มขู่ไม่ให้ชาวไต้หวันเลือกลี เต็งฮุย ที่จีนมองว่าสนับสนุนความคิดประกาศเอกราช สุดท้ายลีชนะการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาด

    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ซึ่งเคยกล่าวถึงการผนวกไต้หวันว่าเป็นสิ่งที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" ก็เพิ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์กับไต้หวันในจดหมายที่ส่งถึงผู้นำพรรคฝ่ายค้านของไต้หวันคนใหม่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าเลวร้าย

    จีนเพิ่มการกดดันทางทหาร, ทางเศรษฐกิจ และการทูต ต่อไต้หวันมากขึ้นนับตั้งแต่ไช่ อิงเหวิน ผู้ประกาศว่าไต้หวันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ "จีนเดียว" ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2559 ไช่กล่าวเมื่อวันพุธประณามการกระทำของจีนว่า สร้างความเสียหายต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคนี้อย่างร้ายแรง

    ที่กรุงวอชิงตัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวตอบนักข่าวเมื่อวันอังคารเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดข้ามช่องแคบไต้หวันว่า เขาได้หารือกับประธานาธิบดีสีเกี่ยวกับประเด็นไต้หวัน โดยพวกเขาเห็นพ้องกันว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับไต้หวัน

    ต่อมา เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวอธิบายเพิ่มเติมว่า ประธานาธิบดีไบเดนกล่าวถึงการสนทนาทางโทรศัพท์เมื่อเดือนที่แล้ว ไม่ใช่การพูดคุยกันครั้งใหม่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"