ขบวนองค์กรชุมชนจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ  10 ปี ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม


เพิ่มเพื่อน    

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน/ พอช.จัดสัมมนาขบวนองค์กรชุมชนกับการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ  และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม  ระยะ 10 ปี (พ.ศ.2562-2571) เป้าหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรม  ลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ  ‘เอ็นนู’ ประธานคณะจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสฯ เผยจะนำข้อเสนอและความเห็นของผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนไปจัดทำร่างยุทธศาสตร์ให้แล้วเสร็จภายในกันยายนนี้  และจะนำเสนอ ครม.-สนช.พิจารณาได้ภายในช่วงต้นปีหน้า

                ตามที่รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ  6 ด้าน  ประกอบด้วย 1.ด้านความมั่นคง  2.ด้านความสามารถในการแข่งขัน  3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์  4.ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม  5. ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  และ 6.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ  โดยให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ  เพื่อนำยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านไปปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ต่อไป

                ล่าสุดวันนี้ (13 กรกฎาคม)  ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  มีการจัดสัมมนาขบวนองค์กรชุมชนกับการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ  และการระดมความเห็นจากผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศ  เพื่อนำมาจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 4  การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม  ระยะ 10 ปี  (พ.ศ.2562-2571) โดยมีผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศ  และคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคเข้าร่วมประมาณ  60 คน

นายเอ็นนู  ซื่อสุวรรณ  ประธานคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม   กล่าวว่า  เป้าหมายการพัฒนาประเทศโดยรวมตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20  ปี  ประกอบด้วย 1.ประเทศชาติมั่นคง  2.เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง  3.ประชาชนมีความสุข  4.สังคมเป็นธรรม  และ 5.ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน

ส่วนยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 4  การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม  มีขอบเขตเกี่ยวกับผู้สูงวัย  ความยากจน  คนด้อยโอกาส  บริการสาธารณสุข  ประชารัฐ  ตลาดชาวบ้าน  เศรษฐกิจฐานราก  เศรษฐกิจพอเพียง  ความเข้มแข็งของสังคม   โดยมีเป้าหมายระยะยาว  คือ  1.สร้างความเป็นธรรม  และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ  2.กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม  เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นกำลังการพัฒนาประเทศในทุกระดับเพื่อสร้างความสมานฉันท์  และ 3.เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาตนเองและการจัดการตนเองเพื่อสร้างสังคมคุณภาพ

                        นายเอ็นนู  ซื่อสุวรรณ  ประธานคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสฯ

ส่วนประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 4  มี 4 ประเด็นหลัก  คือ 1.การลดความเหลื่อมล้ำ  สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ  เช่น  การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก  การปฏิรูประบบภาษีและการคุ้มครองผู้บริโภค  กระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร  ฯลฯ  2.การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ  สังคม  และเทคโนโลยี  เช่น  การพัฒนาศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆ ไปสู่ภูมิภาค  กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละกลุ่มจังหวัดในมิติต่างๆ  จัดระบบเมืองที่เอื้อต่อการสร้างชีวิตและสังคมที่มีคุณภาพและปลอดภัย  เพื่อตอบสนองต่อสังคมสูงวัยและการขยายตัวของเมืองในอนาคต  ฯลฯ

 3.การเสริมสร้างพลังทางสังคม  เช่น  สร้างสังคมที่เข้มแข็ง  แบ่งปัน  ไม่ทอดทิ้งกัน  และมีคุณธรรม  การรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ  ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและบทบาทของสตรีในการสร้างสรรค์สังคม  ฯลฯ  และ 4.เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาตนเองและการจัดการตนเอง  เช่น  ส่งเสริมการปรับพฤติกรรมในระดับครัวเรือน  ให้มีขีดความสามารถในการวางแผนชีวิต  สุขภาพ  ครอบครัว  การเงิน  และอาชีพ  สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างประชาธิปไตยชุมชน

นายเอ็นนูกล่าวในตอนท้ายว่า  ข้อเสนอของผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนที่ได้จากการสัมมนาในวันนี้จะนำไปรวมกับข้อเสนอจากหน่วยงานต่างๆ  เพื่อนำไปจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมต่อไป  โดยคาดว่าจะจัดทำร่างฯ ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้  หลังจากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาและอนุมัติ  และเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ภายในช่วงต้นปี 2562 

                                                                         นายอัมพร  แก้วหนู  รอง ผอ.พอช.

นายอัมพร  แก้วหนู  รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  กล่าวว่า  การวางแผนงานเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง  หากข้อมูลไม่ถูกต้องก็จะทำให้การวางแผนงานผิดพลาด  นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงสถานการณ์สำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในช่วง 10 ปีข้างหน้าเพื่อนำมาใช้ประกอบในการวางแผน  เช่น ประชากรสูงอายุของประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้น  ในขณะที่คนเกิดใหม่จะน้อยลง  ส่งผลให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะปิดตัวลง  โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน,   โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ  และการเชื่อมโยงทางรถไฟอาเซียนและอินเดีย  ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น,   การนำหุ่นยนต์มาทดแทนแรงงานในโรงงาน  ทำให้จำนวนคนตกงานเพิ่มมากขึ้น  คนงานถูกกดค่าแรง  เกิดปัญหาอื่นๆ ติดตามมา,  จำนวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่มาเมืองไทยเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 40 ล้านคน  ซึ่งจะส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ฯลฯ

 

ในช่วงบ่ายของการสัมมนา   ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศได้แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อเสนอความเห็น  และจะนำความเห็นและข้อเสนอของแต่ละกลุ่มมาประมวลผลและสังเคราะห์  และนำเสนอต่อคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม  เพื่อนำไปรวบรวมจัดทำเป็นร่างยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 4 (ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม) ต่อไป

สำหรับข้อเสนอและความเห็นของผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนที่เข้าร่วมสัมมนามีทั้งหมด  5  ด้าน  ดังนี้  1.การสื่อสาร  เทคโนโลยีสารสนเทศ  องค์ความรู้  ข้อมูลข่าวสาร  มีข้อเสนอ  เช่น  จัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศระดับตำบล  เป้าหมาย 6,000 ตำบล  ภายใน 10 ปี  ฯลฯ

2.การถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร การจัดระบบเมืองที่เอื้อต่อการสร้างชีวิตและสังคมที่มีคุณภาพ  มีข้อเสนอ   เช่น  กระจายการถือครองที่ดิน  ออกกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดิน  และผลักดันให้มีการใช้กฎหมายอย่างแท้จริง, มีการสำรวจข้อมูลที่ดินทุกประเภทก่อนที่รัฐจะประกาศใช้  ฯลฯ

3.สร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย  ทุกเพศภาะ  และทุกกลุ่ม  มีข้อเสนอ  เช่น  ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมระบบสวัสดิการชุมชน, แต่งตั้งคณะทำงาน พ.ร.บ.ส่งเสริมระบบสวัสดิการฯ, การขับเคลื่อนตามรัฐธรรมนูญ  เรื่องสิทธิชุมชน  ฯลฯ

4.การสร้างสังคมเข้มแข็งที่แบ่งปัน  ไม่ทอดทิ้งกัน  และมีคุณธรรม  มีข้อเสนอ  เช่น  ส่งเสริมการใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่และการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย, พัฒนาผู้นำชุมชนในมิติต่างๆ  และพัฒนาให้เป็นผู้นำมืออาชีพ, สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

5.ส่งเสริมการปรับพฤติกรรมในครัวเรือน ให้มีขีดความสามารถในการวางแผนชีวิต  สุขภาพ  ครอบครัว  งานเงิน  และอาชีพ  มีข้อเสนอ  เช่น  สร้างเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร  คือ  เกษตร  แปรรูป  ท่องเที่ยว  และการตลาด  โดยมีฐานข้อมูลการผลิตและการตลาดให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทุกตำบล,  เสนอให้มีหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องการจัดทำฐานข้อมูลโดยตรง  โดยมีบทบาทร่วมกับกระทรวงพาณิชย์   เชื่อมโยงข้อมูลด้านการผลิต  การตลาด,  สร้างระบบเครือข่าย  การรวมกลุ่มผลิต  แปรรูป  จำหน่าย  มีศูนย์กระจายสินค้าระดับจังหวัด  ฯลฯ

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"