เปิดพื้นที่โชว์พลังรุ่นใหม่ กิจกรรมโคราชยิ้ม 2018 บริเวณลานอนุสรณ์สถานวีรกรรม ข้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม)


เพิ่มเพื่อน    

 

นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่จัดขึ้นในช่วงเปิดเทอมที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์สำหรับ “เทศกาลงานยิ้มโคราช 2018” ณ บริเวณลานอนุสรณ์สถานวีรกรรม ข้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อรณรงค์สื่อสารสร้างการเรียนรู้ให้เด็ก เยาวชน ครอบครัวและคนในชุมชนได้เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน และปลูกจิตสำนึกให้เห็นเกิดความเสียสละและเห็นแก่ส่วนรวม 

               

โดยมีนายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน และ น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมต้อนรับและกล่าวรายงาน

               

นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า กิจกรรมครั้งนี้เปิดให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้มาแสดงออกถึงความสามารถ เพื่อให้เด็กๆ ที่มาร่วมงานมีความสุข โดยวันนี้ผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองต้องคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะเปิดเวทีให้เด็กและเยาวชนได้มาแสดงออก เพราะยุคสมัยนี้โลกเปลี่ยนไปเร็วมากโดยเฉพาะโลกแห่งเทคโนโลยีแลไอทีเข้ามามีบทบาทอย่างมากลูกหลานก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

               

ดังนั้นจะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่นี้ได้มีโอกาสใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้ได้ดีที่สุด และความคิดสร้างสรรค์นี้จะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้ สิ่งสำคัญคือผู้ใหญ่ต้องเข้าใจเด็กมีความอดทนและเปิดโอกาสให้ลูกหลานได้แสดงออก นี่คือสิ่งสำคัญ เพราะวัยนี้จะไปตีกรอบให้เด็กไม่ได้ คำว่าต้อง หรืออย่า ไม่ควรนำมาใช้ แต่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ชี้แจงเหตุผลจะดีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนทั้งเรื่องยาเสพติด เหล้า บุหรี่ การพนัน การใช้ความรุนแรง การตัดสินใจที่ไม่มีเหตุผล คือสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องคิดโดยนำศาสตร์พระราชามาใช้ คือการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา สามารถนำมาปรับใช้ในการสั่งสอนเด็กได้ด้วย จะเป็นทางรอดของปัญหาต่างๆ

               

น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า สื่อเป็นปัจจัยในการสร้างสุขภาวะเยาวชนมีผลทั้งเชิงบวกและลบ หากสามารถนำมาสร้างเชิงบวกได้ก็จะเป็นประโยชน์กับเด็ก เยาวชนและชุมชน เพราะปัจจุบันสื่อและเทคโนโลยีไปเร็วมาก แต่สื่อที่อยู่ในชุมชนกลับสวนทางกัน ไม่ว่าจะเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ของดีในชุมชน หรือแม้แต่สื่อบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก หากนำสิ่งนี้มาสร้างสรรค์ในเชิงบวกก็จะทำให้ลดปัจจัยเสี่ยงกับเด็กและเยาวชนได้ หากเด็กได้มามีส่วนร่วมเป็นคนบริหารจัดการหรือปฏิบัติเอง เป็นแกนนำเอง ก็จะกลายเป็นคนมีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือสังคม ทำให้เด็กห่างไกลจากยาเสพติด ไม่ติดเกมหรือมือถือ

               

“การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ผู้ใหญ่จะได้เห็นพลังของเด็ก ความร่วมมือของคนกลุ่มเล็กๆ ที่ทำกิจกรรมในหลายชุมชน โดยขณะนี้เรามีเครือข่ายเยาวชนอยู่จำนวน 35 เครือข่ายทั่วประเทศ และมีเป้าหมายที่อยากจะให้มีการขยายไปให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยอยากให้ท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุนให้เด็กได้มีเวทีในการสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ แบบนี้เกิดขึ้น เราพร้อมที่แบ่งปันองค์ความรู้ประสบการณ์ในการทำงานที่หลายพื้นที่ประสบความสำเร็จมาแล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) กล่าว

               

ขณะที่ น.ส.สุดารัตน์ ขันเกษม หรือน้องเก๋ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เลขานุการสภาเด็กและเยาวชน ตำบลดอน อำเภอปักธงชัย และเครือข่ายโคราชยิ้ม กล่าวว่า สิ่งต่างๆ ของเด็กนั้นจะสำเร็จได้หรือไม่ ผู้ใหญ่ก็จะต้องหนุนหลัง กิจกรรมที่เด็กและเยาวชนแต่ละกลุ่มสร้างสรรค์ขึ้นมาในครั้งนี้ และนำมาแสดงให้ผู้ใหญ่ได้เห็นเพื่อสะท้อนว่า หากผู้ใหญ่รับฟังเสียงเด็กแม้จะเป็นเสียงเล็กๆ แต่ก็มีความหมาย เพราะเป็นเสียงที่ต้องการส่งหรือสื่อสารให้ผู้ใหญ่รู้ว่าเด็กก็ได้ทำเช่นกัน เช่นกลุ่มของตนทำขนมนางเล็ด ขนมดอกจอก ขนมช้าง ซึ่งเป็นขนมเก่าแก่อยู่ในตำนานของเทศมหาชาติ ที่คนรุ่นใหม่มักไม่รู้จัก และไม่ได้ถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นเก่า ทางกลุ่มจึงเข้าไปจับประเด็นนี้และเรียนรู้ที่จะสืบทอดต่อจากคนรุ่นก่อน ให้ขนมโบราณในเทศมหาชาติยังคงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอปักธงชัยต่อไปด้วย

              

  “วันนี้อยากฝากถึงผู้ใหญ่ ให้เปิดใจกว้าง รับฟัง และเชื่อมั่นในตัวเด็ก พร้อมเปิดโอกาสสนับสนุนให้เยาวชนได้ทำในสิ่งที่พวกเราคิด ก็จะทำให้เป็นเกราะกำบังที่ดี ที่จะไม่ให้เยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข สิ่งผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรมต่างๆ ได้” น.ส.สุดารัตน์กล่าว

               

มั่นใจว่า “เทศกาลงานยิ้มโคราช 2018” จะเป็นแรงบันดาลใจให้ท้องถิ่นต่างๆ นำแนวคิดนี้ไปผลักดันเพื่อให้เกิดพื้นที่แห่งความสุขสำหรับคนทุกวัยอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย.

 

นักวิชาการยันบุหรี่ไฟฟ้าไม่ปลอดภัย

อาจารย์ปิยวรรณ บุญเพ็ญ นักวิชาการสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ภาคี สสส. กล่าวถึงข้อถกเถียงว่า บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (บุหรี่ไฟฟ้า) นั้นปลอดภัยว่า ไม่เป็นความจริง โดยบุหรี่ดังกล่าวไม่ปลอดภัยแน่นอน ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รายงานจำนวนผู้ที่ได้รับอันตรายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึง 215 คน โดยมีรายงานที่ระบุถึงข้อกังวลเกี่ยวกับความแปรปรวนของระดับนิโคตินในน้ำยาที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้า ที่ทำให้ผู้สูบไม่รู้ตัวว่าตนเองได้รับนิโคตินเข้าไปในปริมาณเท่าใด ซึ่งสารนิโคตินจะมีอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กล่าวคือ ผลกระทบระยะสั้น จะทำให้หายใจไม่ออก ไอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น และผลกระทบระยะยาว จะทำให้เยื่อจมูกอักเสบ ต้อกระจก นอนไม่หลับ ซึมเศร้า หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าหลอดที่บรรจุน้ำยานิโคตินที่ใส่ในบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสรั่วและแตกได้ ซึ่งหมายถึงมีโอกาสที่ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าจะได้รับนิโคตินในปริมาณที่มากเกินไปจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

               

ร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์การระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเกิดขึ้น 13 เหตุการณ์ โดยในประเทศไทยมีรายงานการระเบิด 3 ราย หลังใช้บุหรี่ไฟฟ้าแล้วเกิดไฟลุกไหม้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นการเสี่ยงอันตรายมากและยังผิดกฎหมายอีกด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"