13 หมูป่าไร้เชื้อโรคอุบัติใหม่ แต่ให้ติดตามอาการอีกปีครึ่ง


เพิ่มเพื่อน    

 

      โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ถ้ำหลวง : ความพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่” โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.โรม บัวทอง นายแพทย์เชี่ยวชาญสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันแถลงข่าว

 

     ศ.นพ.สุทธิพงศ์ กล่าวว่า ในอดีตมีความพยายามค้นคว้าหาต้นตอและวิธีการป้องกันการเกิดโรคอุบัติใหม่ หากไม่มีการรับมือเมื่อเกิดโรคอุบัติใหม่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน เศรษฐกิจ สังคม และสภาพจิตใจ ปัจจุบันการเตรียมรับมือเฝ้าระวังโรค การค้นคว้าหรือการวินิจฉัยโรคต่างๆ มีความก้าวหน้าเพื่อให้สังคมได้รับผลกระทบลดน้อยลง ซึ่งรพ.จุฬาลงกรณ์ ได้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ขึ้น ทาง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ได้ประสานกับโรงพยาบาลต่างๆ และกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นศูนย์ช่วยเหลือหาวิธีการตั้งแต่การศึกษาวินิจฉัย ซึ่งในการเตรียมความพร้อมโรคอุบัติใหม่ในถ้ำหลวงก็ได้มีการร่วมมือกัน

     ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ภายในเป็นพื้นที่ที่มีการปะปนของเชื้อโรค ทั้งจากสิ่งแวดล้อมภายในถ้ำ อาทิ น้ำ ผนังถ้ำ ละอองฝอยต่างๆ รวมถึงเชื้อโรคจากสิ่งมีชีวิตที่อยู่ภายในถ้ำ เช่น ค้างคาว แมลงต่างๆ เป็นต้น ความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคอยู่ที่ระยะเวลาและกิจกรรมที่ทำ สำหรับการตรวจเชื้อโรคอุบัติใหม่ในน้องๆ ทีมหมูป่าอะคาเดมี และโค้ชรวม 13 คนที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน รวมถึงผู้ที่เข้าไปให้การช่วยเหลือนั้น พบว่า ไม่มีการติดเชื้อทั้งเชื้อที่เคยเจอในมนุษย์ และที่ยังไม่เคยเจอมาก่อน มั่นใจว่า ร้อยละ 99 ไม่มีโรคแล้ว แต่ก็ต้องติดตามต่อเนื่อง

     ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มอบบัตรประจำตัวให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่อาจมีบางเชื้อแฝงในร่างกาย หากวันใดวันหนึ่งมีการแสดงอาการของโรคบางอย่างขึ้นต้องมาพบแพทย์ และแสดงบัตรประจำตัวให้ทราบว่าเคยไปคลุกคลีอยู่ในพื้นที่ถ้ำหลวง ซึ่งต้องติดตามไปอย่างน้อยปีครึ่ง ที่ผ่านมามีการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ในคนเกิดอาการป่วย แล้วหาย แต่เมื่อผ่านไป 18-24 เดือน กลับพบว่า มีเชื้อไวรัสนิปาห์แฝงอยู่ในสมองโดยไม่แสดงอาการอะไร

      ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า หลังเกิดกรณีที่ถ้ำหลวงฯ แล้วมีคนที่อยากจะไปถ้ำ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติบริสุทธิ์ ดังนั้น จะต้องรู้จักการเฝ้าระวังตนเอง ก่อนหน้าทางกระทรวงกลาโหม แอฟริม (Afrims Us-Lab) ได้มีการศึกษาแมลง เห็บ หมัด ไร ริ้น ที่ก่อโรคตามตะเข็บชายแดนว่าพื้นที่ไหน เวลาใด มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หากเราเอามาปรับรับกับการท่องเที่ยวได้ก็จะเป็นประโยชน์ในการดูแลตัวเอง

     นพ.โรม กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับคำชื่นชมมากในเรื่องของการนำตัวเด็กๆ ออกมาและการดูแลด้านการแพทย์ว่าทำได้อย่างมีมาตรฐาน แต่ก็ยังมีคนตั้งคำถามว่าใช้งบประมาณมากเกินไปหรือไม่ ตนขอยืนยันว่าเรื่องการควบคุมป้องกันโรคนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก หากละเลยจนเกิดการแพร่ระบาดแล้วจะแก้ไขอะไรไม่ได้ กระทบประเทศในทุกๆ ด้าน หากยังจำได้ก่อนหน้านี้เคยมีการระบาดของโรคเมอร์สที่ประเทศเกาหลีใต้ เพียงแค่ 6 เดือนมีคนตาย และสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 3 พันล้านบาท แต่ประเทศไทยเราไม่ละเลยจะพบว่า มีเคสผู้ป่วยเมอร์สเข้ามาที่ประเทศไทย 3 ราย เราก็เอาอยู่ เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ สร้างความมั่นใจให้กับนานาชาติที่จะเดินทางเข้ามา.

     น.สพ.ภัทรพล มณีอ่อน สัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ตอนนี้พบว่ามีประชาชนให้ความสนใจท่องเที่ยวภายในถ้ำมากขึ้น ดังนั้น จะต้องมีการเข้าไปสำรวจกายภาพภายในถ้ำทั้งสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ ตนจะนำเอาข้อเสนอแนะจากทีมแพทย์เกี่ยวกับเรื่องการป้องกันตนเองในการเข้าไปภายในถ้ำตามหลักสากลว่า จะต้องมีการสวมอุปกรณ์ป้องกัน อาทิ สวมหมวก สวมหน้ากาก แว่น เป็นต้น พร้อมทั้งหน่วยงานที่ดูแลก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มความปลอดภัย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"