'โบว์อยากเลือกตั้ง'ชูข้อมูล'ไอลอว์'คสช.ปิดกั้นกิจกรรมสาธารณะกว่า200ครั้ง


เพิ่มเพื่อน    


1 ก.ย.61- โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา แกนนำกลุ่มอยากเลือกตั้ง โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก... Bow Nuttaa Mahattana ระบุการปิดกั้นและแทรกแซงกิจกรรมสาธารณะยุคคสช.ว่า

แชร์ให้ถึงคุณวิษณุค่ะ ...

การปิดกั้นและแทรกแซงการจัดกิจกรรมสาธารณะเป็นสิ่งที่ คสช. ได้ทำตลอดกว่าสี่ปีที่ผ่านมา โดยจากข้อมูลที่ไอลอว์รวบรวมไว้จนถึงปัจจุบัน ( 1 กันยายน 2561) พบว่า มีไม่น้อยกว่า 200 ครั้งที่เจ้าหน้าที่เข้ามาปิดกั้นหรือแทรกแซงกิจกรรมต่างๆ แบ่งเป็น

๐ ปี 2561 มีการปิดกั้นแทรกแซงไม่น้อยกว่า 29 งาน 
๐ ปี 2560 มีการปิดกั้นแทรกแซงไม่น้อยกว่า 28งาน 
๐ ปี 2559 มีการปิดกั้นแทรกแซงไม่น้อยกว่า 36งาน 
๐ ปี 2558 มีการปิดกั้นแทรกแซงไม่น้อยกว่า 67 งาน 
๐ ปี 2557 มีการปิดกั้นแทรกแซงไม่น้อยกว่า 40 งาน

โดยแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการในระดับต่างๆ กันไป ตั้งแต่การสั่งไม่อนุญาตให้จัดกิจกรรมด้วยช่องทางโทรศัพท์ การเข้ามาที่สถานที่จัดงานเพื่อกดดันให้เจ้าของสถานที่งดจัดกิจกรรม หรืออนุญาตให้จัด แต่ตั้งเงื่อนไขต่างๆ เช่น ขอให้เปลี่ยนวิทยากรที่เข้ามาพูดในงาน, กำหนดไม่ให้ใช้คำที่อ่อนไหวในบริบทของสังคม เช่น "เผด็จการ" และ "กบฏ" เป็นต้น และการสร้างความไม่สะดวกทางอ้อม เช่น การไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องเสียง การตัดไฟฟ้า เป็นต้น
.
กิจกรรมสาธารณะที่ถูกจับตามองจากภาครัฐมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หรือ ประเด็นที่เปราะบางในเวลานั้น กรณีที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ กิจกรรมสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในปี 2559 โดยกิจกรรมเกือบทั้งหมดมีเป้าหมายเพื่อพูดคุยถึงเนื้อหารายละเอียดร่างรัฐธรรมนูญ 2559 และสร้างความตระหนักรู้และองค์ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกและให้ความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฯ แต่อย่างไรก็ดีกิจกรรมสาธารณะเหล่านั้นถูกปิดกั้นและแทรกแซงจากรัฐไม่น้อยกว่า 20 กิจกรรม
.
มากไปกว่านั้นบรรดานักกิจกรรมหรือผู้จัดงานกิจกรรมเหล่านี้ยังถูกดำเนินคดีอีกด้วยดังนี้ เช่น กรณีกลุ่มนปช.ที่ถูกดำเนินคดีฐานขัดคำสั่งที่ 3/2558 จากการแถลงข่าวเปิดศูนย์ปราบโกง, สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 61 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ประชามติฯ จากการแจกใบปลิวโหวตโน ที่ชุมชนเคหะบางพลี และกลุ่มพลเมืองคนรุ่นใหม่ที่ถูกกล่าวหาว่า ขัดคำสั่งคสช.ที่ 3/2558 จากการจัดกิจกรรม "พูดเพื่อเสรีภาพ ร่างรัฐธรรมนูญกับคนอีสาน " เป็นต้น
.
เมื่อทบทวนดูการปิดกั้นและแทรกแซงกิจกรรมสาธารณะต่างๆ จะเห็นได้ว่า ฐานอำนาจที่เจ้าหน้าที่นำมาใช้หลักๆ คือ คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 และ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยตามหลักกฎหมายแล้วหากมีกฎหมายใหม่คือ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ ออกมาบังคับใช้กฎหมายเดิมคือ คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 จะต้องยกเลิกไป แต่สิ่งที่ปรากฏ คือ อำนาจทั้งสองยังคงถูกใช้ควบคู่กันเรื่อยมา โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ข่มขู่เพื่อให้การชุมนุมหรือการจัดกิจกรรมถูกยกเลิกให้ได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"