'จตุพร' เลิกต้านคสช.-ชวนฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 'คุยกันสิ' ก่อนเกิดวิกฤติ!


เพิ่มเพื่อน    

15 ก.ย. 61- นายจตุพร พรหมพันธ์  ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการอห่งชาติ(นปช.) เฟซบุ๊กไลฟ์ เรื่อง "วิกฤตรออยู่ข้างหน้า (ตอนที่ 1)" พี่น้องผู้ร่วมชะตากรรมที่เคารพรักทุกท่าน วันนี้ผมจะพูดในหัวข้อ วิกฤตรออยู่ข้างหน้า ความจริงนับตั้งแต่ผมออกจากเรือนจำมานั้นผมได้ให้ความเห็นผ่านสื่อสารมวลชน ต่างกรรมต่างวาระ และผมเองก็พยายามจะสดับตรับฟังเป็นส่วนใหญ่ ที่ผมได้พูดว่าผมจะฟังให้มากพูดให้น้อย 

เพราะอย่างที่เราได้ทราบกันนะครับ ว่าเมื่อรัฐธรรมนูญถูกออกแบบให้เป็นปัญหา การจะแก้ไขปัญหาได้นั้นก็ต้องแก้ด้วยคนที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในวันข้างหน้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในซีกของนักการเมือง ซีกของผู้มีอำนาจ แล้วประกาศต่อประชาชน จะเรียกว่านั้นคือสัญญาประชาคมหรือเป็นข้อตกลงร่วมกัน 

นั่นหมายถึงว่าถ้าใครละเมิดสัญญาที่ประกาศไว้กับประชาชน เขาต้องรับผิดชอบต่อประชาชนเองนั้น เพราะวิกฤตที่รออยู่ข้างหน้านั้น ไม่ว่าเราจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกหรือคนในตามที่รัฐธรรมนูญได้เปิดประตูเอาไว้ รัฐธรรมนูญปี 34 นะครับ เปิดประเด็นหลักเอาไว้แค่ 2 ประเด็น คือที่มาของนายกฯ ไม่ได้มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่ได้มาจากประชาชน แต่ประชาชนยินยอมก่อนหน้านี้ตอนช่วงร่างรัฐธรรมนูญว่าผู้มีอำนาจในขณะนั้นประกาศว่าไม่รับตำแหน่ง 

ประเด็นประธานรัฐสภาไม่ได้มาจากประธานสภาผู้แทนราษฎรนั่น นำพาสู่เหตุการณ์พฤษภา 2535 เพราะฉะนั้นนะครับ เมื่อรัฐธรรมนูญปี 60 เปิดประตูให้กับนายกฯคนนอก และนายกฯคนใน อย่างที่ทราบกันว่าวุฒิสภาในระยะเปลี่ยนผ่านอันนี้ 5 ปี 5 เท่ากับ 8 นะครับ ที่สำคัญคือมีสิทธิ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่การดำรงอยู่ของนายกรัฐมนตรีนั้นขึ้นอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร เพราะฉะนั้นนะครับ ถ้าในสภาผู้แทนราษฎรมีเสียง 126 + 250 ได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของรัฐสภา จากจำนวนเต็ม 750 คน แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถที่จะอยู่ได้ เพราะได้เสียงข้างมากในที่ประชุมของ 2 สภา แต่จะถูกอภิปรายโดยสภาเดียว และพ้นโดยสภาเดียวคือสภาผู้แทนราษฎร 

เพราะฉะนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญมันถูกออกแบบให้เกิดปัญหากันแบบนี้ ผมก็เลยต้องชวนกันว่า “คุยกันสิ” ผมไม่ชวนให้พรรคการเมืองออกมาต่อต้าน คสช.นะครับ แต่ผมชวนให้พรรคการเมืองคุยกับ คสช.ให้ตกลงกันเสีย ว่าถ้าประชาชนเขาตัดสินใจอย่างไรนั้น วุฒิสภาทำตามเจตนารมณ์ของสภาผู้แทนราษฎร บ้านเมืองมันจึงจะเดินต่อไปได้ เสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรมันไปไม่ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือว่า แม้ว่าคิดจะได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร วิธีการต่างๆนั้นในระหว่างทางอันนี้ ก็จะอธิบายความตามลำดับที่จะสะสมเรื่องราวกันไป 

เพราะในสภาผู้แทนราษฎรนั้น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ แน่นอนที่สุดนะครับ ว่าคนที่ไม่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในระบบรัฐสภาอันนี้ไม่สามารถที่จะทนทานได้ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยผ่านมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีอำนาจและมีความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ นี่คือโลกความเป็นจริง นายกฯคนในความต้านทานต่ำอยู่แล้ว ไปที่เสียง 376 ถ้าว่าตามเนื้อรัฐธรรมนูญนั้น ในสภาผู้แทนราษฎรเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการเลือกตั้งมันถูกจำกัดด้วยบัตรใบเดียว ยิ่งได้พื้นที่มากเท่าไร ปาร์ตี้ลิสต์ยิ่งหายมากที่สุด พรรคที่ได้ลำดับที่ 1 นะครับ ได้พื้นที่มาก ปาร์ตี้ลิสต์อาจจะได้น้อยที่สุดในบรรดาพรรคใหญ่ก็เป็นได้

เพราะฉะนั้นนะครับ องค์กรอิสระมีอำนาจมากกว่ารัฐธรรมนูญปี 50 รัฐธรรมนูญปี 50 เราเองก็เห็นสถานการณ์ที่ผ่านมาว่าเกิดอะไรกันขึ้น แล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างที่ผมบอกว่าเหมือนอนุญาตให้ไปดวงอาทิตย์ ท้ายที่สุดใครก็จะไปไม่ถึง ยกเว้นจะมีปาฏิหาริย์อย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นผมจะพูดเรื่องวิกฤตรออยู่ข้างหน้าในตอนที่ 2 ต่อ ในวันพรุ่งนี้ วันนี้สวัสดีครับ"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"