8 ชนเผ่านครพนม ฟ้อนบูชาพระธาตุพนม ก่อนไหลเรือไฟ


เพิ่มเพื่อน    

24ต.ค.61-เมื่อเวลา 08.00 น.. ณ บริเวณลานกว้างหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม โดยพระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมฯ เป็นประธานสงฆ์ นายสยาม ศิริมงคล  ผวจ.นครพนม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมกับนางวิไลวรรณ ไกรโสดา นายรังสรรค์ คัมภิรานนท์ รอง ผวจ.ฯ พล.ต.ปราโมทย์ นาคจันทึก ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 210(มทบ.210) และหัวหน้าส่วนราชการ นักเรียน นักศึกษา พ่อค้า ประชาชน ร่วมกันประกอบพิธีทางศาสนาในพิธีฟ้อนบูชาพระธาตุพนม ซึ่งจังหวัดนครพนม คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนครพนม ยึดถือปฏิบัติจัดขึ้น ก่อนจะเริ่มไหลเรือไฟในค่ำวันเดียวกัน

ทั้งนี้ในวันนี้ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันออกพรรษา ได้มีมีพิธีการฟ้อนบูชาพระธาตุพนม  โดยการฟ้อนรำบูชาองค์พระธาตุพนมถือเป็นตำนานแล้ว มีมาตั้งแต่สร้างพระธาตุพนมในยุคแรก คือสมัยของพระมหากัสสปะเถระ และพญาทั้ง 5 แห่งอาณาจักรศรีโคตรบูร กาลต่อมาได้ปรากฏหลักฐานว่า มีการฟ้อนรำบูชาพระธาตุพนมเช่นเดียวกัน 

โดยก่อนจะเริ่มการฟ้อนบูชาพระธาตุพนม  มีพิธีแห่เครื่องสักการบูชา โดยการนำของนายสยาม ศิริมงคล ผวจ.ถวายเครื่องสักการบูชา กล่าวนำไหว้พระธาตุ ประกอบพิธีทางศาสนา และกล่าวเปิดงาน โดยพิธีฟ้อนบูชาพระธาตุพนม จำนวน 6 ชุด มีตามลำดับดังนี้ คือ 1.ฟ้อนตำนานพระธาตุพนม(อ.ธาตุพนม) เป็นการฟ้อนบูชาพระธาตุพนม 2.ฟ้อนศรีโคตรบูร(อ.ปลาปาก อ.ศรีสงคราม) โดยฟ้อนชุดนี้ถูกปรับปรุงให้เป็นชุดรำประจำจังหวัดนครพนม เพื่อแสดงให้ระลึกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ถือเป็นการฟ้อนอีกชุดหนึ่ง ในการฟ้อนบูชาพระธาตุพนมในเทศกาลไหลเรือไฟทุกปี

3.ฟ้อนผู้ไทย หรือภูไท (อ.เรณูนคร อ.บ้านแพง) ได้พัฒนาและดัดแปลงมาจากศิลปะการฟ้อน ซึ่งแสดงในงานเทศกาลต่างๆ      4.ฟ้อนหางนกยูง(อ.เมืองฯ อ.นาทม) ถือกำเนิดมากว่า 100 ปี เดิมใช้สำหรับฟ้อนบวงสรวงสักการะ เจ้าพ่อหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประทานพรให้มีชัยชนะและแคล้วคลาดจากภยันตราย ในการเข้าแข่งขันชิงชัยต่างๆ โดยเฉพาะในการแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษา 

5.ฟ้อนไทญ้อ(อ.ท่าอุเทน อ.นาหว้า อ.โพนสวรรค์) ซึ่งเป็นชนเผ่าอีกกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเขต อ.ท่าอุเทน นาหว้า และโพนสวรรค์ โดยปกติการฟ้อนไทญ้อจะพบเห็นในเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลที่สำคัญเท่านั้น  6.ฟ้อนขันหมากเบ็ง(อ.นาแก อ.วังยาง) ขันหมากเบ็งเป็นเครื่องบูชาชนิดหนึ่งของภาคอีสาน คำว่า “เบ็ง” มาจาก “เบญจ” หมายถึงการบูชาพระเจ้า 5 พระองค์ คือ กกุสันโท โกนาคมโน กัสสโป โคตโม และอริยเมตตรัยโย   ส่วนในปัจจุบันนี้ชาวอีสาน โดยเฉพาะเผ่ากะเลิงใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ด้วยเหตุนี้จึงได้นำมาประดิษฐ์เป็นท่าฟ้อนรำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในการแสดงครั้งนี้ หมายถึงพญาทั้ง 5 แห่งอาณาจักรศรีโคตรบูร ได้นำขันหมากเบ็งมาถวายองค์พระธาตุพนม

ทั้่งนี้ค่ำคืนของวันเดียวกัน ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม การไหลเรือไฟ จำนวน 12 ลำ จะเริ่มลอยโชว์กลางสายน้ำโขง  .


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"