แย่แล้ว !ยื่นบัญฃีทรัพย์สินทำพิษ มีสัญญาณผู้ทรงคุณวฒิมหา'ลัยแห่ลาออก"หมอธี"บอกใจเย็นๆ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องกําหนดตําแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ. 2561 โดยกำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดี มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วย ว่า ขณะนี้ได้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างหนักในกรณีดังกล่าว และมีผู้ทรงคุณวุฒิในสภามหาวิทยาลัยหลายคนจะลาออกนับร้อยคน ซึ่งในเรื่องนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และพล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจประธาน ป.ป.ช. ได้รับทราบถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งทุกฝ่ายกำลังเดินหน้าเพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทั้งนี้ฝากถึงผู้ทรงคุณวุฒิว่าขอให้ใจเย็นอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจลาออก เพราะทุกฝ่ายทีเกี่ยวข้องกำลังดำเนินการแก้ปัญหาอยู่ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าจะถึงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2561 ยังมีเวลาอีก 30 วัน ส่วนแนวทางการแก้ไขนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายวิษณุ ไปหารือกับ ป.ป.ช. ซึ่งคิดว่าทางออกในเรื่องนี้มีหลายช่องทางในแง่ของกฎหมาย

 

ด้านนพ.จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวว่า สภามหาวิทยาลัยเป็นเรื่องของนโยบาย ปกติแล้วไม่เกี่ยวกับรายได้ของมหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่ได้รับเชิญเข้ามา ดังนั้นอาจจะมีคนลาออกจำนวนมาก เพราะไม่สะดวกกับการยื่นบัญชีทรัพย์สิน และอีกทางหนึ่ง คือ ตนมองดูแล้วเป็นการไม่ให้เกียรติกรรมการสภามหาวิทยาลัย ที่เข้ามาทำหน้าที่ช่วยรัฐในการจัดการศึกษา ซึ่งจำนวนมากเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และคนเหล่านี้มองว่าการให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินไม่ได้แก้ปัญหาคอรัปชั่น เพราะคนขี้โกงก็ยังโกงได้อยู่และรู้ว่าต้องแจงบัญชีทรัพย์สินเพื่อที่จะหลบเลี่ยงอย่างไร ส่วนที่มองกันว่าถ้าบริสุทธิ์ใจแล้วจะกลัวอะไรกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้น เรื่องความโปร่งใสไม่ใช่ปัญหาและไม่มีใครกลัว แต่ที่หลายคนมองคือเรื่องของความไม่เคารพไม่ศรัทธาไม่เชื่อมั่น ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่เข้ามาช่วยเลยดีกว่า 

 

“เรื่องนี้จะมองว่า ป.ป.ช.ทำเกินไปหรือเปล่า เพราะสภามหาวิทยาลัยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายได้หรือผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม การจะให้แจงบัญชีทรัพย์สินก็มีเหตุมีผล เพราะยอมรับว่าอาจมีบางคนที่มีเรื่องของผลประโยชน์ แต่ต้องดูว่าคุ้มค่ากันหรือไม่ เพราะถ้ามีคนอยากเป็นแล้วได้เป็น ในขณะที่คนที่อยากจะให้เป็นแต่ไม่มาเป็นเรื่องนี้มีผลเสียเกิดขึ้นแน่นอน อีกทั้งส่วนตัวมองว่าควรจะหาวิธีอื่นในการจัดการในกรณีที่พบว่าร่ำรวยผิดปกติดีกว่าหรือไม่ หรือหาทางออกที่เป็นทางสายกลางคือ ให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินแต่เก็บข้อมูลใส่ซองไว้ในกรณีที่มีปัญหาค่อยมาเปิดดู ไม่ใช่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เพราะหากเป็นภาคเอกชนที่เชิญเข้ามาเชื่อว่าไม่ต้องการที่จะยื่นบัญชีทรัพย์สินแน่นอน ซึ่งในส่วนของ ม.อ.ยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน ต้องรอดูว่า รมว.ศธ.จะมีความเห็นเป็นอย่างไร”นายกสภา ม.อ.กล่าว

 

ด้านนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนมองว่าเป็นการออกกฎหมายดังกล่าว เป็นการออกในลักษณะพาไป คือ เมื่อพูดถึงสภามหาวิทยาลัย ก็จะมีองค์ประกอบคือ นายกสภาฯ กรรมการสภาฯ อธิการบดี เพราะฉะนั้นจึงมองได้ว่าอาจจะขาดความรอบคอบและมองแต่เรื่องความโปร่งใสกับเรื่องทุจริตคอรัปชั่นเพียงมิติเดียว ไม่มองบริบทของมหาวิทยาลัย เพราะตนคิดว่าถ้ามีการมอง 2 ด้าน จะทำให้เข้าใจมากขึ้น แต่หากจะมองในมุมของป.ป.ช.ด้านเดียว กฎหมายก็จะออกมาในลักษณะนี้ และส่งผลให้ระบบมหาวิทยาลัยถูกตีกรอบมากขึ้น เพราะคนที่จะเข้ามานั่งในตำแหน่งกรรมการสภาฯ จะต้องมีความหลากหลาย แต่ถ้ากรรมการที่มาจากภาคเอกชนลาออกหมด สภามหาวิทยาลัยก็จะเป็นราชการกว่าร้อยละ 80 และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยทั้งหมดก็จะไปในทิศทางเดียวกัน มองแต่เรื่องสถาบันของตนเองเป็นหลัก และมองสังคมรอบข้าง สังคมอนาคตไม่เป็น ซึ่งเป็นการซ้ำเติมมหาวิทยาลัยให้แย่ลง

 

“ทุกคนใน ป.ป.ช.มองมิติหลักคือ ประเทศไทยมีการทุจริต ในทุกหย่อมหญ้า จึงทำให้ต้องป้องกัน ทุกทาง ทุกระบบ แต่ตรึงเกินไป โดยไม่มองบริบทของมหาวิทยาลัย ไม่เข้าใจสิ่งที่จะมีผลกระทบตามมา การออกกฏหมายครั้งนี้เป็นแบบพาไป เพราะเวลาพูดองค์ประกอบมหาวิทยาลัยจะมีทั้งนายกสภาฯ กรรมการสภาฯ อธิการบดี รองอธิการบดี เป็นต้น ทำให้ ขาดความรอบคอบและมองมิติเดียวคือความโปร่งใส ผมเห็นว่าควรจะต้องทบทวนเอา นายกสภาฯ และ กรรมการสภาฯออกจากกฏหมาย”อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถาม มีข้อเสนอให้ป.ป.ช.ตรวจสอบคณบดีของแต่ละมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีผลประโยชน์จำนวนมาก นายสมพงษ์ กล่าวว่า หากมองแบบเป็นกลาง การตรวจสอบทรัพย์สินของคณบดีอาจจะมีความจำเป็น เพราะมีส่วนได้ส่วนเสียและมีเงินเดือนเยอะมาก


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"