Open Data และ AI เพื่อความยุติธรรมที่ประชาชนมีส่วนร่วม


เพิ่มเพื่อน    


    เมื่อพูดถึงกระบวนการยุติธรรม เรามองไม่เห็นภาพของการอำนวยความสะดวกในกระบวนการยุติธรรม แต่เห็นภาพของการใช้อำนาจมาต่อสู้กัน เมื่อพูดถึงประชาธิปไตยที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม หากรัฐบาลไม่เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงแล้วจะให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างไร สถาบันยุติธรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่าย เปิดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อหากระบวนการและเครื่องมือใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา และเพิ่มพลังในการส่งเสริมความยุติธรรมให้กับประชาชน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาเป็นเครื่องมือติดตามและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแล ตรวจสอบ อันจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล
    ช่วง 2-3 ปีมานี้คำว่า ‘Blockchain’ เป็นคำฮิตติดหู ในฐานะเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมอนาคต โดยที่ผ่านมา คนทั่วไปมักจะรู้จัก Blockchain ว่าเป็นระบบหลังบ้านที่ขับเคลื่อนสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin ทว่าด้วยคุณลักษณะเด่นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถย้อนกลับไปตรวจสอบความโปร่งใสได้ เทคโนโลยีนี้จึงเริ่มถูกนำมาใช้ประโยชน์กับเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากโลกการเงินด้วย ว่ากันว่า Blockchain จะเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีเขย่าโลก (disruptive technology) ที่เข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างความโปร่งใสและความเป็นธรรม และการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain ที่เอื้อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบย้อนหลัง พลังสำคัญคือการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือติดตามและตรวจสอบสร้างความโปร่งใส ให้คนเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยไม่ต้องรอภาครัฐเพียงอย่างเดียว
    การเปิดเผยแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล (Open Data) จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดความโปร่งใส ผลักดันให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลทั้งทางด้านนโยบายและการแก้ปัญหา ที่สำคัญคือ ประชาชนมีอำนาจในการตรวจสอบการทำงานของบุคคล หน่วยงานสาธารณะ รวมไปถึงการบริหารงานของภาครัฐ โดยหน่วยงานภาครัฐต้องยินยอมที่จะเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึง มีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับเรื่องการเปิดเผยข้อมูลว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ในการเปิดเผยข้อมูลนั้นต้องประกอบด้วยหัวใจ 3 ประการ ได้แก่ ข้อมูลต้องเข้าถึงได้ง่าย ดาวน์โหลดได้ฟรี และอยู่ในรูปแบบที่เผยแพร่ได้ ภายใต้เงื่อนไขการอนุญาตให้นำมาเผยแพร่หรือนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลอื่นได้ แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาต่อยอดเพื่อประมวลความเชื่อมโยงของข้อมูลจะช่วยในการยกระดับให้ความยุติธรรมสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และยังเป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูลเพื่อเพิ่มพลังการตรวจสอบให้อยู่ในมือของประชาชนทุกคน อันเป็นแนวคิดใหม่ที่สามารถนำไปขยายผลได้อย่างเป็นรูปธรรม.

                  จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
                ([email protected])

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"