"หมออุดม"ยอมรับผิดหวัง "สกอ."ถูกลดชั้นในก.อุดมฯ จาก"ผู้นำ"หลัก กลายเป็นไม้ประดับ


เพิ่มเพื่อน    

20ก.พ.62-นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวถึงกรณีโครงสร้างของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่มีการปรับให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นกรมการอุดมศึกษาภายใต้กระทรวงใหม่ ว่า ขณะนี้ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้เดินทางไปยื่นหนังสือให้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้อง ทบทวนในกรณีดังกล่าวแล้ว อีกทั้งตนยังทราบว่าทางที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ (ทปอ.มรภ.) และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชมงคล (ทปอ.มทร.) ก็จะเดินทางไปยื่นหนังสือให้มีการทบทวนเช่นกัน โดยสำหรับเรื่องนี้ความคิดส่วนตัวของตนคิดว่าการที่มีการแยกอุดมศึกษา ออกมาเป็นอีกกระทรวง พร้อมทั้งรวมเข้ากับวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีอุดมศึกษาเป็นผู้นำถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะต้องเข้าใจก่อนว่าอุดมศึกษาเป็นฐาน ครอบคลุมทั้งวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมอยู่แล้ว ดังนั้นเนื้องาน หรือภารกิจที่เป็นงานสำคัญ คือ อุดมศึกษา แต่เมื่อมีการปรับให้อุดมศึกษา เป็นกรมอุดมศึกษา ส่วนตัวตนคิดว่าจะส่งผลให้เกิดความแข็งตัวตามระบบราชการ ไม่มีความคล่องตัว และจะเป็นการลดบทบาทของอุดมศึกษาที่จะเป็นผู้นำ ถูกลดภาระงานของอุดมศึกษาเหลือแค่ ร้อยละ 40 เท่านั้น และยังเกิดสภาวะคอขวดในการขับเคลื่อนงานต่างๆ ซึ่งเห็นชัดว่าการที่จะมีกรมอุดมศึกษาไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

“กระทรวงใหม่เรามีความต้องการให้มีความคล่องตัว ซึ่งปัจจุบันโครงการสร้างของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ส่วนใหญ่เป็นองค์กรมหาชนเกือบทั้งหมด และจะไม่มีหน่วยงานที่เป็นราชการเลยยกเว้นสำนักงานปลัด วท. ฝั่งอุดมศึกษา ก็วางแผนที่จะส่งเสริมให้กลุ่ม มรภ.กลุ่ม มทร.และวิทยาลัยชุมชน (ววช.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับทั้งหมด ดังนั้นกระทรวงที่เกิดขึ้นใหม่ ตามโครงสร้างที่มีสำนักงานปลัดกระทรวงเป็นส่วนราชการ เพียงหน่วยงานเดียว จะทำให้การทำงานเปลี่ยนไป คือ ทุกหน่วยงานทำงานโดยมีคณะกรรมการดูแล การทำงานจะไม่ใช่เรื่องการบังคับบัญชา สำนักงานปลัดกระทรวงใหม่จะทำหน้าที่ประสานงาน สนับสนุนส่งเสริมให้แต่ละหน่วยงานทำงานบรรลุภารกิจให้ได้ ดังนั้นหากถามความรู้สึกส่วนตัวของผมตอนนี้ คือ ผมรู้สึกผิดหวังที่กระทรวงใหม่จะไม่ใช่กระทรวงที่ยกระดับอุดมศึกษาให้แสดงบทบาทสำคัญ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ”รมช.ศธ.กล่าว

นพ.อุดม กล่าวต่อว่า หากโครงสร้างกระทรวงอุดมฯ ยังคงเป็นไปในรูปแบบนี้ ตนคิดว่าจะเกิดความโกลาหลมาก เพราะจากการที่ตนได้หารือกับฝ่ายอุดมศึกษา พบว่าหลายคนไม่พอใจกับโครงสร้างนี้ เนื่องจากไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องการทำงานที่คล่องตัว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้คงต้องขึ้นอยู่กับ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ. กระทรวงอุดมฯ และพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้อง และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่เป็นผู้พิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งสวนทางกับกระแสที่ควาจะเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งขณะนี้ได้มีการกำหนดวันที่จะพิจารณาวาระ 2 และ 3 แล้ว คือ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ดังนั้นหากในช่วงก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ไม่มีการนำร่างกฎหมายกลับมาทบทวน โครงสร้างของกระทรวงอุดมฯ ก็อาจจะออกมาในรูปแบบที่มีกรมอุดมศึกษาต่อไป

ด้านนายจงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า หลายฝ่ายอาจจะยังไม่เข้าใจ บริบทของมหาวิทยาลัย จึงอยากให้มีกรมการอุดมศึกษาหรือ สกอ.เดิมให้คงอยู่ แต่ ทปอ.มีความเห็นว่าหากเราต้องการให้การบริหารงานมีความเป็นอิสระมากขึ้น มีความคล่องตัวและการดำเนินการเชิงรุกได้อย่างรวดเร็ว สกอ.ก็ควรจะปรับบทบาทไปเป็นสำนักงานปลัด เพียงหน่วยงานเดียวเพื่อให้สายการบังคับบัญชาสั้นโดยเรื่องที่ส่งจากมหาวิทยาลัย ซึ่งผ่านการพิจารณาจากสภามหาวิทยาลัยแล้วจะส่งตรงถึงสำนักงานปลัดซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนและดูแลในภาพรวม ที่สำคัญในสำนักงานปลัดก็มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) อยู่ด้วย โดยมีสำนักงานปลัดทำหน้าที่เลขานุการ ตนจึงเห็นว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ควรถือโอกาสนี้พัฒนาให้เกิดระบบราชการรูปแบบใหม่ ที่มีความยืดหยุ่น มีการบริหารงานที่เป็นอิสระ น่าจะเป็นผู้นำร่องการบริหารงานรูปแบบใหม่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขนาดนี้เรื่องการตั้งกรมการอุดมศึกษา จะผ่านการพิจารณาวาระ 1 แล้ว แต่เราก็หวังว่าสมาชิก สนช. ทุกคนจะช่วยพิจารณาเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติในการพัฒนาการศึกษาวิจัยและนวัตกรรมจะได้ทำได้อย่างรวดเร็ว

ด้านนายวิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดี มทร.อีสาน ในฐานะประธานทปอ.มทร. กล่าวว่า ตนได้มีการพูดคุยกับกลุ่มทปอ. และกลุ่ม ทปอ.มรภ. ซึ่งต่างก็คิดแบบเดียวกัน ทั้งนี้ ถ้ามีกรมการอุดมศึกษามีแต่จะยุ่งขึ้นไปอีก การทำงานจะเป็นอีหรอบเดิมติดอยู่ในกรอบราชการ ไม่คล่องตัว อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (21 ก.พ.) ตนในนาม ทปอ.มทร.จะไปยื่นหนังสือถึง กมธ.วิสามัญร่างพ.ร.บ.กระทรวงอุดมฯ เพื่อขอให้ทบทวนโครงสร้างดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ทราบว่าทาง ทปอ.มรภ.ก็จะมายื่นหนังสือเช่นเดียวกัน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"