'กรณ์'ไขข้อข้องใจ ทำไมปชป.ต้องเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล


เพิ่มเพื่อน    

13 มี.ค. 62 - ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคฯ และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคฯ แถลงข่าวชี้แจงถึงเหตุผลที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล 

โดยนายจุติ ย้ำถึงประเด็นความทุกข์ร้อนของประชาชนว่า หลังจากแถลงความชัดเจนไปแล้ว ขอให้เลือกพรรคที่พร้อมที่สุดที่จะเข้ามาแก้ปัญหาของประชาชน ปากท้อง หนี้ครัวเรือน รายได้ครัวเรือน ภาษีเป็นธรรมหรือไม่ และพรรคประชาธิปัตย์มุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ และทำงานมาโดยตลอด 200 กว่าสัปดาห์ 5 ปีก่อนจะถึงวันนี้ โดยทำบนความถูกต้อง ไม่ทำให้ประเทศเสียหาย พร้อมเตือนประชาชนอย่าเลือกตั้งด้วยอารมณ์ แต่ให้เลือกด้วยประเด็นนโยบาย

ด้านนายกรณ์ กล่าวว่า พรรคลงพื้นที่ทํางานด้านนโยบายมาตลอด 5 ปีที่มีรัฐบาลจากรัฐประหาร ทั้งการลงพื้นที่ทําจริง เก็บข้อมูล ศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ จากนักวิชาการและปราชญ์ชาวบ้าน จนขมวดรวมเป็นชุดนโยบาย “แก้จน-สร้างคน-สร้างชาติ” สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และประเทศชาติได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด โดยแยกรายละเอียดในแต่ละชุดอย่างเป็นระบบ

"ชุดนโยบายนี้จะถูกนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทยและประเทศชาติมากที่สุด คือการที่พรรคประ ชาธิปัตย์จะต้องเป็นแกนนํารัฐบาลเท่านั้น จากการพิจารณาจากอุดมการณ์ของพรรคเพื่อไทย และหลักคิดทางนโยบายต่างๆ รวมไปถึงประวัติในการบริหารประเทศ แล้วพบว่า ไม่สามารถร่วมรัฐบาลกันได้อย่างแน่นอน เพราะไม่ได้เป็นประชาธิปไตยสุจริต และชัดเจนว่า ไม่ได้ยึดประชาชนเป็นใหญ่ ตัวอย่างเช่นมีการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม และอีกหลายนโยบายที่สวนทางกับนโยบายของ พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนในประเด็นแนวนโยบายของพรรคพลังประชารัฐนั้น มีหลายข้อที่เรามองว่า นโยบายพรรคประชาธิปัตย์ของเราตอบโจทย์ความต้องการประชาชน และการพัฒนาเศรษฐกิจได้ดีกว่า" นายกรณ์ ระบุ

นายกรณ์ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐตลอดมาได้เน้นนโยบายที่ส่งเสริมทุนใหญ่ ล่าสุดความพยายามที่จะเร่งรัดการประมูลดิวตี้ฟรี ในวิธีการที่จะคงไว้ซึ่งสิทธิผูกขาดของผู้ประกอบการ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่ารัฐบาลละเลยการรักษาประโยชน์สูงสุดของประชาชนและบ้านเมือง พรรคประชาธิปัตย์มองว่าประชาชนทั่วไปในระดับฐานราก และชนชั้นกลางถูก ละเลยมานาน  นโยบายพรรคจึงเน้นคนวัยทํางาน และผู้มีรายได้น้อย เราไม่ขายแต่ GDP เราชูดัชนี ‘ปิติ’ (PITI) ซึ่งเป็นการวัดการพัฒนาที่เป็นตัววัดความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง เราเน้นการปฏิรูปโครงสร้างภาษี เก็บภาษีเศรษฐี ดูแลคนรายได้ปานกลาง และให้สวัสดิการพื้นฐานแก่ผู้มีรายได้น้อย ในขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ลดภาษีบุคคลธรรมดา 10% ทุกกลุ่ม แต่คนรวยได้ประโยชน์สูงสุด พรรคประชาธิปัตย์ไม่ลดภาษีคนรวยชัดเจน เพื่อไทยลดนิติบุคคลเอื้อทุนใหญ่มาแล้วรอบหนึ่งจาก 30 เป็น 20% และบอกจะลดอีก เราเห็นต่าง เราจะบี้เพิ่มกับนิติบุคคลที่เป็นธุรกิจผูกขาด ในแง่นิติบุคคล พรรคประชาธิปัตย์ชัดเจนว่าลดให้เฉพาะเอสเอ็มอีเท่านั้น

สำหรับราคาสินค้าเกษตรนั้น ในช่วงการบริหารของรัฐบาลปัจจุบันตกตํ่า สะท้อนปัญหาปากท้องในเศรษฐกิจฐานราก และนโยบายเกษตรที่ประกาศออกมา คือหลักการ “จํานํา”  ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายที่เคยเกิดขึ้น ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ชูประกันรายได้เกษตร ไม่ต้องการบิดเบือนกลไกตลาด ปิดจุดรั่วไหล และมีนโยบายสร้างชาติด้านเกษตร ปฏิรูปเขียว ดันราคาตลาดให้สูงขึ้นโดยไม่เป็นภาระงบประมาณ

นอกจากนี้ยังออกสวัสดิการพื้นฐานดูแลทารก ปฐมวัยด้วยหลักคิดจากนักวิจัย และนักเศรษฐศาสตร์โนเบล เกิดปั๊บรับสิทธิ์เงินแสน แต่พรรคพลังประชารัฐประกาศนโยบายมารดาประชารัฐ โดยจงใจบลัฟตัวเลข หลักคิดแบบนี้สุ่มเสี่ยง และไม่ควรเป็นแกนนํารัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจนถึงวันนี้ยังไม่เห็นพรรคใด โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐชี้แจงตัวเลขเงินงบประมาณที่จะนำมาใช้ในแต่ละนโยบาย ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมีการกำหนดไว้ว่า ต้องเปิดเผยแค่ไหนอย่างไรบ้าง ทั้งตัวเลขที่จะใช้ในแต่ละนโยบายและที่มาของแหล่งเงิน หากหาเสียงแล้วทำไม่ได้ หรือใช้งบประมาณจนเป็นปัญหาต่อประเทศ ก็อาจนำมาซึ่งต้นเหตุแห่งความขัดแย้งใหม่ได้อีก

"ดังนั้นชุดนโยบาย แก้จน-สร้างคน-สร้างชาติ ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ต่อประเทศในครั้งนี้ จะถูกผลักดันอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้เลย หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นแกนนํารัฐบาล” ประธานคณะกรรมการนโยบาย ปชป. กล่าวย้ำในตอนท้าย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"