'รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม'ประชันการแสดงพื้นบ้าน 4 ภาค


เพิ่มเพื่อน    

ศิลปะการแสดงมโนราห์ วัฒนธรรมปักษ์ใต้

 

     เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 2 เมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้าผู้ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน พุทธศักราช 2562 “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณทรงพลิกฟื้นศิลปะการแสดงพื้นบ้านด้วยพระบารมี นำมาสู่การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั่วไทยมีการสืบสาน ถ่ายทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้กับเด็กและเยาวชน โดยการประกวดครั้งสำคัญนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ       

      วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) บอกเล่าการจัดประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านครั้งนี้ในงานแถลงข่าวว่า วธ.ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันให้กับเด็กและเยาวชนที่มีทักษะในด้านศิลปะการแสดงอย่างสร้างสรรค์ และพัฒนาต่อยอดทักษะด้านดนตรีและนาฏศิลป์ไทยจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับชาติและนานาชาติ สร้างความภาคภูมิใจในมรดกภูมิปัญญาของชาติ การประกวดจัดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 จนปัจจุบัน ผู้ที่เคยคว้ารางวัลจากเวทีนี้ไปสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิของไทยบนเวทีโลก

      " ผู้เข้าประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านจะได้แสดงความสามารถตามประเภทที่แข่งขัน โดยการร้อยเรียงดนตรีและการแสดงที่หลากหลายในรูปแบบบูรณศิลป์ หรือรวมศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือ มีสะล้อ ซอ ซึง ขับซอ ภาคอีสาน มีโปงลาง แคน มาสร้างสรรค์การแสดงชุดใหม่ ประกอบด้วยบทร้อง ท่ารำ ท่วงทำนอง ที่ไม่เคยใช้ประกวดมาก่อน และเสนออัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน โดยมีเนื้อหาบางช่วงแสดงเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น" วีระ กล่าว

 วีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วธ. และผู้บริหาร สวธ. จัดประกวดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ

 

     การประชันรวมศิลป์แผ่นดินสยาม 4 ภูมิภาคนี้ จะมีคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นกรรมการตัดสิน สอดรับนโยบายส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถเล่นดนตรี นาฏศิลป์และศิลปะการแสดงได้อย่างน้อย 1 ชนิด เพื่อเสริมสร้างค่านิยมและความเป็นไทย

      อานันท์ นาคคง อาจารย์ประจำคณะดุริยางศาสตร์ ม.ศิลปากร กล่าวว่า การแสดงพื้นบ้านมีความพิเศษอยู่ที่ความเรียบง่ายและเข้าถึงได้ง่ายเมื่อเทียบกับการแสดงศิลปะชั้นสูง โดยมีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่การแสดงพื้นบ้านปรากฏอยู่ รวมถึงมีการนำสิ่งแวดล้อมรอบตัวในวิถีชีวิตแต่ละภาคมาสร้างสรรค์ศิลปะแขนงนี้ให้มีเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี ตลอดจนท่าทางการร่ายรำที่งดงาม

      " วันที่ 2 เมษายน เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย คนไทยต้องร่วมสืบสานอย่างสร้างสรรค์และสืบทอดให้คงอยู่ เพื่อรักษาความเป็นชาติไทยที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม ทรงพัฒนาทำให้วัฒนธรรมหลายแขนงที่กำลังจะจบชีวิตฟื้นคืนขึ้นมา การประกวดครั้งนี้เป็นการสืบสานพระปณิธานและสร้างความยั่งยืนด้านดนตรีและนาฏศิลป์ " อานันท์ กล่าว

การฟ้อนอันงดงามนาฏศิลป์พื้นเมืองล้านนา

 

      ว่าที่ร้อยตรีจตุพร ภักดี อดีตแชมป์จากการประกวด เผยถึงประสบการณ์ว่า หลังการประกวดได้รับโอกาสในการเผยแพร่ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคกลางในต่างประเทศ เช่น สหรัฐ, อียิปต์,จีน, เกาหลี ฯลฯ ทำให้ชาวต่างชาติซาบซึ้งกับศิลปวัฒนธรรมไทย ภาคภูมิใจได้ร่วมสืบสานมรดกชาติ ล่าสุดร่วมประกวดศิลปะการแสดงพื้นบ้านนานาชาติที่เกาหลี มี 20 ประเทศเข้าร่วม ไทยติดอันดับ 4 สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ประเทศ ฝากถึงผู้เข้าประกวดให้รักษาวัฒนธรรมและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่งดงามควบคู่กันไป

      สำหรับการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านจะประกวดรอบคัดเลือกใน 4 ประเภท ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. จากนั้น คณะที่ผ่านรอบคัดเลือกประเภทละ 3 คณะ รวม 12 คณะ จะได้เข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 30 เม.ย.นี้ ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ กรุงเทพฯ โดยรางวัลชนะเลิศได้รับถ้วยพระราชทาน พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล 100,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 รับถ้วยเกียรติยศจาก รมว.วธ. และเงินรางวัล 80,000 บาท รองอันดับ 2 รับถ้วยเกียรติยศ และเงินรางวัล 60,000 บาท นักเรียน เยาวชน และผู้ที่สนใจ ติดตามข้อมูลได้ที่ www.culture.go.th หรือเฟซบุ๊กกรมส่งเสริมวัฒนธรรม www.facebook.com/DCP.culture/.

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"