บอร์ดอิสระเตรียมสรุปผลงาน2ปี ย้ำมีโมเดลปฎิรูปแค่เริ่มต้น การขับเคลื่อนสำคัญที่สุด


เพิ่มเพื่อน    

2เม.ย.62-นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ว่า ขณะนี้เหลือเวลาอีกเพียง 2 เดือน คณะกรรมการชุดนี้ก็จะหมดวาระลงแล้ว ดังนั้นที่ประชุมจึงได้พิจารณาที่จะลดระดับเครื่องบินเพื่อลงจอดสนามบินได้อย่างเรียบร้อยราบรื่น โดยได้รวบรวมสิ่งที่ได้ทำมาตลอด 2 ปี จัดทำเป็นเอกสารอีกหนึ่งฉบับเป็นรายงานของ คณะกรรมการอิสระฯ เสนอรัฐบาล โดยจะระบุถึงสภาพความเป็นมา ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประเด็นปัญหาและแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ว่า อะไรที่ควรแก้ไขและต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป คาดว่ากลางเดือน พฤษภาคมนี้น่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาบทบาทของการศึกษาเอกชน ซึ่งโรงเรียนเอกชนมีนักเรียนในสังกัดถึง 2.2 ล้านคนจาก 7.7 ล้านคน มีครูถึง 1.4 แสนคน แต่สังคมและภาครัฐก็ยังไม่เห็นความสำคัญ ที่เป็นปัญหาคือรัฐมีการออกกฏหมายที่ควบคุมมากกว่าส่งเสริม ทั้งๆที่เอกชนมีความได้เปรียบในการจัดการศึกษา เพราะมีความคล่องตัวในการปรับให้ตรงกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นต้องมองเอกชนว่าช่วยแบ่งเบาภาระและใช้จุดนี้ให้เกิดประโยชน์แทนที่จะไปควบคุม รวมทั้งต้องแก้ปัญหาการแข่งขันระหว่างรัฐและเอกชนโดยที่รัฐได้เปรียบ ทำให้เกิดความยากลำบากต่อเอกชน

“การปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้ความคาดหวังสูงมาก 2 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการอิสระฯ ลงแรงกันไปเยอะ การพิจารณาของเรามีผลเป็นที่น่าพึงพอใจและเป็นการแก้ปัญหาจริงๆ ไม่ใช่เฉพาะหน้า ส่วนผลที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามที่สังคมคาดหวังได้แค่ไหนต้องรอ เพราะการจัดการรูปแบบการปฏิรูปเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่จะต้องมีการขับเคลื่อนต่อถึงจะเกิดผลในการปฏิรูปอย่างแท้จริง ซึ่งมีความหวังว่าจะขับเคลื่อนได้ดี” ประธานคณะกรรมการอิสระฯ กล่าว

ด้านนายสมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา (รองเลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า ตนได้เสนอข้อมูลต่อที่ประชุม ว่า ภาคเอกชนเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระในการจัดการศึกษาของประเทศ ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงปริญญาตรี โดยพบว่าเอกชนรับผิดชอบจัดการศึกษาเกือบ 1 ใน 3 หรือคิดเป็นสัดส่วนรัฐต่อเอกชนประมาณ 70:30 แต่สภาพปัญหาที่ผ่านมารัฐยังไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าที่ควร ทั้งๆที่เอกชนจัดการศึกษามีคุณภาพเห็นได้จากคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ตที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ และต้นทุนในการจัดการศึกษาต่ำกว่าภาครัฐ กอปศ.จึงมีข้อเสนอในการส่งเสริมให้การจัดการศึกษาเอกชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรัฐควรจะมองว่าเอกชนเป็นพาร์ทเนอร์ไม่ใช่มาจัดการศึกษาเพราะมุ่งธุรกิจ และสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบดิจิทัล สื่อการเรียนการสอน และการพัฒนาครู รวมทั้งการแก้กฏหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน คำสั่งมาตรา 44 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอกชน รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะจูงใจเอกชน ซึ่งจะปรากฏในรายงานของคณะกรรมการอิสระฯ ด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"