“พาณิชย์” ระบุยาและเวชภัณฑ์โรงพยาบาลเอกชนแพงเวอร์ ห่างจากราคาปกติถึง 300%


เพิ่มเพื่อน    

 

6 เม.ษ. 2562 นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาราคายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชน ผู้ผลิตและผู้นำเข้ายาและเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ และร้านจำหน่ายยาขนาดใหญ่ ได้แจ้งข้อมูลซื้อขาย รวมถึงราคาซื้อและขายมายังกรมฯ ตามกำหนดเส้นตายที่กำหนดไว้วันที่ 4 เม.ย.2562 แล้ว แต่ยังส่งมาไม่ครบทุกราย ซึ่งกรมฯ ได้นำข้อมูลราคามาเทียบเคียงกับราคามาตรฐานที่ได้รับมาจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สมาคมประกันชีวิตและวินาศภัย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ดูแล้วพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของรายการที่มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 1 หมื่นรายการ มีราคาสมเหตุสมผล แต่อีกครึ่งหนึ่ง มีราคาแตกต่างกันมาก ตั้งแต่หลักสิบเปอร์เซ็นต์ไปจนถึง 200-300% หรือมากกว่า

ทั้งนี้ ในจำนวนโรงพยาบาลเอกชนที่กรมฯ ขอให้แจ้งข้อมูลมีทั้งหมด 353 ราย มีจำนวน 295 รายที่จัดส่งข้อมูลให้ และในจำนวนนี้มี 72 ราย ที่กรมฯ ขอให้ปรับปรุงข้อมูลมาใหม่ และไม่ยื่นเลย 58 ราย ส่วนใหญ่เป็นรายเล็ก แต่รายใหญ่ก็มี ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับหนังสือจากกรมฯ ถ้าได้รับ อาจจะอยู่ระหว่างการตอบกลับ เพราะอาจจะส่งข้อมูลวันสุดท้าย คือ 4 เม.ย.2562 กลุ่มที่ส่งหนังสือไปไม่ถึง จะส่งไปซ้ำอีกครั้ง และกลุ่มส่งถึงแต่ไม่ส่งข้อมูลกลับ ซึ่งจะส่งตำรวจดำเนินคดีตามมาตรา 18 (1) ของพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการทุกราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

สำหรับกลุ่มผู้ผลิตและผู้นำเข้า 339 ราย และร้านขายยาขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่แจ้งข้อมูลเข้ามาแล้ว แต่บางรายได้สอบถามเข้ามาว่าจะต้องส่งข้อมูลเป็นรายโรงพยาบาลหรือไม่ หากต้องส่งแบบนี้ จะมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก และราคาขายแต่ละโรงพยาบาลแตกต่างกันตามจำนวนการสั่งซื้อ และยังขึ้นกับระยะทางการขนส่งอีก ซึ่งกรมฯ ได้ขอให้แจ้งข้อมูลราคายาเป็นช่วง และจะขยายระยะเวลาในการส่งให้ด้วย

นายวิชัยกล่าวว่า หลังจากได้ข้อมูลต่างๆ และวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนแล้วเสร็จ คณะทำงานฯ จะเสนอให้คณะกรรมการพิจารณามาตรการกำกับดูแลราคายาและเวชภัณฑ์ ที่มีนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานพิจารณามาตรการที่จะนำมาใช้กำกับดูแล จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เห็นชอบอีกครั้ง และจะนำรายละเอียดราคาของแต่ละโรงพยาบาลไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ของกรมฯ ซึ่งจะมีราคายาแต่ละชนิด ค่าเวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาล โดยผู้บริโภคสามารถเข้าไปดูและเปรียบเทียบราคาได้

ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่ตั้งราคาไว้สูงเกินสมควร กรมฯ จะเชิญมาพูดคุยว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และจะขอให้ปรับราคาให้สอดคล้องกับต้นทุน ถ้าไม่ปรับลด จะขอให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบทำการรักษาสิทธิ์ของตัวเอง ร้องเรียนเข้ามายังกรมฯ ซึ่งกรมฯ จะเข้าไปจัดการให้ตามกฎหมาย โดยมีโทษตามมาตรา 29 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการสูง จำคุก 7 ปี ปรับ 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ก่อนหน้านี้ คณะทำงานฯ ได้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นฐานในการกำหนดราคายาและเวชภัณฑ์ รวมถึงบริการทางการแพทย์ จากกระทรวงสาธารณสุข กรมบัญชีกลาง ผู้ผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศ ราคาซื้อและขายของโรงพยาบาลเอกชน การเบิกเงินจากผู้เอาประกันทั้งในส่วนของประกันวินาศภัย และประกันชีวิต และราคาจากร้านขายยาขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ได้ข้อมูลครอบคลุมอาการที่ฉุกเฉินจำเป็น รวม 10,046 รายการ ประกอบด้วย กลุ่มยา 3,892 รายการ กลุ่มเวชภัณฑ์ 868 รายการ และกลุ่มค่ารักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นๆ 5,286 รายการ
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"