สอศ.-สพฐ. หาริอทำแผนปฎิบัติการสร้างสะพานเชื่อมสายสามัญกับอาชีวะ ทำลายกำแพงกีดกั้นในอดีต


เพิ่มเพื่อน    

14ทิ.ย.62-ที่โรงแรมอัมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก - สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการสะพานเชื่อมโยงการจัดศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการอาชีวศึกษา โดย นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) ในฐานะปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมเพื่อบูรณาการ การทำงานเพื่อเป็นสะพานเชื่อมโยงการจัดการศึกษาระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการผลิตและพัฒนากำลังคนในการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษาร่วมกัน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และเป็นแนวทางในการศึกษาต่อในสายอาชีพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอนาคตให้เยาวชนของประเทศ ซึ่งเป้าหมายสำคัญ คือ การทำให้เด็กค้นพบตัวตนได้เร็วที่สุด เพราะที่ผ่านมาเด็กระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่มีโอกาสนั้น แต่ในระยะ 2-3 ปีมานี้ สพฐ.ได้วางพื้นฐานให้เด็กไว้แล้ว โดยทำหลักสูตรระยะสั้น หรือ short course ให้เด็กเลือกเรียนเพื่อค้นหาตัวตน ดังนั้นหลังจากการประชุมครั้งนี้ขอให้ประธานอาชีวศึกษาจังหวัด (อศจ.) เป็นเจ้าภาพเชิญ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษามาประชุมทำหลักสูตรระยะสั้น หรือหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ร่วมกัน ทั้งนี้ขอให้เชิญศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) มาร่วมด้วยเพื่อจะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)ให้การสนับสนุนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในรายจังหวัด จากนั้นจะมีการคัดเลือกจังหวัดที่จะเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนอย่างน้อยภาคละ 1 จังหวัดเพื่อขยายผลต่อไป

“แนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ เราจะมีการทำสะพานเชื่อมโยง แบ่งเป็น 5 สาย คือ สะพานระหว่างฝ่ายบริหารของ สพฐ.และ สอศ. 2.สะพานระหว่างครูขั้นพื้นฐานและครูอาชีวะ 3.สะพานระหว่างนักเรียน 4.สะพานผู้ปกครอง ที่เราจะต้องสื่อสารให้เกิดความรับรู้ว่าการเรียนสายอาชีพ หรือสายสามัญไม่ได้มีอะไรที่ดีกว่าหรือเหนือกว่ากัน แต่การเลือกเรียนควรขึ้นอยู่กับตัวตนของเด็กและความสนใจ และ 5.สะพานระหว่างชุมชนกับสถานประกอบการ ซึ่งการขับเคลื่อนในลักษณะนี้ แม้ว่าผมและนายสุเทพ จะเกษียณอายุราชการแล้ว การส่งต่อภารกิจก็จะง่ายและเกิดการดำเนินการที่ยั่งยืน เพราะประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือการตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ”ปฏิบัติหน้าที่เลขาฯ กอศ.กล่าว

ด้าน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) ในฐานะปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรากฐานสำคัญของการจัดการอาชีวศึกษา ความร่วมมือครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่ส่วนราชการได้บูรณาการทำงานร่วมกันโดยมีโจทย์ใหญ่คือปัญหาประเทศต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งการศึกษามีส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ ดังนั้น สพฐ.และสอศ. ต้องรีบดำเนินการ และต้องทำต่อเนื่องในการผลิตพัฒนานักเรียนสายอาชีพ ดังนั้น สพฐ.ต้องวางรากฐานการเรียนสายอาชีพให้นักเรียน ซึ่งการแนะแนวให้นักเรียนไปเรียนอาชีวะ เป็นการแก้ไขปัญหาปลายเหตุไม่ได้เพิ่มผู้เรียนอย่างจริงจัง สพฐ.และสอศ. ต้องทำลายกำแพงที่กั้นการศึกษาระหว่างกัน และสร้างสะพานเชื่อมโยงการศึกษาร่วมกัน ‬เพื่อตอบโจทย์ของประเทศ ว่าประเทศต้องการกำลังคนอาชีวะจำนวนมาก ทั้งนี้สพฐ. และสอศ.ต้องร่วมมือกันปรับทัศนคติทำความเข้าใจให้ตรงกัน เปลี่ยนค่านิยมของเด็กและผู้ปกครองโรงเรียนต้องไม่หวงเด็ก ต้องปล่อยเด็กให้ไปเรียนสายอาชีพ ซึ่งหากสามารถเอาจริงเอาจังได้อย่างนี้จะสามารถแก้ปัญหาการศึกษาของชาติได้อย่างแน่นอน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"