ไฟไหม้แล็บอาวุธชีวภาพ รัสเซียยันไม่มีไวรัสปนเปื้อน


เพิ่มเพื่อน    

รัสเซียยืนยันว่า เมื่อวันจันทร์เกิดเหตุระเบิดและไฟไหม้ภายในศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพในเขตไซบีเรีย ที่เคยเป็นแล็บอาวุธชีวภาพสมัยสหภาพโซเวียต แต่ไม่มีไวรัสปนเปื้อนสู่ภายนอก เผยอาคารหลายชั้นแห่งนี้เป็นที่เก็บตัวอย่างไวรัสอันตราย ทั้งอีโบลา, ฝีดาษ, เอชไอวี และไข้หวัดนก

แฟ้มภาพ ธงชาติรัสเซีย / Vasily MAXIMOV / AFP

    รายงานของเอเอฟพีและบีบีซีเมื่อวันอังคารที่ 17 กันยายน 2562 กล่าวว่า เหตุระเบิดและเพลิงไหม้เกิดขึ้นที่ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและไวรัส "เว็กตอร์" ของรัฐบาลรัสเซีย ที่เมืองโคลต์โซโว ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองโนโวซีบีร์สก์ เมืองที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับสามของรัสเซีย ตั้งอยู่ในเขตไซบีเรีย

    รายงานของสำนักข่าวอินเตอร์แฟกซ์ของรัสเซียระบุว่า เว็กตอร์เป็นศูนย์วิจัยที่เก็บรวบรวมตัวอย่างไวรัสไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งรวมถึงไวรัสอีโบลา ขณะที่เอเอฟพีกล่าวว่า ที่นี่เป็นแล็บเพียง 1 ใน 2 แห่งของโลกที่เก็บตัวอย่างไวรัสฝีดาษไว้ มีรายงานด้วยว่าตัวอย่างไวรัสอันตรายอื่นๆ ของที่นี่ยังรวมถึงไวรัสไข้หวัดนก, เอชไอวี/เอดส์ และไวรัสตับอักเสบชนิดต่างๆ

    รอสโปเตรบทันซอร์ องค์กรกำกับดูแลด้านสาธารณสุขของรัสเซีย กล่าวว่า ไฟไหม้เกิดขึ้นเนื่องจากถังแก๊สระเบิดระหว่างการตกแต่งบนชั้นที่ 5 ของอาคาร 6 ชั้นหลังนี้ แต่จุดที่เกิดเหตุนั้นไม่ใช่พื้นที่ทำงานเกี่ยวกับวัสดุชีวภาพอันตราย

    แรงระเบิดและไฟไหม้ทำให้คนงานโดนไฟลวกบาดเจ็บสาหัส 1 ราย กระจกหน้าต่างแตก ไฟได้ลุกลามพื้นที่กว่า 30 ตารางเมตร แต่ตัวอาคารไม่ได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ในวันนั้น

    กล่าวกันว่า แล็บเว็กตอร์เป็นศูนย์วิจัยอาวุธชีวภาพของสหภาพโซเวียตสมัยสงครามเย็น รายงานของอินเตอร์แฟกซ์กล่าวว่า ศูนย์แห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 เป็นสถาบันลับที่วิจัยวัคซีนและการป้องกันอาวุธเชื้อโรคและอาวุธชีวภาพ

    เหตุระเบิดครั้งนี้เป็นอุบัติเหตุรุนแรงที่เกิดกับสถาบันหรือหน่วยงานของรัฐบาลรัสเซียอีกครั้งในปีนี้ เมื่อเดือนสิงหาคมเกิดเหตุไฟไหม้คลังแสงในเขตไซบีเรีย ทำให้เกิดระเบิดรุนแรงหลายระลอก มีคนเสียชีวิต 1 คน และทำให้ต้องอพยพประชาชนนับหมื่นคน

    เดือนเดียวกัน เกิดระเบิดที่ฐานทดสอบมิสไซล์ของรัสเซียในเขตห่างไกลทางเหนือของประเทศ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานด้านนิวเคลียร์เสียชีวิต 5 คน และตรวจพบว่าระดับกัมมันตภาพรังสีในอากาศเพิ่มขึ้น รัฐบาลรัสเซียปฏิเสธจะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุระเบิดครั้งนั้น ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กล่าวว่าไม่มีภัยคุกคามจากกัมมันตภาพรังสีเพราะการระเบิดครั้งนี้

    แล็บเว็กตอร์แห่งนี้เคยเกิดอุบัติเหตุทางชีวภาพมาแล้วเช่นกัน บีบีซีอ้างรายงานของหนังสือพิมพ์คอมเมอร์ซันต์ว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 นักวิทยาศาสตร์หญิงคนหนึ่งเสียชีวิตเพราะพลาดจิ้มเข็มฉีดยาใส่ไวรัสอีโบลาโดนมือตนเอง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"