‘IMF’ชงไทยล้วงทุนสำรอง สมคิดปัดแต่รับธปท.ศึกษา


เพิ่มเพื่อน    

 “ไอเอ็มเอฟ” ย่องเงียบหารือชงแนวคิดล้วงเงินสำรองทางการมาหาประโยชน์ “สมคิด” แบ่งรับแบ่งสู้บอกคนไทยอนุรักษนิยม แต่รับแบงก์ชาติศึกษาอยู่ “บิ๊กตู่” ประชุมดิจิทัล โอ่ 6 เดือนภาครัฐเลิกเรียกสำเนาบัตรประชาชน-ทะเบียนบ้านเมื่อติดต่องาน เตือนระวังบิตคอยน์ 

     เมื่อวันที่ 9 มี.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือกับนาย Markus H.Rodlauer รองผู้อำนวยการกรมเอเชียและแปซิฟิก และผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่าไอเอ็มเอฟเดินทางมาพบหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทยและหลายประเทศ เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจ โดยไอเอ็มเอฟชื่นชมที่เศรษฐกิจไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น และเห็นด้วยกับแนวนโยบายของไทยที่พยายามสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาเรื่องดิจิทัลและเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อการเติบโตในระยะยาว 
       นายสมคิดกล่าวว่า ไอเอ็มเอฟได้สอบถามถึงสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งบอกว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้การจับจ่ายใช้สอยบางส่วนอาจลดลง อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลเข้าไปดูแลไม่ให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นเร็วเกินไป นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟได้ตั้งข้อสังเกตว่าไทยมีส่วนเกินของทุนในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมาก โดยมีมากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งเงินส่วนนี้เมื่อมีมากเกินไป ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า และกระทบต่อภาคการส่งออก จึงเสนอว่าไทยควรนำบางส่วนที่อยู่ออกไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น แล้วนำผลตอบแทนที่ได้กลับมาจัดตั้งเป็นกองทุนดูแลผู้สูงอายุ หรือจัดสรรเป็นสวัสดิการสำหรับดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย
    “ได้บอกกับไอเอ็มเอฟว่าแนวคิดดังกล่าวยังต้องทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะไทยไม่คุ้นเคยกับแนวคิดในการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุน คนไทยยังมีแนวคิดอนุรักษนิยมเกี่ยวกับเรื่องนี้ เหมือนกับการลงทุนของ กบข. หรือกองทุนประกันสังคม ก็ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มีการศึกษาเรื่องนี้อยู่” นายสมคิดกล่าว
    วันเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2561 โดยนายกฯ ย้ำในที่ประชุมว่า แนวทางขับเคลื่อนประเทศ ทั้งส่วนราชการ ภาคธุรกิจ และประชาชน ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีการกำหนดโรดแมปที่ชัดเจนในแต่ละขั้นตอน เพราะการใช้ดิจิทัลจะเป็นเครื่องมือที่ดีในการตรวจสอบและสร้างความโปร่งใสในการบริหารราชการที่รวดเร็ว อำนวยความสะดวก และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ มากขึ้น
    ทั้งนี้ ผลการประชุมเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ชุด ได้แก่ 1.อนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลด้านการบริการประชาชน เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนด้วยดิจิทัล เพื่อให้เกิดเป็นบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (วันสต็อปเซอร์วิส) 2.อนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรภายในองค์กรภาครัฐ 3.อนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ด้านการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนและตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายประเทศ รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุกระดับและทุกมิติ และ 4.อนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ด้านความมั่นคงปลอดภัยในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลภาครัฐที่มีความมั่นคงปลอดภัย ทั้งนี้ แต่ละชุดจะเป็นรูปแบบของการทำงานอย่างรวดเร็ว และได้รับผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้หารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
    สำหรับมาตรการเร่งด่วนที่ดำเนินการได้ทันทีและจะเห็นผลใน 3 เดือน จะมีระบบที่สามารถวิเคราะห์และแสดงความสัมพันธ์และความซ้ำซ้อนของนโยบายต่างๆ และใน 6 เดือน ภาครัฐจะเลิกเรียกสำเนาเอกสารจากประชาชน เมื่อต้องติดต่อหน่วยงานรัฐ เพื่อลดภาระประชาชน อาทิ สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น และใน 1 ปี จะมีระบบบริหารทรัพยากรภายในองค์กรภาครัฐให้เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานรัฐทั้งประเทศ และมีมาตรฐานการเชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐกับภาครัฐและเอกชนที่มีความมั่นคงปลอดภัยทั้งรัฐบาล
ในช่วงค่ำ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ตอนหนึ่งถึงการระดมทุนด้วยเงินดิจิทัล หรือ ICO ว่าเป็นเรื่องใหม่ ขอให้ผู้ที่สนใจจะไปลงทุนต้องระมัดระวังให้มาก ต้องศึกษาให้ดีถึงความเสี่ยงที่ตามมาด้วย เพราะรัฐบาลกำลังดำเนินการในด้านกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้ ให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้  ไม่เป็นช่องว่างในการก่ออาชญากรรมและการทุจริตต่างๆ
    “ผมขอให้ติดตามในเรื่องนี้ให้ชัดเจนก่อน อย่าเพิ่งผลีผลาม เห็นแก่ประโยชน์ที่จะได้รับ โดยยังไม่ได้ศึกษาให้ดี เรายังไม่มีกฎหมายออกมากำกับดูแลอย่างชัดเจน เพราะกำลังทำอยู่ ผมก็ไม่อยากให้เกิดความเสียหายตั้งแต่บัดนี้กับนักลงทุนและประชาชน ไม่อยากให้เป็นหนี้เป็นสิน หรือต้องสูญเสียทรัพย์สินไปโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"