เครือข่ายสงขลาต้านโครงการต้นแบบอุตสาหกรรมจะนะ ชี้ศอ.บต.จุดไฟขัดแย้งชนวนใหม่ในพื้นที่


เพิ่มเพื่อน    

13 พ.ย.62-กลุ่มประชาชนในนาม เครือข่ายคนสงขลาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แถลงการณ์ร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมติ ครม. 7 พ.ค. 62 และโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมฯ จะนะ ที่กำลังทำลายอนาคตคนสงขลา และคนภาคใต้  โดยระบุว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการขยายผลแนวนโยบาย  “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการพัฒนา 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คืออำเภอจะนะ นาทวี  เทพา  และสะบ้าย้อย  ไปสู่เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต 

หลังจากมีมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในเดือนมิถุนายน 2562 เป็นต้นมา ปรากฏว่าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้มีการจัดเวทีในพื้นที่โครงการหลายครั้ง ทั้งเวทีเล็ก และใหญ่ จนยังความสงสัยให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว ด้วยว่าในเวทีเหล่านั้นไม่มีการชี้แจงข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวกับโครงการเมืองต้นแบบแต่อย่างใด มีเพียงการรับฟังความคิดเห็นด้านความต้องการ ข้อเสนอ และข้อห่วงกังวลของคนในชุมชน หากมีโครงการฯเกิดขึ้นในพื้นที่ และยังมีการห้ามมิให้คนซึ่งอยู่นอกหมู่บ้านหรือตำบลใกล้เคียงแสดงความคิดเห็นในเวทีดังกล่าวนั้น ด้วยเหตุผลว่าไม่ใช่คนในพื้นที่ ทั้งๆที่อยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียงกันก็ตาม  ในขณะเดียวกันผู้ดำเนินรายการหลักของแต่ละเวทีได้มีการใช้อาสาสมัครที่เป็นคนในหมู่บ้านเดียวกัน ที่ไม่ได้มีข้อมูลหรือความรู้ของโครงการแต่อย่างใดจึงไม่สามารถอธิบายข้อสงสัยใดๆให้กับชาวบ้านในพื้นที่ได้ จึงเพียงแค่จัดเวทีเพื่อให้มีการเซ็นชื่อของชาวบ้านเท่านั้น

ที่ผ่านมาทราบว่าเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ได้มีการยื่นหนังสือขอทราบข้อมูลโครงการไปแล้วหลายครั้ง เพื่อต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจ และให้แสดงข้อมูลที่เป็นความจริงอย่างรอบด้าน หากแต่ทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กลับมิได้รับฟังข้อเรียกร้องดังกล่าว และยังเดินหน้าดำเนินการในลักษณะดังกล่าวต่อไป จึงกำลังกลายเป็นความขัดแย้งรูปแบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่ต้องการให้หน่วยงานของรัฐในพื้นที่อย่างเช่น ศอ.บต. ได้เป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ หาใช่เป็นผู้สร้างความขัดแย้งเสียเอง

ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562  ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้มีการชักชวนให้ชาวบ้านด้วยวิธาการต่างๆเพื่อให้เดินทางไปเข้าร่วมเวทีที่ ศอ.บต.จัดขึ้น โดยมีการเสนอให้ชาวบ้านที่เข้าประชุมสามารถของบประมาณของรัฐได้ และยังมีการชี้แจงเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินในพื้นที่โครงการรวมอยู่ด้วย ทั้งที่การออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่โครงการดังกล่าวส่วนใหญ่แล้วเป็นของนายทุนนอกพื้นที่ จึงเสมือนเป็นการใช้ชาวบ้านเป็นเครื่องมือ เพื่อหวังให้ชาวบ้านออกหน้าว่าต้องการเอกสารสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย 

หากแต่ผู้จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้คือผู้ถือครองที่ดินแปลงใหญ่ และมากไปกว่านั้นคือการต้องการแรงสนับสนุนของประชาชนในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน สะกอม และนาทับ จังหวัดสงขลา ให้สนับสนุนโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ซึ่งทางเครือข่ายเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง และไม่ชอบตามหลักกระบวนการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทั้งที่โครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง ศอ.บต. จึงควรให้ความสำคัญกับการดำเนินการดังกล่าวอย่างมีมาตรฐานมากว่าที่เป็นอยู่ ที่ไม่ใช่แค่การจัดเวทีให้เสร็จไปทีเพื่อแลกกับลายมือชื่อประชาชน แล้วนำไปอ้างประกอบรายงานส่งให้กับรัฐบาลว่าประชาชนเห็นด้วยกับโครงการเพียงเท่านั้น 

เครือข่ายคนสงขลาเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน มีความเห็นว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ขาดการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการอย่างรอบด้าน และยังดำเนินไปด้วยความรีบเร่งในช่วงปลายของรัฐบาลประยุทธ์ 1 ซึ่งถือเป็นมติ ครม.ฉบับสุดท้ายก่อนหมดวาระการบริหารงานของรัฐบาล เป็นผลให้การดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ขาดมาตรฐานที่ควรจะเป็น ภายใต้โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่จะต้องคำนึงถึงกระบวนการมีส่วนรวมและสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในพื้นที่ และเชื่อว่านโยบายดังกล่าวนี้จะยิ่งเพิ่มความทุกข์ สร้างความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น ทั้งที่การดำรงชีวิตปกติก็หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว จึงไม่ควรซ้ำเติมเพิ่มทุกข์ให้มากไปกว่านี้

เครือข่ายฯจึงเสนอข้อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ที่ว่าด้วยนโยบาย“เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ นาทวี  เทพา  และสะบ้าย้อย) ตามเหตุผลดังกล่าวเบื้องต้น และให้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาบนฐานศักยภาพในพื้นที่บนมิติที่แตกต่างกันของฐานภูมินิเวศ เขา ป่า นา เล ทั้งนี้เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสู่ความยั่งยืน และสมานฉันท์ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความความยากจน และความขัดแย้งที่มีอยู่ในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"