การเปลี่ยนแปลงโรงเรียนเชิงระบบ


เพิ่มเพื่อน    

 

โดย Sandbox Sisaket

หัวใจของ Whole School คือการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนเชิงระบบ ประกอบด้วยนวัตกรรม จิตศึกษา PBL และ PLC หัวใจประการแรก คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ซึ่งหมายถึงเราต้องทำให้ระบบหรือโครงสร้างบางอย่างในโรงเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ผิดกฎหรือระเบียบของโรงเรียนให้ได้ก่อน เพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครู เด็ก และผู้ปกครอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่นี้จะเน้นไปที่การทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเรียนรู้ ของครู ของเด็ก และของผู้ปกครอง และในที่สุดเครื่องมือนี้ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรใหญ่เอง

หัวใจประการที่สอง คือ การใช้นวัตกรรม 3 อย่างที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทั้งของครู เด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน นวัตกรรม 3 อย่าง คือ จิตศึกษา PBL และ PLC

จิตศึกษา เป็นกระบวนการที่จะสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างการงอกงามด้านในหรือปัญญาภายใน เป็นนวัตกรรมที่ทำให้ผู้เรียนเข้าไปถึงปัญญาภายใน เสมือนกล้องที่เอาไว้ส่องมองเข้าไปในตนเอง ได้แก่ การมีสติชำนาญเพื่อเท่าทันอารมณ์ การมีสมาธิเพื่อกำกับความเพียรให้สำเร็จ การมีจิตใหญ่เพื่อรักได้อย่างมหาศาล การเคารพคุณค่าในตนเองและคนอื่น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างภราดรภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ปัญญาภายใน คือ ความเข้าใจต่อตัวเองในมิติทางกายภาพและมิติของพลังงานขับเคลื่อน เข้าใจต่อชีวิตและการมีชีวิต เข้าใจต่อโลกและจักรวาล เป็นการเข้าถึงการอยู่อย่างมีเจตจำนงอยู่อย่างเป็นหนึ่งเดียว อยู่อย่างมีความหมายทั้งต่อตัวเองและสรรพสิ่ง ปัญญาภายนอก คือ ความเข้าใจต่อโลกภายนอกทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินชีวิตให้อยู่ได้หรืออยู่ได้อย่างมีคุณภาพ

หน่วยบูรณาการ Problem based Learning (PBL) เป็นกระบวนการที่จะสร้างการเรียนรู้ให้เกิดความงอกงาม ที่จะทำให้เข้าใจโลกภายนอก และได้ทักษะของศตวรรษที่ 21 สำหรับครูต้องใช้คำถาม 3 ระดับ ในการเรียนรู้แบบ Problem-based Learning คำถามแต่ละระดับล้วนมีความสำคัญกับการเรียนการสอน ดังนั้นการเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของครูหรือผู้นำกระบวนการ อย่างไรก็ตามในการจัดกระบวนการเรียนรู้ Problem-based Learning (PBL) คือ การเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานตั้งต้นในการเริ่มศึกษา เพื่อเสาะหาวิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น Problem-based Learning (PBL) คือ การเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานตั้งต้นในการเริ่มศึกษา เพื่อเสาะหาวิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น โจทย์ปัญหาแรกเพื่อชงให้เกิดความสนใจเรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ มักเป็นโจทย์ปัญหาที่ครูตั้งขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้ (Problem 1 : P1) ทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทั้งการค้นหาความรู้และทดลองเพื่อค้นหาคำตอบ ความรู้ที่เกิดกับเด็กมักเป็น 'ความรู้ระดับที่ 3 (K3) : ความรู้ที่ได้จากการสืบค้น' และ 'ความรู้ระดับที่ 2 (K2) : ความรู้ที่ได้จากการนำข้อมูลที่สืบค้นมาคิดวิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติ จนเกิดความเข้าใจ' ก่อนจะทำขั้นตอนสะท้อนคิด (Reflection) ถึงขั้นตอน วิธีการ กระบวนการ และผลลัพธ์ ซึ่งจะเป็นการดีหาก "ผู้เรียนยังไม่ค้นพบคำตอบหรือทางออกของปัญหาที่น่าพึงพอใจ เพราะผู้เรียนจะเกิดคำถามใหม่เพื่อศึกษาต่อด้วยตนเอง จากความสนใจใคร่รู้" ทั้ง 2 นวัตกรรมนี้คือ จิตศึกษาและPBL เน้นที่การสร้างความรู้ให้กับผู้เรียน

กระบวนการสร้างความรู้ให้กับครูและองค์กร คือ Professional Learning Community (PLC) หรือ การสร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อให้ครูได้นำสิ่งที่ปฏิบัติและได้ความรู้ชุดหนึ่งจากการปฏิบัตินั้นมาเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดปัญญาร่วม ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) เป้าหมายของ PLC คือ การสร้างการเรียนรู้ของครูร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนยกระดับความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะสอน มีทักษะในการจัดการเรียนการสอน และจิตวิญญาณของความเป็นครู

(ข้อมูลจากกิจกรรมการอบรมเชิงปฎิบัติการ Super Coach & Master Teachers โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมศรีสะเกษ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์)

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"