จากใจ..ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ก่อนอำลา..เก้าอี้ซีอีโอปตท.


เพิ่มเพื่อน    

 

     

      "คดีทุกอย่างวันนี้อยู่ที่ ปปช. ขอให้รีบตัดสินใจโดยเร็วเพื่อจะได้เป็นแบบอย่างว่า ใครที่ทำทุจริตของเงินที่สาธารณะมาเป็นเงินของตัวเอง จะต้องอยู่ไม่ได้ในสังคม จะต้องเป็นคนที่ถูกแอนตี้ในเรื่องของคอร์รัปชัน เรายอมรับไม่ได้"

 

 

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วยการสร้างเซอร์ไพรส์!! เพราะเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรแห่งนี้จบจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในขณะที่ผู้ว่าฯ ปตท. จากระยะเวลาเกือบ 40 ปีนั้นล้วนจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ทั้งสิ้น

      จากวันที่ 31 สิงหาคม 2561 นายชาญศิลป์ บริหารจัดการงานในฐานะ "ผู้ว่าฯ ปตท.คนที่ 9" มาถึงวันนี้ เขากำลังจะลุกจากเก้าอี้ตัวสำคัญออกไปตามวาระในวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า เขาคาดหวังว่าอยากเห็น "บ้านหลังใหญ่" ที่เสมือนเป็นบ้านหลังที่สองในชีวิตของเขานั้นก้าวเดินไปบนเส้นทางใด เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า บ้านหลังนี้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนั้นยังมีความยึดโยงกับการเมืองแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้

        "งานแรก คือว่าผมดำเนินการในเรื่องของการคัดเลือกและแต่งตั้งซีอีโอ ที่มาแทนเป็นที่เรียบร้อย และได้สร้างซีอีโอต่างๆ ที่อยู่ในบริษัทในเครือก็ครบทุกๆ คนแล้ว และวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือวิกฤติ ที่เกิดขึ้นที่ได้เจอคือเรื่องโควิดทำให้ดีมานด์ของน้ำมัน เรื่องแก๊ส ดีมานด์เรื่องพลาสติกต่ำลงไปเยอะ อันนี้คือวิกฤติที่จะเกิดขึ้นแล้วก็อยากจะฝากทางทีมของซีอีโอใหม่และผู้บริหารรวมทั้งพนักงานต้องป้องกันตัวเอง ต้องระมัดระวัง และปฏิบัติตามของศูนย์เฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นมาในภาวะฉุกเฉิน"

        อันที่สองคือ คดีที่ค้างๆ อยู่ไม่ว่าเป็นคดีที่ ปปช. สองคดี คือ คดี PTTGE คดีโรซลอยด์ อันนั้นควรจะเอาคนที่ผิดออกมาลงโทษให้ได้ จะได้เป็นแบบอย่างว่าจะต้องไม่มีการทำทุจริตจากคนภายนอก และร่วมมือกับคนภายใน อันนี้คือสิ่งที่อยากจะฝากไว้

      สำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ ผมเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทุกคน ถ้าความรู้ความสามารถที่เราตัดสินใจไปแล้ว และด้วยเหตุการณ์ต่างๆ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมา และมันผิดพลาด มันเป็นเรื่องที่เป็นปกติที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจ แต่ในเหตุการณ์ในเวลานี้เป็นเหตุการณ์ที่เราต้องผ่านวิกฤติให้ได้ ต้องดูแลความมั่นคงของพลังงาน แก๊สโดย 50-60% ไปทำไฟฟ้า แก๊สต้องมีตลอดเวลา แก๊สต้องมีเพียงพอ น้ำมัน 40-50% เราขายน้ำมันเรา ต้องมีน้ำมันให้เพียงพอให้กับรถที่จะใช้สำหรับความมั่นคง ต้องมีอย่าให้ขาด

        สุดท้ายคือขอให้พนักงานและผู้บริหารทุกคนรักกันและทำงานเพื่อประเทศชาติ ทำงานเพื่อองค์กรของเราเป็นที่รัก และได้ประโยชน์ในสิ่งที่ควรได้ อย่าไปเอาเงินของคนอื่นไปเป็นของตัวเรา ปตท.กับกลุ่มเรานับว่าเป็นบริษัทที่ดูแลพนักงานได้ดีอยู่แล้ว

        "ผมอยู่กับ ปตท.มาเกือบ 38 ปี มีความมั่นใจว่าองค์กรนี้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และ ปตท.ไม่มีทางพังลงได้จากปัจจัยภายนอก ยกเว้นคนในองค์กรร่วมมือกับคนภายนอกทุจริตด้วยมากกิเลสและทำพังเอง มันก็เหมือนเหล็กจะหักได้ก็เพราะสนิมจากข้างใน ผมจึงให้ความสำคัญกับทุกคนในองค์กร รวมถึงพร้อมปรับเปลี่ยนนโยบาย เพื่อสร้างบรรยากาศและทัศนคติที่ดีในการทำงานให้กับทุกคน" เป็นความในใจของนายชาญศิลป์ ที่บอกกล่าวอย่างตรงไปตรงมาหลังจากถูกถามว่า ปตท.จะรักษาความเป็นมืออาชีพให้ปลอดภัยจากการแทรกแซงทางการเมืองได้อย่างไร ซึ่งเขาก็ตอกย้ำอีกว่า

        ปตท.เป็นบริษัทมหาชน เราต้องทำตามเริ่มตั้งแต่บอร์ดเลย การคัดบอร์ดต่างๆ ต้องมีมาตรฐานและขั้นตอน ถ้ามีประวัติเช็กแล้ว มีสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราก็ไม่เอาเข้ามา และผมก็อยู่ในช่วงที่ทำอย่างนั้นจริง บางคนที่ไม่มีอะไรที่ชัดเจนก็เป็นโอกาส เขายังไม่ถูกตัดสิน และบางครั้งเราเอาภาคสังคมมาช่วยกันดูว่าเป็นอย่างไร นั่นคือสิ่งหนึ่งในเรื่องบอร์ด สำหรับเรื่องการเอาพนักงานเข้ามาทำงาน เรามีกระบวนการคัดแล้วก็ไม่ได้คัดเรื่องเก่งอย่างเดียว เราดูความดีด้วย และสำหรับผู้บริหาร เรียกว่ามีสถาบันพัฒนาผู้นำ ตั้งแต่ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง แล้วคนที่เข้ามาก็มีการดูแลกัน อันนี้เป็นเครื่องมือที่เราใช้การดูแลในเรื่องของความเก่ง ความเป็นมืออาชีพของเรา อันนี้คือสิ่งที่เราทำมาโดยตลอด แล้วควรจะต้องทำไป

        ส่วนเรื่องคดีความที่เขาคาดหวังและอยากเห็นความชัดเจนนั้น ก็เพราะ ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจระดับแนวหน้าที่เสมือนเป็นภาพลักษณ์ของประเทศ การเป็นต้นแบบหรือโมเดลในการบริหารจัดการที่โปร่งใสถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งยวด

        "คดีทุกอย่างวันนี้อยู่ที่ ป.ป.ช. และมีการฟ้องร้องกันไปที่ศาลแพ่ง และมีการฟ้องร้องไปที่ศาลอาญาทุจริต คนที่เราฟ้องไปที่ ป.ป.ช. เนื่องจากว่ามีคนทั้งภายในภายนอกที่เกี่ยวข้อง ป.ป.ช.ก็ดำเนินการมาแล้ว ผมเข้าใจว่าปีนี้เป็นปีที่ 6 แล้ว ก็หวังว่าในเรื่องของปาล์มอินโด ป.ป.ช.คงจะส่งฟ้องในไม่นานนี้ เพราะประกาศมา 3 ปีแล้วว่าจะส่งฟ้อง แต่คงมีความซับซ้อน คงมีประเด็นเรื่องข้อมูล คงมีประเด็นเรื่องของการที่มีการฟ้องกันไปมาของเจ้าหน้าที่ของ ป.ป.ช.ด้วยก็เข้าใจได้ แต่ว่าขอให้รีบตัดสินใจโดยเร็วเพื่อจะได้เป็นแบบอย่างว่า ใครที่ทำทุจริตของเงินที่สาธารณะเป็นเงินของตัวเองจะต้องอยู่ไม่ได้ในสังคม จะต้องเป็นคนที่ถูกแอนตี้ในเรื่องของคอร์รัปชัน เรายอมรับไม่ได้"

        ความหวังจะเห็น ปชช.สร้างความชัดเจนกับ 2 คดีใหญ่ที่เคยเป็นข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์ทุกฉบับนั้น คงต้องร้องเพลง..รอๆๆๆ ต่อไป

        ไม่ว่าจะเป็นกรณีกระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สหรัฐอเมริกาได้ตรวจสอบพบว่า บริษัท โรลส์-รอยซ์ เอ็นเนอร์จี ซิสเต็ม อิงค์ ได้ตัดสินบนผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) จำกัด (มหาชน) กว่า 11 ล้านดอลลาร์ หรือราว 385 ล้านบาท ในช่วงปี 2546-2556 เพื่อให้ซื้อเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ มาใช้ใน 6 โครงการของ 2 บริษัทการดำเนินธุรกิจของ ปตท.

        ตามด้วยกรณีคดีทุจริตโครงการลงทุนธุรกิจปาล์มน้ำมันที่ประเทศอินโดนีเซียของพีทีทีจีอี มีที่มาจากการที่ ปตท.ได้ตรวจพบหลักฐานความผิดปกติในการลงทุนโครงการดังกล่าว จึงมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1.คดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหาย มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท อันเป็นมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการลงทุนของพีทีทีจีอี ซึ่งส่งฟ้องศาลแพ่งไปตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2558 2.คดีอาญาที่คณะกรรมการ ปตท.มีมติให้ส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช.เพื่อพิจารณาเมื่อเดือนมกราคม 2556 โดยปัจจุบันเรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามลำดับ

        เพราะเดือนหน้า ชาญศิลป์ นุชกร กำลังจะเป็นอดีตผู้ว่าฯ ปตท. ดังนั้นจะให้ดีคงต้องมอบภาระอันเป็นความคาดหวังสำคัญในประเด็นการนำคนผิดมาลงโทษเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างให้กับซีอีโอคนที่ 10 "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" กระมัง!!.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"