Pooled Sample Testing  "วิธีใหม่ปูพรม ตรวจหาเชื้อโควิด แบบรวมกลุ่ม"


เพิ่มเพื่อน    

 

ยังเป็นที่เคลือบแคลงปนหวาดวิตก ๆในสังคมว่าในช่วงที่สถานการณ์ไวรัสโควิด-19  ยังระบาด และพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน แม้ในช่วง2-3วันมีตัวเลขไม่ถึงหลักร้อย นับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี แต่ก็ยังมีความสงสัยว่าอาจจะมีคนจำนวนหนึ่ง ที่ติดเชื้อแล้วแต่ไม่แสดงอาการ  และอาจจะแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ ซึ่งหัวใจหลักของการปลดล็อกข้อสงสัยวิตกกังวลนี้ได้ก็คือ การขยายตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด ในประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่เป็นได้ ซึ่งขณะนี้่มีผู้ได้รับการตรวจหาเชื้อไปแล้ว ประมาณกว่า 7หมื่นราย 


แต่การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระดับหลักเป็นแสนหรือสองแสนคนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีข้อจำกัดทั้งกำลังคนและทรัพยากรค่าใช้จ่ายงบประมาณต่างๆ   ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ  ตั้งแต่ชุดตรวจหาเชื้อที่มีหลักพันกว่าบาท  หน้ากากN95และชุด PPE  ที่บุคคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใช้ ซึ่งกำลังขาดแคลน อย่างหนักเพราะเป็นที่ต้องการทั่วโลก


ล่าสุด ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้เสนอวิธีการตรวจแบบใหม่ ที่เรียกว่า Pooled Sample  Testing  หรือวิธีการตรวจแบบรวมกลุ่มหาผู้ติดเชื้อโควิด-19   ซึ่งจะมีในแง่สามารถตรวจหาผู้ติดเชื้อได้จำนวนมากๆ ในเวลาที่น้อยกว่าการตรวจเป็นรายบุคคล ประหยัดเวลาและทรัพยากรต่างๆ ที่ขาดแคลน โดยมองว่า ความสามารถในการตรวจหาเชื้อโควิด ต่อวันในบ้านเรา ยังเป็นปัญหาคอขวด  และจากสมมุติฐานที่คิดว่า คนไทยอาจจะมีการติดเชื้อจำนวนมากเป็นหลักหมื่น หรือหลักแสนก็เป็นได้  ก็เป็นได้  จึงต้องมีการคัดกรองหาคนที่ติดเชื้อให้มากที่สุด  แต่ห้องปฎิบัติการของเรา สามารถตรวจได้ไม่เกิน 1 พันคนต่อวัน  วิธี ที่จะนำเสนอคือให้ตรวจแบบ pooled Sample  Testing ซึ่งพัฒนามาจากโจทย์คณิตศาสตร์  ใช้วิธีเก็บตัวอย่างแต่ละกลุ่มมารวมกัน แล้วตรวจครั้งเดียว ถ้าผลออกมาเป็นบวก  ค่อยแยกกลุ่มตรวจทีละกลุ่ม เพื่อหากลุ่มที่มีคนติดเชื้อ ถ้ากลุ่มไหนผลออกมาเป็นบวก ให้แยกตรวจเป็นรายบุคคลในกลุ่มนั้น  ซึ่งแต่ละคนที่ตรวจ จะต้องเก็บตัวอย่างสองครั้ง  วิธีการนี้จะเพิ่มความเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาได้มาก เทียบกับวิธีการตรวจแบบเดิมจะตรวจได้ 200 คน ในเวลา 12 ชั่วโมง แต่วิธีใหม่นี้  จะตรวจได้ 1,000 คน ในเวลา 13 ชั่วโมง เร็วกว่าเดิมถึง 35เท่า ประหยัดอุปกรณ์ สารเคมีและเวลาได้มากกว่ามาก  ที่สำคัญ สามารถเพิ่มจำนวนผู้ได้รับการตรวจได้จำนวนที่มากกว่าเท่าทวีคูณ


ดร.ชูกิจ  กล่าวอีกว่า วิธีตรวจแบบกลุ่ม ไม่ได้เป็นวิธีการใหม่ เพราะใช้ในการตรวจเลือดที่บริจาค ก็มีการนำเลือดมารวมกัน ถ้าตรวจผ่าน ก็ผ่านทีเดียวเลย ไม่ต้องแยกตรวจเป็นรายบุคคล สำหรับตรวจโควิด นั้น ก็ควรนำวิธีการนี้มาใช้ เพราะน้ำยา และทรัพยากรมีจำกัด คนที่เป็นน้อย การตรวจกลุ่ม จะมีประโยชน์มาก
ผอ.สสวท.กล่าวอีกว่า เทคนิคกาาตรวจแบบ PCR  ที่Swab เชื้อจากโพรงจมูก ปกติคือการเอาเชื้่อมาแล้วมาเพิ่มจำนวนเชื้อ ดังนั้น เป็นการออกแบบ เริ่มจากตัวเชื้อที่น้อยอยู่แล้ว ดังนั้น  การรวมกลุ่มตรวจ ไม่ว่าจะเป็น 4 คนต่อกลุ่ม หรือ 10 คนต่อกลุ่ม ประสิทธิภาพผลที่ได้ยังอยู่ในระดับเดียวกัน    ปัจจุบันการตรวจแบบรวม ไมใได้บอกว่าดีกว่า การตรวจแบบรายบุคคล แต่วิธีการพูลในการตรวจจะทำให้ดูแลคนได้เยอะกว่า และเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน 


"ถ้าเจอคนติดเชื้อ แค่ 1% ใน 100 คน ในทางคณิตศาสตร์ การแบ่ง 10กลุ่ม คุ้มที่สุด ถ้าคาดว่าเป็น  5-10% ให้แบ่งเกลุ่มละ 4  คน จะเพิ่มประสิทธิภาพ 2เท่า   จะคุ้มมากในมุมที่ชุดตรวจ จำกัด  ซึ่งผมได้นำเสนอแนวคิดนี้กับ คุณหมออุดม คชินทร ท่านบอกว่า รัฐบาลจะขยับมาตรการตรวจแบบปูพรมมากขึ้น หมายถึงขยายการตรวจ ไปในกลุ่มคนที่ติดเชื้อแล้ว และคนที่อยากรู้ว่าตนเองติดโควิดแล้วหรือยัง  เพราะคนที่ไม่ช้ดเจนว่า ติดเชื้อแล้วหรือไม่ ทางการแพทย์ หมอจะไม่ตรวจหาเชื้อโควิดให้   ซึ่งถ้าหากมีการตรวจแบบ Pooled  Sample  Testing ก็จะทำให้เขาได้รับการตรวจ  นอกจากนี้  การขยายด้วยถ้าพบคนติดเชื้อเร็ว แน่นอนว่าก็จะทำให้เราคุมการติดเชื้อได้ดีขึ้น  "ศ.ดร.ชูกิจกล่าว
     

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"