เกษตรกรพังงาเฮ! 'ข้าวไร่ดอกข่า' ข้าวพันธุ์ดั้งเดิมได้รับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว


เพิ่มเพื่อน    

27 ก.ค.63 - ที่อำเภอตะกั่วป่า จ.พังงา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ลุยงานเชิงรุกเร่งเดินหน้าคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มอบหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน GI "ข้าวไร่ดอกข่า" ข้าวพื้นเมืองพังงา ให้แก่นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา และมอบหนังสืออนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) แก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการทุเรียนสาลิกาพังงาจำนวน 18 ราย พร้อมสั่งการเร่งผลักดันการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคใต้ เพิ่มช่องทางการตลาดสร้างรายได้ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และเพิ่มศักยภาพเกษตรกรให้เข้มแข็งพร้อมรุกตลาดต่างประเทศ ตามแนวนโยบายด้านการเร่งรัดการขึ้นทะเบียน GI และการอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI ไทย อันจะนำไปสู่การต่อยอดการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ

นายจุรินทร์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนคุ้มครองสินค้า GI ประเภทต่างๆ ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และหัตถกรรม โดยสินค้า GI เป็นสินค้าชุมชนที่มีคุณภาพและลักษณะพิเศษซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ผสมผสานเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น จนทำให้สินค้ามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยในปี 2563 สามารถจด GI ได้ถึง 19 รายการ สร้างมูลค่าการตลาดกว่า 1,000 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดรวมสินค้า GI ที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 126 รายการ สร้างเม็ดเงินให้ชุมชนท้องถิ่นของไทยรวมกว่า 5,378 ล้านบาท

สำหรับข้าวไร่ดอกข่า เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองคุณภาพดีที่มีชื่อเสียงของ จ.พังงา เป็นพันธุ์ดั้งเดิมสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ ต้านทานโรค มีเมล็ดสีน้ำตาลแดงอมม่วง ลักษณะยาวเรียว หุงขึ้นหม้อ และมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นใบเตย สามารถปลูกในไร่และบริเวณที่สูงตามไหล่เขาที่ไม่มีน้ำขัง อาศัยเพียงแค่น้ำค้าง น้ำฝน และความชื้นในดินก็ทำให้เจริญเติบโตได้ ลักษณะทั่วไป เป็นข้าวไร่ข้าวเจ้าที่ไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 332-400 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อสีแล้วขายได้ 60-80 ต่อกิโลกรัม ปลูกมากที่ ต.บางทอง อ.ท้ายเหมือง , ต.ถ้ำ อ.ตะกั่วทุ่ง และ ต.ตากแดด อ.เมืองพังงา เก็บเกี่ยวพฤศจิกายน-ธันวาคม

ส่วนทุเรียนสาลิกานั้น เป็นทุเรียนพื้นบ้านชื่อดังอันดับต้นๆของภาคใต้ ราคาขายกิโลกรัมละ 180-350 บาท  มีถิ่นกำเนิดที่อำเภอกะปง จ.พังงา มีลักษณะที่ผลค่อนข้างกลม คล้ายลูกแอปเปิล สามารถตั้งได้โดยไม่ล้ม ความยาวผลประมาณ 30 เซนติเมตรรวมขั้วผล มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร เปลือกผลบาง หนามสั้นและค่อนข้างถี่ ผลดิบเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อผลแก่สีจะอ่อนลงเล็กน้อย และมีสีน้ำตาลอ่อนบริเวณร่องพู เมล็ดภายในส่วนใหญ่จะลีบ หรือขนาดเล็กเกือบทั้งหมด รสชาติหวานมัน และมีความหวานมากกว่าทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ แต่ละพูมีความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร เนื้อทุเรียนมีสีเหลือง เนื้อหนา ละเอียด ไม่มีเส้นใย เนื้อแน่น ไม่เละ มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์แต่ไม่ฉุน น้ำหนักต่อผลโดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 กิโลกรัม และที่สำคัญ ทุเรียนสาลิกาพันธุ์ของแท้ดั้งเดิมที่ปลูกในพื้นที่อำเภอกะปง บริเวณตรงกลางแกนเปลือกทุเรียนจะมีสนิมแดงทุกผล ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"