จุฬาฯ เปิดเรียน ป้องกันโควิด-19 เต็มอัตรา  


เพิ่มเพื่อน    


10 ส.ค.63-ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย - ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี ด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาฯ พร้อมเปิดการเรียนการสอนภายใต้มาตรการควบคุมในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเต็มที่ แบบครบวงจร ทั้งด้านการป้อ การดูแล และรักษาสุขภาพ ทั้งนี้ในส่วนของการเรียนการสอน จุฬาฯ มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี และจุฬาฯ ยังรับใช้สังคมด้วยการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ เช่น สเปรย์ฉีดเพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ที่ออกแบบให้เบาเป็นพิเศษ หุ่นยนต์หลอดยูวี และเครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น 

สำหรับเรื่องการดูแลเราจะเน้นดูแลสุขภาพอนามัยนิสิตเป็นหลัก เน้นย้ำเรื่องมาตรฐานสุขอนามัยในพื้นที่ มีการทำความสะอาดชัดเจน และดูแลระบบระบายอากาศด้วย พร้อมทั้งได้หยิบหลักการสำหรับนิสิตเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และสุขภาพดีด้วยหลักการ 5 ส  ได้แก่ ส สังเกตตนเอง หากไม่สบายแจ้งอาจารย์และรีบไปพบแพทย์ ส สแกน QR Code ไทยชนะเพื่อ check in – check out เมื่อเข้า-ออกอาคาร ส สอบวัดอุณหภูมิและติดสติ๊กเกอร์ ส สวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และ ส สร้างระยะห่างระหว่างกัน ในแง่การดูแลรักษาสุขภาพของนิสิต และประชาคมจุฬาฯ เรามีศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และตรวจรักษาฟรี ซึ่งเป็นสวัสดิการพื้นฐานของประชาคมจุฬาฯ ทุกคน ดังนั้น หากนิสิตหรือบุคลากรรู้สึกว่าเริ่มป่วย หรือมีอาการที่เข้าข่ายของโรคโควิด-19 ให้รีบมาพบแพทย์ที่นี่ได้ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย คัดกรอง และส่งต่อการรักษาให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป

“ผู้ปกครองและนิสิตหลายคนมีความกังวลผสมความสงสัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1/2563 นี้ว่าจะเป็นอย่างไร ปลอดภัยหรือไม่ นิสิตจะสามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้อย่างเท่าเทียมหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ผมขอย้ำว่านิสิตจะต้องไม่มีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาพื้นฐานที่มหาวิทยาลัยมอบให้ เพราะจุฬาฯ มีมาตรการช่วยเหลือนิสิตที่ขาดแคลนด้านเทคโนโลยี และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้แก่ การมอบทุนการศึกษาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ การมอบซิมโทรศัพท์ 5,000 ซิม แก่นิสิตที่ขาดแคลน เป็นต้น"ผศ.ดร. ชัยพรกล่าว

 สำหรับการเรียนการสอน การสอบประเมินผล และการฝึกงานในภาคเรียนที่ 1/2563 จะเป็นแบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่สามารถยืดหยุ่น สามารถเรียนได้ทั้งในห้องปฎิบัติการ และออนไลน์ ทั้งนี้สามารถปรับได้ตามดุลยพินิจของแต่ละคณะ/หน่วยงาน ตามความเหมาะสมของแต่ละศาสตร์วิชา โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของทุกคนเป็นสำคัญ

ด้านนายรัฐกร ใจเย็น  นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ชั้นปีที่ 3 ในฐานะนายกสโมสรนิสิต จุฬาฯ กล่าวว่า  ตนได้มีการรวบรวมปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของนิสิต ว่ามีความต้องการได้รับการสนับสนุน หรือรับสวัสดิการในเรื่องใด ก็จะเสนอให้ผู้บริหารพิจารณา สำหรับการเรียนออนไลน์ต้องยอมรับว่าจะมีปัญหาอยู่บ้าง  ซึ่งทางนิสิตขอให้มหาวิทยาลัยแก้ไขปัญหาอุดรูรั่วในการสอบ เช่น โปรแกรมการทำข้อสอบค้าง ไม่สามารถเปลี่ยนข้อได้ ทำให้ทำข้อสอบไม่ทันตามที่ระยะเวลากำหนด  และมีข้อสังเกตว่า ข้อสอบออนไลน์อาจจะมีปัญหาข้อสอบรั่ว และส่งผลให้คะแนนในรายวิชานั้นเฟ้อได้ ซึ่งตนได้หารือกับนายกสโมสรของแต่ละคณะ ให้รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อดำเนินการแก้ไข


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"