'นภันต์ เสวิกุล' ช่างภาพตามเสด็จ เล่าเรื่องเนื่องในวันกาแฟสากล น้อมรำลึกถึงในหลวง ร.9


เพิ่มเพื่อน    

1 ต.ค.63 - นายนภันต์ เสวิกุล ผู้บันทึกย่างพระบาทที่ยาตรา ช่างภาพผู้ถวายงานการบันทึกภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โพสต์เฟซบุ๊กถ่ายทอดเรื่องราวการพัฒนาชาวไทยภูเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ 9 โดยระบุว่า วันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันกาแฟสากล แต่สำหรับคนไทยทุกคน โดยเฉพาะอยู่ที่อยู่ในวงการกาแฟน่าจะทราบมากกว่านั้น ว่า กาแฟไทย คือสัญลักษณ์ของการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน

เมื่อหลายสิบปีก่อนโน้น ภูเขาสูงในภาคเหนือ ไม่มีหรอก ที่จะเขียวๆ สวยๆ มีเมฆหมอกปกคลุมอย่างที่เห็นในสมัยนี้... มองไปทางไหนก็เห็นแต่เขาหัวโล้นไปเสียทั้งสิ้น

ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงทอดพระเนตรเห็น และทรงทราบในพระทัยว่า ถ้าปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ ก็จะกระทบถึงการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตของผู้คนอีกครึ่งประเทศ เพราะภูเขาในภาคเหนือ ล้วนเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของทุกแม่น้ำสำคัญ จึงทรงพยายามค้นหาวิธีฟื้นฟู เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยให้มากขึ้นอย่างมั่นคงถาวร โดยวิธีการที่เรียบง่าย เป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดังเดิม ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานไว้ว่า

“เราจะทำให้ประเทศไทยกลับมีความอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นได้ ขออย่าไปรังแกป่าเท่านั้นเอง”

ขณะเดียวกัน ก็ทรงตระหนักดีว่า งานด้านอนุรักษ์ป่าไม้และต้นน้ำลำธารจะประสบผลดี มีความต่อเนื่องเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจิตสำนึกของชาวบ้านเป็นสำคัญ หากชาวบ้านในพื้นที่ไม่ร่วมใจ ไม่เห็นด้วย งานในพื้นที่นั้นก็ย่อมยากที่จะประสบความสำเร็จ

มีพระราชดำริ ที่จะให้ "คน" อยู่ร่วมกับ "ป่า" ได้อย่างยั่งยืน จึงทรงหาหนทางเปลี่ยนวิถีชีวิตของราษฎร ให้พ้นจากสภาพผู้บุกรุกทำลาย กลายมาเป็นผู้อนุรักษ์ทรัพยากรป่า ทรงเน้นการสร้างจิตสำนึกแก่ราษฎรให้ได้เห็น .. ได้สัมผัส และ รับประโยชน์ได้จริงจากความอุดมสมบูรณ์ของป่า ดิน และน้ำ โปรดเกล้าฯ ให้โครงการหลวงทำการศึกษาวิจัย เพื่อหาไม้ยืนต้นหลายๆชนิด มาส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาปลูกทดแทนฝิ่น

กาแฟ ก็เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คัดเลือกแล้ว .. ได้ต้นกาแฟอราบิก้า สายพันธุ์โคลัมเบีย ที่สามารถขึ้นได้ดีในสภาพใกล้เคียงกับพื้นที่สูงของประเทศไทย ที่สำคัญ การปลูกกาแฟให้ได้ผลดี จำเป็นต้องอาศัยการปลูกให้อยู่ใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ หากการปลูกได้ผลผลิตดี สามารถสร้างรายได้ เกษตรกรชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าก็จะเห็นความสำคัญของป่าไม้ เกิดความรักป่า รักแหล่งอยู่อาศัยของตนเอง ก็จะช่วยกันดูแลรักษาป่ามิให้ถูกทำลาย

ด้วยแนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานนี้ คน กับ ป่า จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน

ทุกวันนี้ เราก็จะเห็นว่า ได้เป็นไปตามพระราชดำริทุกประการ เพราะราษฎรชาวไทยภูเขามีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น ... มีอาชีพทำสวนกาแฟที่เป็นรายได้หลักของครอบครัวปีละมากๆ จากป่าที่พระราชทานให้พวกเขาได้อาศัยทำกิน เป็นป่าที่พวกเขาช่วยกันดูแลรักษาอย่างหวงแหน

ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงมีพื้นที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้า ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 24 ศูนย์ รวมทั้งสิ้นกว่าหมื่นไร่ เกษตรกรกว่า 3,000 ราย ขายผลผลิตผ่านโครงการหลวงปีละเกือบพันตันกาแฟกะลา ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูงได้เป็นอย่างดี

พระมหากรุณาธิคุณนั้น เป็นที่ล้นที่พ้นสุดจะพรรณนา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"