'นายพลส้มหวาน'ทุบโต๊ะ!การวิจารณ์หมวดพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่ควรทำได้


เพิ่มเพื่อน    

20 ต.ค.63- พล.ท.พงศกร รอดชมภู อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ข้อเรียกร้องของประชาชนถือเป็นสิ่งที่ระบบการเมืองต้องรับฟังแล้วนำมาย่อย นำมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับระบบการปกครองโดยไม่ทิ้งความต้องการของประชาชนในสาระสำคัญ จะมีทั้งสิ่งที่ทำได้ และทำไม่ได้ ก็ต้องอธิบายความไป

เรื่องที่น่าจะไม่ควรมองข้ามคือการตกลง จัดที่จัดทางในหมวดพระมหากษัตริย์ตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ข้อเสนอจะเป็นสาธารณรัฐซึ่งเป็นระบอบประธานาธิบดี และไม่ใช่ระบอบราชาธิปไตย

เพื่อไม่ให้เป็นเลือกข้าง จะนำประเด็นพระราชอำนาจของประเทศที่ปกครองระบบรัฐสภาเหมือนของไทย เฉพาะที่สำคัญมานำเสนอ ส่วนจะตกลงกันอย่างไร ประชาชนต้องนำเสนอต่อรัฐสภากันเอง เพราะมีมติไม่แตะต้องกันไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องที่ประชาชนควรเข้าใจ เพื่อไม่ให้มีการนำมาโจมตีหรือพูดเอาประโยชน์ใส่ตัวเองได้ (ห้อยโหน)

ประเทศที่จะเปรียบเทียบจะเริ่มจากสหราชอาณาจักรและเยอรมนีที่คล้ายกับของไทย จากนั้นเป็นญี่ปุ่นที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจชัดเจนและน้อยที่สุด จบด้วยนอร์เวย์ที่มีพระราชอำนาจมากที่สุด ประชาชนมีหน้าที่ทำความเข้าใจและเลือกที่เหมาะสมกับสังคมไทยกันเอง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า ระบอบราชาธิปไตยมีมาก่อน พระมหากษัตริย์ทรงอำนาจอธิปไตย ครั้นกระแสโลกเปลี่ยนไป จำเป็นต้องเป็นระบอบประชาธิปไตย มีการจำกัดพระราชอำนาจที่ไม่จำกัดนั้นโดยรัฐธรรมนูญ

หลักทั่วไปของพระราชอำนาจคือ ห้ามกระทำการใด ๆ ในการปกครองต้องให้รัฐบาลที่เป็นตัวแทนประชาชนเป็นผู้ดำเนินการที่เรียกกันว่าผู้รับสนองฯในกรณีที่เป็นเรื่องระดับชาติต่าง ๆ ที่เห็นในราชกิจจาฯ

ถ้ากระทำการโดยไม่มีผู้รับสนองฯจะถือว่าโมฆะ ดังนั้นจะเป็นกรณีที่เขียนในทุกประเทศว่า พระมหากษัตริย์ทำอะไรก็ไม่ผิด เพราะในระบอบราชาธิปไตยมีอำนาจไม่จำกัดย่อมไม่มีทางผิด ส่วนในระบอบประชาธิปไตยห้ามกระทำการเพื่อไม่ให้หลักการนี้เสียไป ยกเว้นประมุขที่เป็นประธานาธิบดีจะมีการถอดถอนได้เท่านั้น

แล้วรัฐธรรมนูญจะกำหนดว่าทรงทำราชกิจอะไรได้บ้าง ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้างดังนี้

สหราชอาณาจักร

เปิดรัฐสภา ลงพระปรมาภิไธยในกฎหมาย แต่งตั้งรัฐมนตรี แต่งตั้งที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่คณะรัฐมนตรีในส่วนของพระมหากษัตริย์ อภัยโทษ ให้หนังสือเดินทาง เป็นจอมทัพ ประกาศสงคราม ยุบสภา พระราชทานเหรียญตรา

การยุบคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ตามแนวทางของกฎบัตรใหญ่มายกเลิกถาวรปี ค.ศ. ๒๐๑๑ แต่ยังใช้ในประเทศเครือจักรภพได้

เยอรมนี

เรื่องสำคัญมากในยุโรปคือ ก่อนทรงราชย์หรือกรณีประธานาธิบดีต้องปฏิญานตนต่อรัฐสภาใจความสำตัญคือ การปฏิบัติตนตามกฎหมายและปกป้องกฎหมายหลัก (รัฐธรรมนูญ) และกฎหมายของสหพันธ์

ประเด็นนี้ในสหราชอาณาจักรและของไทยที่จำลองมาไม่มี ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการปกป้องรัฐธรรมนูญไม่ใช่หน้าที่ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เห็นมีหลายคนในไทยพยายามบอกว่าทำไมไม่ต้านรัฐประหาร ประเด็นจึงอยู่ที่เรื่องนี้ อยากให้มีก็ต้องใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ รอบหน้าก็อย่าลืม

คำสั่งของประธานาธิบดี ต้องมีนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับสนองฯ นี่แปลว่าประมุขไม่มีอำนาจในทางปกครองเองเหมือนไทยและสหราชอาณาจักรนั่นเอง

แต่งตั้งรัฐมนตรี รวมนายกรัฐมนตรี ยุบสภาเช่นเดียวกัน

แต่งตั้งและถอดถอนผู้พิพากษา ข้าราชการพลเรือนและทหาร เช่นเดียวกันกับไทย

ปกติการบังคับบัญชาทหารของเยอรมนีเป็นของรัฐมนตรีกลาโหมซึ่งต่างจากสหราชอาณาจักรและไทย

ในกรณีที่รัฐสภาประกาศว่าฝ่ายบริหารแทรกแซงกิจการของรัฐสภาจะให้ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแทนนายกรัฐมนตรี

กรณีที่ประมุขเป็นกษัตริย์จะฟ้องร้องมิได้ทุกกรณีจากการสืบสายอำนาจอธิปไตยมาจากอดีต แต่ในเยอรมนีใช้การถอดถอนเหมือนระบอบประธานาธิบดี เฉพาะในกรณีที่ละเมิดกฎหมาย (ตามที่ปฏิญานตนไว้) ให้รัฐสภาด้วยมติ ๒ ใน ๓ ของสมาชิกกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าตัดสินว่าผิดจริงจะให้พ้นจากตำแหน่ง ถือว่าจบ

กรณีที่ตำแหน่งประธานาธิบดีว่างลงให้ประธานรัฐสภาใช้อำนาจแทน

ญี่ปุ่น

พระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ (หมายถึงระบุชัดเจนว่าห้ามทรงงาน) พระราชกรณียกิจกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและต้องได้รับคำแนะนำและเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หากผิดพลาด คณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ (เข้าหลัก The king can do no wrong อย่างชัดเจนไม่ต้องตีความกันอีก ป้องกันเจอศรีธนญชัย สั่งการผิด ๆ แล้วจะเอาตัวรอดโยนความผิดให้สถาบันฯ)

รัฐสภาเสนอชื่อให้พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อประธานศาลสูงสุด (ฎีกา)ให้ทรงแต่งตั้ง (ในยุโรปการแต่งตั้งผู้พิพากษาจะมีคณะตัวแทนจากสภาผู้แทน วุฒิสภา รัฐบาล และผู้พิพากษาจำนวนเท่ากันรวม ๑๒ คนพิจารณา)

พระราชกรณียกิจตามรัฐธรรมนูญมีดังนี้

๑. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประกาศใช้กฎหมาย คำสั่งคณะรัฐมนตรีและสนธิสัญญา
๒.การเรียกประชุมรัฐสภา
๓.การยุบสภา
๔. ประกาศเลือกตั้งทั่วไป
๕.แต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีและข้าราชการผู้ใหญ่ หนังสือมอบอำนาจและพระราชสาสน์ตราตั้งอัครราชทูตขึ้นไป
๖. นิรโทษกรรม ลดหย่อนโทษ อภัยโทษ และคืนสิทธิ
๗. สถาปนาเกียรติยศและเครื่องราชฯ
๘.รับรองหนังสือสัตยาบันและเอกสารทางการทูตอื่น ๆ
๙.การรับทูต
๑๐.การประกอบพระราชพิธี

ทรัพย์สินของราชสำนักเป็นของรัฐ ค่าใช้จ่ายต้องกำหนดไว้ในงบประมาณประจำปีและได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (เช่นเดียวกับไทย แต่มีความชัดเจนขนาดระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ประเพณีปฏิบัติ)

การโอนทรัพย์สินให้ราชสำนักหรือโอนออก มอบให้ใคร ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบก่อน

นอร์เวย์

พระมหากษัตริย์ก่อนทรงราชย์ต้องปฏิญานต่อรัฐสภาก่อนเช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป และมีคำว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายเหมือนกัน สภาพบังคับเช่นการถอดถอนคงไม่มี ฟ้องร้องก็ไม่ได้แต่ปกติถ้าเกิดเหตุทรงทำผิด จะมีประเพณีให้สละราชสมบัติ

ทรงมอบภารกิจให้รัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้ (แตกต่างจากการเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอื่น ๆ ที่กล่าวมา) ทรงแต่งตั้งชาวนอร์เวย์มาเป็นรัฐมนตรีในกรณีพิเศษได้

คณะรัฐมนตรีต้องบริหารประเทศตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามคำแนะนำของพระมหากษัตริย์และในพระปรมาภิไธย

คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงได้ แต่ในกรณีกองทัพจะเป็นพระราชวินิจฉัยเองโดยไม่ต้องผ่านคณะรัฐมนตรี

รัฐมนตรีหากเห็นว่าพระราชวินิจฉัยขัดแย้งกับกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญหรือจะเกิดความเสียหายอย่างชัดแจ้งให้ทำความเห็นแย้งเป็นหนังสือมีเหตุผลประกอบ หากไม่คัดค้านมีความผิดพลาดขึ้น รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบจะถูกถอดถอนโดยสภาฯหรือศาลแล้วแต่กรณี

ข้อเสนอทั่วไปผู้รับสนองคือนายกรัฐมนตรี ยกเว้นเรื่องทางทหาร ให้ทหารผู้เสนอประเด็นนั้น ๆ เป็นผู้ลงนามฯ

ทรงมีพระราชอำนาจที่จะไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายของรัฐสภา และหากพระราชทานคืนมาพร้อมถ้อยแถลงว่าไม่เหมาะสมให้ร่างนั้นตกไป

แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจทางทหาร แต่รัฐธรรมนูญก็จำกัดไว้ว่า รัฐไม่มีสิทธิที่จะใช้กำลังทหารเพื่อต่อต้านพลเมืองของประเทศ ยกเว้นที่กฎหมายอนุญาตไว้เช่นการจลาจล เป็นต้น

..................

จากที่กล่าวมาจะพบว่าพระราชอำนาจของประมุขที่เป็นพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีแตกต่างกันไปตามประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ

สิ่งที่คล้ายกันคือจะมีการจำกัดพระราชอำนาจไว้และอนุญาตเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดจะโดยชัดแจ้งหรือโดยธรรมเนียมปฏิบัติก็ตาม

ในความเห็นของผม การวิจารณ์หมวดพระมหากษัตริย์ด้วยการยกเหตุผลและวิวัฒนาการของสังคมเป็นสิ่งที่ควรทำได้ เพื่อจรรโลงสถาบันฯให้อยู่กับสังคมไทยได้อย่างพอเหมาะ พอควร แต่ไม่ใช่การด่าทอ เสียดสี ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม

การนำสถาบันฯมาเพื่อประโยชน์ของตนโดยที่สถาบันฯเองไม่อาจแสดงความเห็นทางการเมืองได้ตามที่รัฐธรรมนูญจำกัดพระราชอำนาจไว้จึงไม่เป็นการบังควรเช่นกัน

การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคต ควรมีความกล้าหาญที่จะแตะต้องหมวดพระมหากษัตริย์ได้และด้วยเจตนาที่สร้างสรรค์ เพราะปัจจุบันสถาบันฯก็อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นปกติอยู่แล้ว

ส่วนควรจะปรับปรุงเป็นอย่างไรก็สมควรหาความรู้และวิจารณ์กันอย่างจริงจังมากกว่านี้ครับ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"