'นิพิฏฐ์'เขียนบทความตอน 2 'ทำไมประเทศไทยไม่เป็นคอมมิวมิสต์ และไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ?'


เพิ่มเพื่อน    

21 ต.ค.2563- นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เขียนบทความบนโพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ทำไมประเทศไทยไม่เป็นคอมมิวมิสต์ และ ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ?(2)” มีเนื้อหาว่า ผมเขียนเรื่องนี้มาตอนหนึ่งแล้ว วันนี้ ขอต่อเป็นตอนที่ 2

เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์และสถาบันทหารจะราบรื่น เนื่องจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็มาจากคณะราษฎร ที่ยึดอำนาจมาจากพระมหากษัตริย์ เริ่มรัชกาลก็ไม่ราบรื่นนัก แต่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ก็ยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง ดูแลทุกข์สุขของประชาชนจนกล่าวได้ว่าหัวใจของประชาชนถวายให้แก่พระเจ้าอยู่หัวจนหมดสิ้นแล้ว ครั้งหนึ่งเมื่อมีคนถามเรื่องคนที่เป็น คอมมิวนิสต์พระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสว่า เขาก็คือคนไทย ที่ไหนมีคอมมิวนิสต์พระองค์ก็จะเสด็จไปที่นั่น 

ท้ายที่สุดเมื่อการบริหารประเทศของจอมพล ป.มีปัญหา จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นมือขวาของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ยึดอำนาจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพลสฤษดิ์ ถวายความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัวอย่างไม่มีที่เคลือบแคลงสงสัย จึงกล่าวได้ว่าช่วงนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับทหารก็ราบรื่น เมื่อจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ ถึงแก่อนิจกรรมประเทศก็เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นยุคของจอมพลถนอม และ จอมพลประภาส ช่วงนี้สถานการณ์โลกเปลี่ยนมาเป็นยุคสงครามเย็นหรือยุคเลือกข้างระหว่างประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ เป็นช่วงที่ทหารเข้ามามีบทบาทในการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเต็มที่โดยมีสหรัฐอเมริกาสนับสนุนกองทัพไทยในช่วงที่ลัทธิคอมมิวนิสต์เริ่มแผ่ขยายเข้ามาในแถบนี้ ทหารเริ่มมีความขัดแย้งกับประชาชนในเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้ทั้งประชาชนและทหารต้องต่อสู้กันบาดเจ็บล้มตายกันเป็นจำนวนมาก จนเกินเหตุ ตุลาคม 2516 

แต่แม้จะมีความขัดแย้งระหว่างทหารกับประชาชนในยุคนั้นพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงดับความขัดแย้งได้ทุกครั้ง กล่าวได้ว่าประเทศพ้นจากการภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุคนั้นก็เพราะสถาบันทหารในยุคนั้นต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเอาเป็นเอาตาย แต่ความสูญเสียก็เกิดขึ้นมากมายเช่นเดียวกัน จนยุค พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ยุติความขัดแย้งทางความคิดนี้ได้อย่างสิ้นเชิง 

มุมมองนี้เป็นมุมมองทางการเมือง แล้วแต่ใครจะมองหรือศรัทธาในลัทธิไหน แต่ไม่มีประโยชน์ที่เราจะก้าวล่วงไปหรือฟื้นความขัดแย้งทางลัทธิการเมืองในอดีตขึ้นมาใหม่ ดีที่สุดที่เราทำได้ก็เพียงสดุดีวิญญาณของทุกท่านที่เสียชีวิตจากความขัดแย้งทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นทหารหรือประชาชนเพราะเป็นการเสียชีวิตของคนไทยด้วยกัน ซึ่งมองปัญหาทางการเมืองไม่ตรงกัน แต่ประเทศไทยก็เดินมาถึงยุคนี้ได้ หากจะมีความขัดแย้งขึ้นมาใหม่ก็ขอให้หวนมองไปในอดีต เผื่อจะเป็นบทเรียนให้ประเทศนี้ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"