เตือนชาวโซเชียลระวังแฮกเกอร์ลวงเอารหัสOTP! แนะ3แจ้ง


เพิ่มเพื่อน    

25 ม.ค. 64 - พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความเป็นห่วงพี่น้องประชาชนที่ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก อินสตราแกม ไลน์ ยูทูป เป็นต้น ซึ่งพบว่ามีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีผู้มาแจ้งความร้องทุกข์และขอความช่วยเหลือกรณีถูกคนร้ายแฮก หรือเจาะเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

โดยระยะหลังพบว่ามีมิจฉาชีพที่เราเรียกว่าแฮกเกอร์ ได้ใช้วิธีการหลอกลวงเอารหัสใช้ครั้งเดียว หรือ OTP ( One Time Password) คือชุดรหัสผ่านใช้ครั้งเดียวที่ระบบของผู้ให้บริการแต่ละแห่งสร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต โดยเป็นชุดตัวเลขจำนวน 4-6 หลัก ที่ระบบจะส่งไปยัง SMS โทรศัพท์มือถือของเจ้าของข้อมูลนั้นๆ เพื่อใช้ตรวจสอบและยืนยันการเป็นเจ้าของข้อมูลที่แท้จริง ก่อนจะเข้าถึงข้อมูลส่วนของแต่ละคนได้ เช่น ข้อมูลสถาบันการเงิน หรือการใช้บริการด้านอื่นๆ ซึ่งรหัสผ่านชุดนี้จะมีอายุประมาณ 3 - 5 นาที หากเลยเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก

"ที่ผ่านมาแฮกเกอร์ที่หลอกลวงจะแอบอ้างตัวเองเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินหรือค่ายโทรศัพท์ เพื่อมุ่งหวังที่จะหลอกเอารหัสใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือ OTP จากเหยื่อไปกรอกเพื่อเข้าถึงข้อมูลของเหยื่อได้ ซึ่งที่ผ่านๆ มาเราพบว่ามีการหลอกลวงในหลายรูปแบบ  แต่มาระยะหลังข้อมูลจากผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความและขอความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่ามีการใช้ความเป็นเพื่อนในโซเชียล มาหลอกเอา OTP มากขึ้น หรืออ้างตัวเป็นครูอาจารย์-เจ้านายเพื่ออาศัยความเกรงใจจากเหยื่อ" พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ระบุ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความเป็นห่วงพี่น้องประชาชน เกรงว่าจะหลงกลมิจฉาชีพหลอกลวงเอาOTP หรือรหัสใช้ครั้งเดียว  ปกติแล้วทางผู้ให้บริการจะให้เจ้าของกดใส่รหัส OTP ยืนยันด้วยตัวเอง จะไม่มีการฝากส่งรหัส OTP ของคนอื่นมาที่เรา ดังนั้นถ้ามีเพื่อนหรือคนรู้จักขอร้องมาให้เรารับรหัส OTP แล้วให้บอกกับเขา ขอให้ท่านตระหนักไว้ก่อนเลยว่านั่นอาจไม่ใช่เพื่อนหรือคนที่เรารู้จักแน่นอน  น่าจะเป็นแฮกเกอร์มาหลอกลวงเรา  อย่าส่งหรือเอา OTP ส่งให้เขาเด็ดขาด และหยุดการสนทนาไปจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพและมีความปลอดภัยที่สุด

อย่างไรก็ดี หากพี่น้องประชาชนที่ถูกแฮกสื่อสังคมออนไลน์แล้วให้ปฏิบัติตามมาตรการ 3 แจ้ง คือ 1.แจ้งเพื่อนเราด้วยทุกวิธีที่จะทำได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์ของเราถูกแฮก เพื่อนเราจะได้ทราบและไม่ตกเป็นเหยื่อของแฮกเกอร์อย่างอื่น เช่น แชตหลอกให้โอนเงิน 2.แจ้งแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้กู้คืนบัญชีสื่อสังคมออนไลน์กลับมาให้เรา และ 3.แจ้งความที่สถานีตำรวจ  ด้วยความปรารถนาดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"