อวดโฉม 7 เล่มกวีนิพนธ์ เข้ารอบซีไรต์ปี 65

ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)  ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุลทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) เป็นครั้งแรก ในงานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลซีไรต์ รอบคัดเลือกประเภท “กวีนิพนธ์” ประจำปี พ.ศ. 2565   ณ ห้องเจ้าพระยา โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล   และคณะกรรมการคัดเลือก  เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง ทั้งยังมีคนแวดวงหนังสือ แฟนนักเขียนที่ติดตามลุ้นกวีนิพนธ์เล่มไหนสามารถทะลุเข้ารอบตัดเชือกได้ 

ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานรางวัลซีไรต์กล่าวว่า การรับตำแหน่งเป็นเซอร์ไพรส์ของชีวิต วรรณกรรมเป็นงานที่ตัวเองไม่ถนัด เพราะงานตนอยู่ในป่าในดง แต่ถือว่าได้เติมเต็มชีวิต การพัฒนาโดยขาดความละเอียดทางศิลปะและวรรณกรรมไม่ใช่การพัฒนาที่ยั่งยืน   รางวัลซีไรต์ดำเนินงานมา 44 ปี โดยผู้บริหารจัดการและผู้สนับสนุนมีความสามัคคี ปีนี้คัดเลือกรางวัลซีไรต์ ประเภท “กวีนิพนธ์” ประจำปี พ.ศ. 2565    มีผลงานส่งเข้าประกวด 75 เล่ม แบ่งคัดเลือกเป็น 2 รอบ คือ รอบแรก  Long List จำนวน 16 เล่ม

ขณะนี้ผลการพิจาณาผลงานรอบ Short List มี จำนวน 7 เล่ม  ได้แก่ จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้ โดย ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ ,ดวงตากวี โดย รินศรัทธา กาญจนวตี ,นาฏกรรมจำนรรจ์ โดย ศิวกานท์ ปทุมสูติ ,ประเทศในเขาวงกต และบริบทอื่นๆ โดย ศิริวร แก้วกาญจน์ ,เมื่อพระอาทิตย์หลับ ฉันก่อไฟปลุกพระจันทร์ โดย ภิรเดช แก้วมงคล ,สองฝั่งแม่น้ำเก่า โดย ลอง จ้องรวี และสะพรั่งบานในสถานการณ์ไม่ปกติ โดย รังสิมันต์ จุลหริก 

ภาพรวมกวีนิพนธ์ซีไรต์ปีนี้  รศ.ดร.สายวรุณ  สุนทโรทก ประธานกรรมการคัดเลือก อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยรามคำแหงและนักวิจารณ์  กล่าวว่า  กวีนิพนธ์แสดงภาพหลากหลายของยุคสมัย  เสนอภาพความทรงจำไทยในอดีต ความสงบของธรรมชาติ  เรื่องราวการเมืองและสังคมในระยะเวลาที่ผ่านมา หรือ ภาพความเจ็บป่วยช่วงโควิดระบาด มีเรื่องโครงการเยียวยารัฐ ตู้ปันสุข ภาวะความอึดอัดช่วงปิดเมือง ภาพการดิ้นรนต่อสู้ของคนยากไร้ท่ามกลางพิษเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันเห็นภาพชนบทมีกลิ่นอายท้องถิ่น มุมมองผู้หญิงต่อสิ่งต่างๆ บ้างก็เสนอความงามแฝงโหดร้ายของธรรมชาติ

“ กวีนิพนธ์หลายเล่มเสนอปัญหาสังคมในภาวะของปัจเจกบุคคล แต่ถ้าเพ่งพินิจจะเห็นถึงความแตกแยกที่กวียังสนทนากับตัวเองเพียงลำพังโดยไม่เปิดพื้นที่ให้ผู้อ่านร่วมสนทนาในประเด็นต่างๆ ได้ “

 ส่วนใหญ่ของกวีนิพนธ์ปีนี้ รศ.ดร.สายวรุณ บอกถ่ายทอดผ่านฉํนทลักษณ์ที่เรียบง่าย  สืบทอดขนบการประพันธุ์ หลายเล่มมีเอกภาพแสดงพลังโดดเด่น ใช้ถ้อยคำสละสลวย หลายเล่มเสียดสี เย้ยหยันด้วยอารมณ์ขันคมคาย เล่นล้อกับภาษาให้เห็นประปราย บ้างนำเสนอรูปแบบการแต่งใหม่ๆ เสนอจินตภาพแตกต่างจากเดิม

ปีนี้มีบทกวีไร้ฉันทลักษณ์อยู่บ้าง แต่น้อยมากเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ส่วนใหญ่กลับไปใช้ขนบโบราณ  เน้นเนื้อหาการสังเกตุของกวีต่อสิ่งรอบตัวด้วยถ้อยคำธรรมดาสามัญ  แต่ละเล่มมีความแตกต่างโดดเด่นด้วยพลังของถ้อยคำ ทั้งกวีรุ่นใหญ่และกวีรุ่นใหม่เสนอผลงานแสดงอัตลักษณ์ของกวีที่อาจหลุดพ้นจากกรอบลีลาการประพันธ์ที่เคยมีมา

“ ปรากฎการณ์กวีนิพนธ์ปีนี้กล่าวได้ว่า มีพัฒนาการทางอารมณ์ทั้งรุ่นใหญ่ที่ก้าวข้ามผ่านการตระหนักรู้สู่การบยกระดับวุฒิภาวะทางปัญญา ส่วนกวีรุ่นใหม่แสดงพลังสดใหม่แก่วงวรรณกรรม  ทั้งการเสนอมุมมองที่น่าสนใจผ่านความรู้สึกนึกคิดที่ลุ่มลึก เสนอความเปรียบต่างจากกวีนิพนธ์รุ่นก่อน รวมถึงความกล้านำเสนอประเด็นกระทบผู้อ่านให้นำไปขบคิดต่อไป “  รศ.ดร.สายวรุณ ให้ภาพสิ่งที่เกิดขึ้น

ท่ามกลางโควิด พิษเศรษฐกิจ การพิมพ์หนังสือลดลง แต่มีหนังสือกวีนิพนธ์ 75 เล่ม ส่งประชัน ประธานกรรมการคัดเลือกแสดงทัศนะว่า  การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่ามีความหลากหลายในการนำเสนอภาพ แต่ไม่พูดเชิงหดหู่ สิ้นหวัง เสนอในแง่สถานการณ์ไม่ปกติซึ่งยังมีความหวัง และมีความสุขที่แบ่งปันได้ สักวันโควิดจะจากไป กวีหาทางออกให้สังคม แม้เห็นคนล้มตายจากโควิดแล้วมันจะผ่านไป

“ หนังสือที่อ่านแล้วกระทบใจมีหลายเล่ม และเห็นความเป็นตัวตนของกวี ไม่ใช่เนื้อหาแบบซีไรต์สไตล์ที่เสนอสังคมการเมืองและวัฒนธรรมหนัก ๆ ปีนี้จะเห็นความหลากหลายมีเยอะมาก และภาพธรรมชาติที่เจาะลึกมากกว่าความสวยงาม แต่เป็นการดำรงอยู่ ท่ามกลางภาวะปัญหาต่างๆ ยังมีสุขได้อยู่ พบพลังการใช้คำ โดยเฉพาะเสียงคู่ตรงข้าม คำที่กระแทกใช้ การเว้นวรรคหรือเสียงเงียบของคำประพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ ให้ขบคิดต่อ “ รศ.ดร.สายวรุณ ชวนอ่านผลงาน 7 เล่มตัดเชือก

ผศ.ดร.วรวุฒิ ภักดีบุรุษ  กรรมการคัดเลือก และกรรมการนสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถึงแม้กวีนิพนธ์จะเป็นฉันทลักษณ์เดิม แต่การใช้คำลื่นไหลมากขึ้น อ่านแล้วมีความร่วมสมัย ปีนี้ยังมีอีกหลายเล่มที่ติดตามอ่านได้ เข้ากับยุคสมัย มีนวัตกรรมความคิดที่เสนอผ่านบทกวี สะท้อนพัฒนาการบทกวีก้าวหน้าตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม อยากให้นักอ่านติดตามอ่าน กวีมีกำลังใจเขียนผลงานคุณภาพต่อไป

งานนี้ ขอแสดงความยินดีกับนักเขียนที่รังสรรค์กวีนิพนธ์เข้ารอบสุดท้าย ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ www.seawrite.com สำหรับรางวัลซีไรต์สนับสนุนโดย บริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน ,การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน),มูลนิธิจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์,บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน),โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวมเรื่องสั้น Family Comes First ด้วยรักและผุพัง โดยนริศพงศ์ รักวัฒนานนท์ สำนักพิมพ์แซลมอน คว้ารางวัล รางวัลซีไรต์ ประเภท”รวมเรื่องสั้น”ประจำปี 2566

คณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) จัดงานแถลงข่าวประกาศผลการตัดสินรางวัลซีไรต์ ประเภท”รวมเรื่องสั้น”ประจำปี 2566 โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

SX2023 ปลุกกระแสเยาวชน และผู้เข้าชมงาน มากกว่า 3 แสนคน พร้อมขับเคลื่อนทศวรรษแห่งการ “ลงมือทำ” เพื่อโลกที่ยั่งยืน

เป็นต้นแบบของ “Collaboration platform” พลังแห่งความร่วมมือด้านความยั่งยืนระดับโลก ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน สำหรับงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023) บนแนวคิด "พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก" (Sufficiency for Sustainability)

"สร้างโลกที่ดีกว่า" ต้องลงมือทำวันนี้ หลักเศรษฐกิจพอเพียงชี้ทางให้แล้ว

ในงานเปิดมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน กับงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023) ครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิดร่วมสร้าง “สมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า” Good Balance, Better World

ประกาศแล้ว 7 เรื่องสั้นเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ ปี 66

28 ส.ค.2566 - เวลา 14.30 น. คณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) จัดงานแถลงข่าวการประกาศผลรางวัลซีไรต์ รอบคัดเลือก (Shortlist) ประเภท “รวมเรื่องสั้น” ประจำปี 2566  โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานรางวัลซีไรต์

เยี่ยมบ้าน'ไพฑูรย์-ประทีป' ศิลปินแห่งชาติเมืองสุโขทัย 

สุโขทัยเมืองที่มีความเจริญทางอารยธรรมที่สะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก เมืองนี้ยังรุ่มรวยศิลปิน มีโอกาสเยือนบ้านสองศิลปินแห่งชาติที่มีถิ่นพำนักที่นี่  รศ. ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.2559 ผู้ที่ใช้นามปากกาว่า”  ไพฑูรย์ ธัญญา”  

ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ นักเขียนหญิงคว้าซีไรต์กวีนิพนธ์ ปี 65

2 ธ.ค.2565 - เวลา 14.00 น. ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุลประธานคณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) คณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน และคณะกรรมการตัดสิน พร้อมด้วยผู้ให้การสนับสนุน แถลงข่าวประกาศผลการตัดสินรางวัลซีไรต์ ประเภ